งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตรด้วยแบบจำลอง DEA ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ขอบเขตของเนื้อหา ความแตกต่างระหว่างการวัดประสิทธิภาพ (efficiency) และการเพิ่มผลผลิต หรือ ผลิตภาพ (productivity) ทบทวนแบบจำลองเส้นพรมแดนการผลิตเชิงเฟ้นสุ่ม แบบจำลองการล้อมกรอบของข้อมูล การวัดการแยกค่าการเพิ่มผลผลิต Metafrontier

3 ทบทวนการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต
สมรรถภาพ (performance) ของหน่วยผลิต (firms) หมายถึง การศึกษาถึงความสามารถของหน่วยผลิตในการแปรรูปปัจจัยการผลิต (inputs) ไปเป็นผลผลิต (outputs) ในกระบวนการผลิต ภายใต้การใช้เทคโนโลยี (technology) ต่างๆ การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตเป็นแนวคิดเชิงสัมพัทธ์ (relative concept) สมรรถภาพของหน่วยผลิตสามารถวัดได้โดยการคำนวณหา 1. การเพิ่มผลผลิต หรือ ผลิตภาพ (productivity) 2. ประสิทธิภาพ (efficiency)

4 การวัดการเพิ่มผลผลิตของหน่วยผลิต
การเพิ่มผลผลิต (productivity) = ปริมาณผลผลิตที่ได้ (outputs) ปริมาณปัจจัยการผลิตที่ใช้ (inputs) ถ้ามีค่ามากกว่าหนึ่ง หมายถึง การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างก้าวหน้า (productivity progress) แต่ถ้ามีค่าน้อยกว่าหนึ่ง หมายถึง การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างถดถอย (productivity regress) ถ้ากระบวนการผลิตประกอบไปด้วยผลผลิตและปัจจัยการผลิตจำนวนมากกว่าหนึ่งชนิด การเพิ่มผลผลิตที่วัดได้เรียกว่า การเพิ่มผลผลิตของปัจจัยการผลิตรวม (total factor productivity)

5 การวัดการเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีตัวเลขดัชนี
ในระยะเริ่มต้น การเพิ่มผลผลิตวัดโดยการใช้วิธี ตัวเลขดัชนี (index number) ตัวเลขดัชนีที่นิยมใช้ได้แก่ 1. Laspeyres 2. Paasche 3. Fisher 4. Tornqvist ตัวเลขดัชนีทั้ง 4 แตกต่างกันตรงการให้คำนิยามเกี่ยวกับค่าน้ำหนักที่กำหนด และระยะเวลาที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ

6 การวัดประสิทธิภาพของหน่วยผลิต
ประสิทธิภาพ (efficiency) ของหน่วยผลิต วัดได้จากเส้นที่ใช้เป็นตัวแทนของเทคโนโลยีในการผลิต หรือที่เรียกว่า เส้นพรมแดนการผลิต (production frontier) ค่าประสิทธิภาพที่วัดได้ เรียกว่า ประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency)

7 การวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency)
พิจารณากระบวนการผลิตที่ประกอบด้วยปัจจัยการผลิตและผลผลิตจำนวน 1 ชนิด ผู้ผลิตจำนวน 3 ราย นั่นคือ A, B และ C มีการผลิตดังรูป เส้น OF’ แสดงถึงปริมาณของผลผลิตมากที่สุดที่สามารถผลิตได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตที่ระดับต่างๆภายใต้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้น เส้น OF’ เรียกว่า เส้นพรมแดนการผลิต ผู้ผลิต A ทำการผลิตอยู่ภายใต้เส้น OF’ ในขณะที่ผู้ผลิต B และ C ทำการผลิตอยู่บนเส้น OF’ ผู้ผลิต B และ C มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) ผู้ผลิต A ไม่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical inefficiency) ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคสามารถวัดได้จากการวัดอัตราส่วนของระยะทาง OA/OB หรือ OC/OA

8 การวัดประสิทธิภาพของหน่วยผลิตโดยแบบจำลอง SFA
ในทางปฏิบัติ ประสิทธิภาพ (efficiency) ของหน่วยผลิต สามารถวัดได้โดยการใช้แบบจำลอง การวิเคราะห์เส้นพรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม (stochastic frontier analysis, SFA) ที่นำเสนอโดย Aigner, Lovell และ Schmidt (1977)

9 การวิเคราะห์เส้นพรมแดนการผลิตเชิงเฟ้นสุ่ม
แบบจำลองเส้นพรมแดนการผลิตเชิงเฟ้นสุ่ม (stochastic production frontier) กำหนดได้ดังนี้ ที่ซึ่ง yi, xi คือ ผลผลิตและปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตที่ i ß คือ ตัวแปรที่ไม่ทราบค่าที่ต้องการประเมิน vi คือ ตัวแปรความผิดพลาดเชิงเฟ้นสุ่มที่มีค่าเป็นได้ทั้งบวกและลบ (random error) ซึ่งใช้เป็นตัวแทนในการอธิบายถึงความผิดพลาดต่างๆที่เกิดจากการวัดและปัจจัยความไม่แน่นอนที่ไม่สามารถวัดได้ในกระบวนการผลิต ui คือ ตัวแปรเชิงเฟ้นสุ่มที่มีค่าเป็นบวกเท่านั้นที่ใช้แสดงถึงค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) ในการผลิต

10 การวัดประสิทธิภาพของหน่วยผลิตโดยแบบจำลอง SFA
ในทางปฏิบัติ ขั้นตอนในการวิเคราะห์เส้นพรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม (stochastic frontier analysis, SFA) สามารถทำได้โดย 1. กำหนดรูปแบบของฟังก์ชัน เช่น Cobb-Douglas, Translog, Quadratic 2. กำหนดรูปแบบการกระจายตัวของตัวแปรเชิงเฟ้นสุ่ม ui เช่น half-normal, truncated-normal, exponential

11 S S’ การกำหนดเส้นพรมแดน
การกำหนดเส้นพรมแดน (frontier) สามารถทำได้ 2 วิธี 1. เส้นพรมแดนสร้างขึ้นจากฐานของข้อมูลทั้งหมด (observed data) ภายใต้รูปแบบของฟังก์ชันที่ได้กำหนดไว้ เส้นพรมแดนที่ได้สร้างขึ้นนี้จะถูกกำหนดให้อยู่ระหว่างข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ประสิทธิภาพที่วัดได้จากเส้นพรมแดนที่กำหนดโดยวิธีนี้อาศัยการประเมินค่าตัวแปรทางสถิติ (parametric) วิธีดังกล่าวเรียกว่า การวิเคราะห์เส้นพรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม (Stochastic Frontier Analysis หรือ SFA) x2/y x1/y S S’

12 S S’ การกำหนดเส้นพรมแดน
2. เส้นพรมแดนสร้างขึ้นจากฐานของข้อมูลทั้งหมด โดยการล้อมกรอบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยไม่มีข้อมูลใดๆถูกวางอยู่ภายนอกเขตแดนของเส้นพรมแดนทีได้สร้างขึ้น ประสิทธิภาพที่วัดได้จากเส้นพรมแดนที่กำหนดโดยวิธีนี้อาศัยหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (non-parametric) วิธีดังกล่าวเรียกว่า การวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis หรือ DEA) x1/y x2/y S S’

13 ข้อแตกต่างระหว่างแบบจำลอง SFA และ DEA
แต่แบบจำลอง SFA ต้องกำหนดข้อสมมติฐานต่างๆเกี่ยวกับรูปแบบของฟังก์ชันและการกระจายตัวของตัวแปรเชิงเฟ้นสุ่ม ui ซึ่งข้อสมมติฐานดังกล่าวเป็นประเด็นถกเถียงกันถึงเรื่องความเหมาะสม 2. แบบจำลอง DEA ไม่จำเป็นต้องกำหนดข้อสมมติฐานเกี่ยวกับรูปแบบของฟังก์ชันและการกระจายตัวของตัวแปรเชิงเฟ้นสุ่ม ui แต่ก็ไม่ได้รวมเอาตัวแปรความผิดพลาดเชิงเฟ้นสุ่มไว้ในการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของค่าประสิทธิภาพที่คำนวณได้

14 วิธีการวัดประสิทธิภาพของหน่วยผลิต
Frontier approaches Parametric approaches Non-parametric approaches Deterministic methods Stochastic methods Deterministic methods Stochastic methods Deterministic Frontier Analysis (DFA) Stochastic Frontier Analysis (SFA) Data Envelopment Analysis (DEA) Stochastic Data Envelopment Analysis (SDEA)


ดาวน์โหลด ppt ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google