การซ่อมถังน้ำมันใต้ดิน โดยวิธีเคลือบไฟเบอร์กลาสด้านใน UNDER GROUND TANK REPAIR BY INTERNAL FIBER GLASS COATING
การกั้นขอบเขตการทำงาน
จอดรถต้องเอาหัวออก พร้อมที่จะหนีจากจุดเกิดเหตุได้ทุกเวลา
แผ่นป้ายแสดงเอกสารประกอบการทำงาน
การทำ BUMP TEST ที่หน้างาน
การประชุมหน้างานก่อนการทำงาน ป้ายบันทึกเวลาลงปฏิบัติงาน การจัดเตรียมอุปกรณ์การทำงานและ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
ดำเนินการ BALL VALVE LOCK OUT ก่อนการทำงาน
ดำเนินการ LOTO ก่อนการทำงาน
อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย อุปกรณ์การทำ BUMP TEST
ถังขยะสำหรับใส่ขยะที่เหลือจากการทำงาน ถังสำหรับการขนย้ายน้ำปนเปื้อนน้ำมันจากการทำความสะอาดถังน้ำมันใต้ดิน
สูบน้ำมันที่ค้างอยู่ในถังออกให้หมด ดำเนินการวัดน้ำและวัดน้ำมันที่คงเหลืออยู่ในถัง แล้วแจ้งให้กับผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจของหน่วยงานนั้นๆ รับทราบก่อนทำการสูถ่ายทุกครั้ง สูบน้ำมันที่ค้างอยู่ในถังออกให้หมด
ระบายไอแก๊สออกจากถังด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดกันระเบิด
จะต้องแน่ใจว่าภายในถังมีอากาศอยู่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพในขณะที่ลงไปทำงานในที่อับอากาศโดยการใช้เครื่องตรวจวัดแก็ส ตรวจวัดค่า LELต้องเป็น 0 และปริมาณออกซิเจนจะต้องไม่ต่ำกว่า 20.5% ทุกๆ 15 นาที
สภาพภายในหลุมแมนโฮล ก่อนทำความสะอาด ทำความสะอาดหลุมแมนโฮล โดยการใช้น้ำและผงซักฟอก
ถอดอุปกรณ์บนฝาถัง แล้วยกฝาแมนโฮลด้วยอุปกรณ์รอกช่วยผ่อนแรง
ขั้นตอนการลงถังใต้ดิน -ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ให้อยู่ในสถานที่ที่หยิบใช้ได้ง่าย ผู้ที่ต้องลงถังต้องสวมชุดอุปกรณ์ป้องกันภัยให้ครบทุกครั้ง ขณะลงทำงานในที่อับอากาศจะต้องมีเชือกช่วยชีวิตผูกติดตัวผู้ทำงานตลอดเวลา ผู้ที่ทำงานในที่อับอากาศอนุญาตให้ทำงานในที่อับอากาศได้ไม่เกิน 30 นาที และต้องออกมาพักไม่น้อยกว่า 15 นาที ถึงจะเข้าทำงานใหม่ได้
หน้าที่ของผู้เฝ้าระวัง ผู้เฝ้าระวังปากทางเข้าออกคอยดูแลความปลอดภัยของผู้อยู่ภายในที่อับอากาศ จะต้องติดต่อกับผู้ที่กำลังทำงานอยู่ภายในที่อับอากาศ ทุกๆ 3-5 นาที และร้องขอความช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
ทำการล้างถังให้สะอาดไม่มีคราบน้ำมันหลงเหลืออยู่โดยการใช้ผงซักฟอก หรือน้ำยา BIO-3MAX ฉีดน้ำแรงให้ปรับน้ำที่ปลายหัวฉีดเป็นฝอยละอองเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตและใช้แรงดันประมาณ 150 spi จนกว่าถังจะสะอาดหลังจากนั้นให้สูบน้ำขึ้นให้หมดด้วยไดอะแฟรมปั้ม
หลังจากการล้างให้ทำการเช็ดภายในถังให้แห้งด้วยฟองน้ำ และตรวจสภาพภายในถังทั้งหมด
- ตรวจสอบรอยรั่วจากน้ำที่ไหลซึมเข้ามาในถังและตามจุดที่มีสนิมขลุมโผล่นูนขึ้นมา - ใช้กระดาษทรายหรือแปลงลวดทองเหลือง ขัดบริเวณที่สงสัยว่าใกล้จะรั่วเพื่อที่จะได้ซ่อมไปพร้อมกัน
ทำการอุดรูรั่วด้วยวิธีตอกลิ่มไม้เนื้อแข็ง เพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าถังได้โดยตอกลิ่มให้อยู่เหนือผิวถังประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
- เมื่อแรงดันน้ำลดลงแล้ว ทำการอุดทับด้วย BOSNY Water Stop - เมื่อรูรั่วอุดสนิทแล้วใช้อีพอกซี่ (กาวแปะเหล็กชนิดแห้งเร็ว) โป๊วเคลือบทับจุดที่ทำการอุดรูรั่ว
ใช้เรซิ่นผสมตัวเร่งแข็งและแผ่นใยแก้วเคลือบทับขนาด 12 x 12 นิ้ว จำนวน 1 ชั้น
ทำการเครือบไฟเบอร์กล๊าสชั้นที่ 1 - ใช้เรซิน ชนิด ISOPHTHALATE-TYPE 774 ESTAR-TOA ผสมตัวเร่งแข็ง BUTANOX M60 ในอัตราส่วน 99% เรซิ่นต่อตัวแร่งแข็ง 1% ผสมให้เข้ากันแล้วทาลงบนพื้นผิวที่เตรียมไว้ด้วยลูกกลิ้งสักกาลาดสีเขียว - นำแผ่นใยแก้ว FIBER GLASS 450JA-104 ขนาด 12 x 12 นิ้วปูลงบนเรซินที่ทาไว้ขณะยังไม่แห้ง - ใช้ลูกกลิ้งชุบเรซินที่ผสมแล้วทาทับลงบนใยแก้วที่ปูชั้นที่ 1 อีกครั้งและทิ้งไว้จนเรซินแห้งโดยใช้ AIR BLOWER เป่าตลอดเวลา
ทำการเครือบไฟเบอร์กล๊าสชั้นที่ 2 สำหรับถังที่บรรจุน้ำมันเบนซิน และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ใช้ EPOXY VINYL ESTER RESIN DERAKANE MOMENTUM 470-300 ผสมตัวเร่งปฏิกิริยา COBALT OCTOATE OPT Co 1263 ในอัตราส่วน 98% เรซิ่นต่อตัวแร่งปฏิกิริยา 1% และผสมตัวทำปฏิกิริยา BUTANOX M60 1% เคลือบทับหน้าอีก 1 ชั้นเพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากความเป็นกรด - ทิ้งไว้ให้น้ำยาเรซินแห้งสนิทอย่างน้อย 5 วันก่อนการใช้งาน
ขั้นตอนการปิดถัง - ทำความสะอาดฝาแมนโฮลและหน้าแปลนทุกตัว - จัดเตรียมประเก็นฝาแมนโฮลและหน้าแปลนทุกตัว - เปลี่ยนประเก็นและประกอบฝาแมนโฮลปิดฝาถัง - เปลี่ยนประเก็นและประกอบหน้าแปลนทุกตัว - ประกอบอุปกรณ์บนฝาถังทั้งหมด
THE END