ง 30101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 ครูสหรัฐ บัวทอง ข้อมูลและสารสนเทศ ง 30101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 ครูสหรัฐ บัวทอง
ข้อมูลและสารสนเทศ ชนิดข้อมูล การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ยุคข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันสังคมเป็นสังคมสารสนเทศ ข้อมูลถือเป็นข้อมูถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของทุก ๆๆ หน่วยงานไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ หน่วยงานที่จัดการข้อมูลได้ดีกว่า ย่อมได้เปรียบในทุก ๆๆ ด้านตัวอย่างการจัดการข้อมูล เช่น คลินิกแพทย์จะเก็บข้อมูลคนไข้ลงในบัตร แยกเป็นรายบุคคล และรวบรวมไว้ในตู้ โดยเรียงลำดับตามชื่อ หรือ หมายเลขคนไข้
ตัวอย่างบัตรคนไข้ คลินิกรักษ์โรค หมายเลขคนไข้..... ชื่อคนไข้................................................................................... ที่อยู่……………………….อายุ................. เพศ...................... อาชีพ........................................................................................ ประวัติการแพ้ยา ...................................................................... ผลการรักษา .............................................................................
โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1. บิต (Bit) 2. ตัวอักขระ (Character) 3.เขตข้อมูล ( Field) 4. ระเบียนข้อมูล (Record) 5.แฟ้มข้อมูล (File)
โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1.บิต (Bit) คือหน่วยที่เล็กที่สุดในการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ คือ 0,1 2.ตัวอักขระ (Character) คือ ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ 1 ตัวประกอบด้วย 8Bits หรือ1Byte 3.เขตข้อมูล (Field) คือ ข้อมูลหน่วยหนึ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อแทนความหมายของข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง ประกอบไปด้วยอักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป 4.ระเบียนข้อมูล (Record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน ระเบียนประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป 5.แฟ้มข้อมูล (File) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลแบบเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยระเบียนตั้ง 1 ระเบียนขึ้นไป
โครงสร้างการจัดเก็บ
แฟ้มข้อมูลนักศึกษา เขตข้อมูล (Field) แฟ้มข้อมูล ระเบียน (Record) รหัสนักศึกษา ชื่อ-สกุล ที่อยู่ รหัสคณะ รหัสสาขา 371115-3 มาวิน ดีเลิศ กรุงเทพฯ 01 382118-6 ศรีวิไล รักงาน ขอนแก่น 382119-5 มยุรา ธนากร 02 393118-9 วิทวัส แสนดี อุดรธานี แฟ้มข้อมูล ระเบียน (Record)
การกำหนดคุณสมบัติของข้อมูล ในการจัดเก็บข้อมูลต้องกำหนดคุณสมบัติของข้อมูลให้ชัดเจน ตลอดจนวิธีการเตรียมข้อมูลเพื่อการประมวลผลดังนี้ กำหนดชื่อและจำนวนเขตข้อมูลในระเบียนข้อมูล เช่น ระเบียนข้อมูลนักเรียนประกอบด้วยเขตข้อมูล 5 เขต ดังนี้ CODE แทน เลขประจำตัวนักเรียน NAME แทน ชื่อ--สกุล SEXแทน เพศ AGE แทน อายุ TEL แทน หมายเลขโทรศัพท์
การกำหนดคุณสมบัติของข้อมูล 2.กำหนดชนิดและขนาดของข้อมูล เช่น NAME เป็นตัวอักษร ขนาด 3030 ตัวอักษร AGE เป็นตัวเลข ขนาด 44 ไบต์ 3.กำหนดวิธีการและสื่อในการจัดเก็บข้อมูล หมายถึง จะมีวิธีการนำข้อมูลไปเก็บอย่างไร และใช้สื่อประเภทใด เช่น อาจเป็นหน่วยความจำ หรือเก็บลง DISK เป็นต้น
ตัวอย่างโครงสร้างแฟ้มข้อมูลนักเรียน ชื่อField ความหมาย ตัวอย่างข้อมูล ชนิด ขนาด CODE รหัสประจำตัว 3574 ตัวอักษร 4 NAME ชื่อ-สกุล สมใจ ดีน้อย 13 SEX เพศ ช 1 AGE อายุ 18 จำนวนเต็ม 4 bytes TEL โทรศัพท์ 089-8229999 11
โครงสร้างแฟ้มข้อมูลนักเรียน โครงสร้างของระเบียน ( Record) ของนักเรียนCODENAMESEXAGETELข้อมูลนักเรียนคนที่ 1(ระเบียนที่ 1) หรือ (Record 1)ข้อมูลนักเรียนคนที่ 2(ระเบียนที่ 2) หรือ (Record 2) ในแต่ละระเบียนอาจเลือกเขตข้อมูลหนึ่ง ซึ่งสามารถบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละระเบียนได้ เรียกว่า กุญแจ ( Key) เช่น ในที่นี้อาจใช้เขตข้อมูลชื่อ CODE เนื่องจากรหัสประจำตัวนักเรียนแต่ละคนย่อมไม่ซ้ำกัน สามารถบอกความแตกต่างหรือระบุถึงตัวตนที่ไม่ซ้ำกันของแต่ละระเบียนได้
ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้ม ข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มมารวมกัน โดยต้องมีส่วนของ พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับ โครงสร้างฐานข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความสัมพันธ์กัน สามารถสืบค้น (Retrieve) แก้ไข (Modify) ปรับปรุง(Update) และจัดเรียง (Sort) ได้อย่างสะดวก การกระทำดังกล่าวต้อง อาศัยโปรแกรม (Software) สำหรับจัดการฐานข้อมูล (DBMS)
ตัวอย่างระบบฐานข้อมูล (Database) ระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน หลาย แฟ้มข้อมูล ดังภาพต่อไปนี้ๆ ระบบฐานข้อมูล แฟ้มข้อมูลนักเรียน แฟ้มข้อมูลวิชา แฟ้มข้อมูลห้องเรียน แฟ้มข้อมูลครู
หลักการสำคัญในการจัดการฐานข้อมูล ปัจจุบันการศึกษาเรื่องการจัดการฐานข้อมูลเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เรียนในมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีความสำคัญต่อระบบสารสนเทศเป็นอย่างมาก โดยยึดหลักการสำคัญของการจัดการดังนี้ ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy) ควบคุมความคงสภาพของข้อมูล (Integrity) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล (Security) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม (Dependency) รวมข้อมูลเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน
END………..