บทที่ 7 การวิเคราะห์งานและการโปรแกรม แบบมีโครงสร้าง บทที่ 7 การวิเคราะห์งานและการโปรแกรม แบบมีโครงสร้าง
การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องวิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดรายละเอียดของ ปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งได้แก่ ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล ข้อมูลนำออก
การวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูลนำเข้า (input data) คือ ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ แก้ปัญหา อาจเป็นข้อมูลที่กำหนดให้หรือข้อมูลที่รับเข้ามา การประมวลผล (data processing) คือ ลำดับ ขั้นตอนของกระบวนความการทำงาน ข้อมูลนำออก (output data) คือ ข้อมูลซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ ได้จากการแก้ปัญหา
ตัวอย่าง ปัญหาการคำนวณจำนวนแปลงปลูกผัก มาริโอมีพื้นที่ปลูกกะหล่ำปลีขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 65 เมตร โดย ขุดร่องน้ำให้กว้าง 1.5 เมตร รอบแปลงปลูกผัก ดังรูป 1.5 ม. 1.5 ม. จงหาว่ามาริโอมีพื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลีกี่ตารางเมตร
การวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูลนำเข้า : ความกว้างและความยาวของพื้นที่ทั้งหมด ความกว้างและความยาวของร่องน้ำ การประมวลผล : พื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี = พื้นที่ทั้งหมด – พื้นที่ร่องน้ำ ข้อมูลนำออก : พื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม เครื่องมือที่นิยมใช้ออกแบบโปรแกรม คือ ผังงาน (flow chart) การลงรหัสโปรแกรม/การเขียนโปรแกรม การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน สัญลักษณ์จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของผังงาน ตัวอย่าง เริ่มต้น จบ
พื้นที่สี่เหลี่ยม = กว้าง X ยาว สัญลักษณ์การกำหนดค่า การคำนวณและการประมวลผล ตัวอย่าง พื้นที่สี่เหลี่ยม = กว้าง X ยาว
นำเข้า ความกว้าง,ความยาว สัญลักษณ์การนำเข้าข้อมูล และนำออกข้อมูล ตัวอย่าง นำเข้า ความกว้าง,ความยาว
การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหาพื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี เริ่มต้น นำเข้า ความกว้าง,ความยาวของพื้นที่ทั้งหมดและร่องน้ำ หาพื้นที่ทั้งหมด=กว้างxยาว หาพื้นที่ร่องน้ำ=กว้างxยาว พื้นที่ที่ใช้ปลูกกะหล่ำปลี = พื้นที่ทั้งหมด – พื้นที่ร่องน้ำ นำออกพื้นที่ปลูกผัก จบ
ลักษณะโปรแกรมที่ดี ได้ผลลัพธ์ถูกต้องตามความต้องการ ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบข้อมูลได้ง่าย มีรูปแบบของโปรแกรมที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไขในอนาคต
กฎเกณฑ์ของโปรแกรมโครงสร้าง โปรแกรมโครงสร้าง มีรูปแบบลำดับขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 3 รูปแบบ คือ แบบลำดับ แบบเลือก แบบทำซ้ำ รูปแบบของโครงสร้างหนึ่งจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างภายในของอีก รูปแบบหนึ่ง เรียกว่า การซ้อนใน (nest) รูปแบบโครงสร้างหนึ่งจะมีทางเข้าทางเดียวและออกทางเดียว
ให้ลอกโจทย์และทำลงสมุด (ส่งในคาบ) กิจกรรมที่ 7.1 กิจกรรมที่ 7.2 กิจกรรมที่ 7.3 แบบฝึกหัดบทที่ 7 (ทำเฉพาะข้อ 1)