การปรับปรุงวิธีการคิดต้นทุนงานบริการวิชาการ นำเสนอหัวข้อโครงการวิจัยมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 3 16 พฤษภาคม 2549
การปรับปรุงวิธีการคิดต้นทุนงานบริการวิชาการ ผู้บริหารงานวิจัย: รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย รศ.ดร.วนิดา พวกุล อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.นันทน์ ถาวรังกูร รศ.วารุณี เตีย ผู้วิจัย: น.ส.สุนันท์ พูลแพ
ความเป็นมา แนวคิดในการปรับปรุงวิธีการคิดต้นทุนงานบริการวิชาการเพื่อเพิ่มรายได้จากงานบริการวิชาการให้มหาวิทยาลัย โดยมีต้นทุนเป็นตัวกำหนด เนื่องจากคาดว่าการคิดต้นทุนที่ถูกต้องและเหมาะสมและครอบคลุมจะสามารถทำให้ลดค่าใช้จ่าย และสร้างกำไรให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี
จากการศึกษางานวิจัยคุณสมพร น้อยยาโน (UR รุ่น2) สรุปปัญหาการคิดต้นทุนงานบริการวิชาการ ดังนี้ 1. ขาดการบันทึกข้อมูล เช่น วัสดุ เวลาปฏิบัติงาน ระยะเวลาการใช้งานของเครื่องจักร 2. ไม่มีแนวทางหรือมาตรฐานในการคิดค่าเสื่อมราคา ค่าตอบแทนและวิธีการคิดต้นทุน 3. หน่วยงานไม่ปฏิบัติตามระเบียบ 4. หลักเกณฑ์มีช่องว่าง ทำให้ผู้ปฏิบัติใช้เกณฑ์ขั้นต่ำ
จากการศึกษางานวิจัยคุณสมพร น้อยยาโน (UR รุ่น2) สรุปข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. วิเคราะห์ จัดกลุ่มประเภทเครื่องมือ 2. ระดมสมองตามประเภทของกลุ่มเครื่องมือ 3. ศึกษาวิเคราะห์หาต้นทุนของงานแต่ละประเภท ตามกลุ่มเครื่องมือ 4. จัดทำ Model การคิดต้นทุน
แนวทางการดำเนินการต่อ สรุปขั้นตอนการดำเนินงาน วิเคราะห์ จัดกลุ่มประเภทเครื่องมือ 1. รวบรวมรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละประเภทงาน และในแต่ละหมวดค่าใช้จ่าย 2. แยกต้นทุนทางบัญชี และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ 3. ประเมินค่าต้นทุน ระดมสมองตามประเภทของกลุ่มเครื่องมือ ศึกษาวิเคราะห์หาต้นทุนของงานแต่ละประเภท ตามกลุ่มเครื่องมือ จัดทำ Model การคิดต้นทุน
แนวทางการดำเนินการต่อ แนวทางการคิดต้นทุน จากการคิดต้นทุนงานบริการวิชาการ ที่ มจธ. ดำเนินการอยู่ เป็นลักษณะของการคิดต้นทุนทางบัญชี (Accounting Cost) คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายจริง ในการดำเนินกิจกรรม และเป็นรายการที่ลงบันทึกไว้ในบัญชีรายจ่ายของกิจการ ยังมิได้คำนึงถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Cost) คือต้นทุนทางบัญชี รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้บันทึกลงในบัญชีรายจ่ายด้วย เนื่องจากเน้นปัจจัยของเจ้าของธุรกิจ จึงมองดูเหมือนไม่ใช่ต้นทุน เพราะไม่มีการจ่ายออกไปจริงจึงต้องใช้หลักการเดียวกับการคิดต้นทุนเสียโอกาสในการประเมินค่าต้นทุน
แนวทางการดำเนินการต่อ ต้นทุนเสียโอกาส คือ ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่กิจการควรได้รับจากทางเลือกซึ่งจากการไม่ได้เลือก เพราะตัดสินใจเลือกทางอื่นแล้ว เช่น การตัดสินใจนำกิจการของตนเอง มาทำกิจการร้านซักผ้าเพราะจะคิดต้นทุนค่าเสียโอกาสก็คือผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการนำเอากิจการไปทำกิจการอื่นที่มีรายได้สูงกว่า แต่ต้นทุนเสียโอกาสนี้จะไม่มีการลงรายการในบัญชี
แนวทางการดำเนินการต่อ เชิงตรรกวิทยาทางเศรษฐกิจ จำแนกค่าใช้จ่ายออกเป็นหมวดต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. หมวดเงินเดือน 2. หมวดค่าจ้างชั่วคราว 3. หมวดค่าตอบแทน 4. หมวดค่าใช้สอย 5. หมวดค่าวัสดุ 6. หมวดค่าสาธารณูปโภค 7. หมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
แนวทางการดำเนินการต่อ การประเมินค่าต้นทุน ต้นทุน (Cost) คือค่าใช้จ่ายที่ต้องการจ่ายให้เป็นผลตอบแทนแก่ ปัจจัยการผลิตทุกชนิด ที่นำมาใช้ในการกระบวนการผลิต ปัจจัยการผลิต (งานบริการวิชาการ) 1. Man (คน) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับงาน (Put the right man on the right job) 2. Management (การบริหารจัดการ) เช่น เวลาในการทำงาน การส่งมอบงาน และ After Service 3. Machine (เครื่องจักร, อุปกรณ์) เช่น ชั่วโมงการใช้งาน, ค่าเสื่อม/ค่าสึกหรอ 4. Money (เงินทุน) เช่น ค่าจ้าง, ค่าบริการ, แหล่งลูกค้า