หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Lecture 1: ขอบเขตเนื้อหา คำนิยามการวัดสมรรถภาพ วิธีการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มสมรรถภาพของหน่วยผลิต ความสำคัญของการวัดสมรรถภาพและปัจจัยต่างๆ
บทนำการวัดสมรรถภาพ สมรรถภาพ (performance) ของหน่วยผลิต (firms) หมายถึง การศึกษาถึงความสามารถของหน่วยผลิตในการแปรรูปปัจจัยการผลิต (inputs) ไปเป็นผลผลิต (outputs) ภายใต้การใช้เทคโนโลยี (technology) ต่างๆในกระบวนการผลิต การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตเป็นแนวคิดเชิงสัมพัทธ์ (relative concept) นั่นคือ วัดโดยสัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตนั้นๆ ณ จุดเวลาที่เปรียบเทียบต่างกัน หรือสัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตอื่นๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ณ จุดเวลาที่เปรียบเทียบเดียวกัน
ตัวอย่าง การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร A ในปี 2546 สัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร A ในปี 2545 การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร A ในปี 2546 สัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร B ในปี 2546
วิธีการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตสามารถวัดได้โดยการคำนวณหาอัตราส่วนของการเพิ่มผลผลิต (ratio of productivity) การเพิ่มผลผลิต (productivity) หมายถึง อัตราส่วนของปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ต่อปริมาณปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตของหน่วยผลิตนั้นๆ ดังนั้น การเพิ่มผลผลิต (productivity) = ปริมาณผลผลิต (outputs) ปริมาณปัจจัยการผลิต (inputs) ถ้ามีค่ามากกว่าหนึ่ง หมายถึง การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างก้าวหน้า (productivity progress) แต่ถ้ามีค่าน้อยกว่าหนึ่ง หมายถึง การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างถดถอย (productivity regress)
ตัวอย่าง ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิต 2 ราย ในปี 2549 แสดงในตารางดังนี้ ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิตรายหนึ่ง ระหว่างปี 2548-2549 แสดงในตารางดังนี้ Farm y x y/x A 100 25 100/25 = 4 B 200 200/100 = 2 year y x y/x 2548 200 50 200/50 = 4 2549 300 100 300/100 = 3
การเพิ่มผลผลิต (productivity) ถ้ากระบวนการผลิตประกอบไปด้วยปัจจัยการผลิตและผลผลิตจำนวนมากกว่าหนึ่งชนิด การวัดการเพิ่มผลผลิตจะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การวัดสามารถทำได้โดยการรวมปัจจัยการผลิตหรือผลผลิตทั้งหมดให้เป็นตัวเลขดัชนี (index number) เพียงตัวเดียว จากนั้นการเพิ่มผลผลิตสามารถคำนวณหาได้จากอัตราส่วนของดัชนีผลผลิต (output index) ต่อดัชนีปัจจัยการผลิต (input index) การเพิ่มผลผลิตที่วัดได้นี้จะหมายถึงการเพิ่มผลผลิตของปัจจัยการผลิตรวม (total factor productivity) ซึ่งหมายถึงการเพิ่มผลผลิตของกระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยผลผลิตและปัจจัยการผลิตจำนวนมากกว่าหนึ่งชนิด
ตัวอย่าง ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิต 2 ราย ในปี 2549 แสดงในตารางดังนี้ Farm y x1 x2 x3 x y/x A 100 60 50 40 (1/3)(60+50+40) = 50 100/50 = 2 B 180 30 (1/3)(100+30+50) = 60 180/60 = 3
ตัวอย่าง ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิต 2 ราย ในปี 2549 แสดงในตารางดังนี้ Farm y1 y2 x1 x2 x3 y x y/x A 100 200 60 50 40 (1/2)(100+200) = 150 (1/3)(60+50+40) = 50 150/50 = 3 B 180 30 (1/2)(180+180) = 180 (1/3)(100+30+50) = 60 180/60
วิธีอื่นๆที่ใช้ในการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต วิธีการวัดอื่นๆที่นำมาใช้เพื่อศึกษาถึงสมรรถภาพของหน่วยผลิตคือการวัดประสิทธิภาพ (efficiency) ของหน่วยผลิต ในทางปฏิบัติ ได้มีผู้นำการวัดทั้งสองวิธีมาใช้แทนที่ซึ่งกันและกัน แต่ตามหลักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นการวัดทั้งสองวิธีนี้จะมีความแตกต่างกัน ประสิทธิภาพ (efficiency) ของหน่วยผลิต วัดได้จากเส้นที่ใช้เป็นตัวแทนของเทคโนโลยีในการผลิต หรือที่เรียกว่า เส้นพรมแดนการผลิต (production frontier)
การวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) พิจารณากระบวนการผลิตที่ประกอบด้วยปัจจัยการผลิตและผลผลิตจำนวน 1 ชนิด เส้น OF’ แสดงถึงปริมาณของผลผลิตมากที่สุดที่สามารถผลิตได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตที่ระดับต่างๆภายใต้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้น เส้น OF’ เรียกว่า เส้นพรมแดนการผลิต ผู้ผลิตจำนวน 3 ราย นั่นคือ A, B และ C มีการผลิตดังรูป ผู้ผลิต A ทำการผลิตอยู่ภายใต้เส้น OF’ ในขณะที่ผู้ผลิต A และ B ทำการผลิตอยู่บนเส้น OF’ ผู้ผลิต B และ C มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) ผู้ผลิต A ไม่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical inefficiency) ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคสามารถวัดได้จากการวัดอัตราส่วนของระยะทาง OA/OB หรือ OC/OA
ความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพเชิงเทคนิคและการเพิ่มผลผลิต จากรูป หน่วยผลิต A อยู่ภายใต้เส้นพรมแดนการผลิต OF’ แสดงว่า หน่วยผลิต A ไม่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical inefficiency) หน่วยผลิต B และ C อยู่บนเส้นพรมแดนการผลิต OF’ แสดงว่า หน่วยผลิต B และ C มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) หน่วยผลิต C มีค่าการเพิ่มผลผลิตมากที่สุดและมีค่ามากกว่าหน่วยผลิต A และ B จุด C คือ จุดที่หน่วยผลิตมีขนาดที่เหมาะที่สุดเชิงเทคนิค (technically optimal scale) หรือหมายถึง จุดที่แสดงการประหยัดอันเกิดจากการขยายขนาดการผลิต (scale economies)
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตที่ไม่มีระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตจะประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) ของผู้ผลิต และความสามารถในการผลิตสินค้าเพื่อให้เกิดการประหยัดอันเนื่องมาจากการขยายขนาดการผลิต (scale economies) ถ้าหากกระบวนการผลิตเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งช่วงเวลา ปัจจัยอีกประการที่สามารถส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตแก่ผู้ผลิต ปัจจัยดังกล่าวคือความสามารถในการผลิตสินค้าต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากเทคโนโลยี (technical change) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (technical change) หมายถึง ความสามารถของหน่วยผลิตในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณสูงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (technical change) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสามารถอธิบายได้จากการเลื่อนสูงขึ้นของเส้นพรมแดนการผลิต ถ้าหน่วยผลิตทุกรายในอุตสาหกรรมสามารถผลิตสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดิม กระบวนการผลิตดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยผลิตมีความก้าวหน้าเชิงเทคโนโลยี (technical progress) ในการผลิต
ความสำคัญของการวัดสมรรถภาพและปัจจัยต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆที่สำคัญ อันได้แก่ 1. ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) 2. ความสามารถในการผลิตสินค้าเพื่อให้เกิดการประหยัดอันเนื่องมาจากการขยายขนาดการผลิต (scale economies) 3. ความสามารถในการผลิตสินค้าต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากเทคโนโลยี (technical change) ปัจจัยต่างๆดังกล่าวนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายของรัฐในการออกแบบเชิงนโยบายในการส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ
ปัจจัยที่ใช้กำหนดวิธีในการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต ข้อจำกัดของข้อมูลที่สามารถจัดหาได้ ตัวอย่างเช่น บางวิธีต้องการข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของปัจจัยการผลิตและผลผลิตที่ใช้เท่านั้น ในขณะที่บางวิธีต้องการข้อมูลทั้งทางด้านราคาและปริมาณของทั้งปัจจัยการผลิตและผลผลิต ข้อสมมติฐานที่กำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของเทคโนโลยีการผลิต (production technology) เช่น รูปแบบของฟังก์ชัน Cobb Douglas, Quadratic, Tranlog 3. ข้อสมมติฐานเชิงพฤติกรรม (behavioral assumption) ทางเศรษฐศาสตร์ของหน่วยผลิต เช่น หน่วยผลิตต้องการกำไรสูงสุด (profit maximization) หน่วยผลิตต้องการต้นทุนต่ำสุด (cost minimization) หน่วยผลิตต้องการรายรับสูงสุด (revenue maximization) เป็นต้น