บทที่ 1 บทนำ(Introduction) Wastewater Engineering โดย ธิติ เชี่ยวชาญวิทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Textbook: Metcalf & Eddy, Inc Textbook: Metcalf & Eddy, Inc.,Wastewater Engineering Treatment and Reuse, 4th Edition, McGraw-Hill. เนื้อหา บทที่ 1 บทนำ(Introduction) * บทที่ 2 องค์ประกอบในน้ำเสีย(Constituents in Wastewater) * บทที่ 3 การวิเคราะห์เลือกอัตราการไหลของน้ำเสียและภาระองค์ประกอบต่างๆ(Analysis and Selection of Wastewater Flowrates and Constituent Loadings) * บทที่ 4 การวิเคราะห์และเลือกกระบวนการ(Process Analysis and Selection) * บทที่ 5 หน่วยดำเนินการทางกายภาพ(Physical Unit Operations) * บทที่ 6 หน่วยกระบวนการทางเคมี(Chemical Unit Operations) * บทที่ 7 การบำบัดทางชีวภาพเบื้องต้น(Fundamentals of Biological Treatment) * บทที่ 8 ระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก(Small Wastewater Treatment Systems)** บทที่ 9 ระบบบำบัดโดยใช้ธรรมชาติ(Natural Treatment System)** บทที่ 10 การจัดการตะกอนชีววิทยา(Biosolids Management)*** บทที่ 11 กระบวนการบำบัดทางชีววิทยาแบบเติบโตแขวนลอย(Suspended Growth Biological Treatment Processes)*** บทที่ 12 กระบวนการบำบัดทางชีววิทยาแบบเติบโตเกาะติดและแบบผสม(Attached Growth and Combined Biological Treatment Processes)*** บทที่ 13 กระบวนการบำบัดทางชีววิทยาไม่ใช้อากาศแบบเติบโตแขวนลอยและแบบเติบโตเกาะติด(Anaerobic Suspended and Attached Growth Biological Treatment Processes)*** * จาก 4th Edition ** จาก 3rd Edition *** ถ้ามีเวลาเหลือ
1.วิศวกรรมน้ำเสีย วิศวกรรมน้ำเสียเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดและการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ เป้าหมายก็คือการป้องกันทางสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ในด้าน องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในน้ำเสีย ผลขององค์ประกอบเหล่านั้น เมื่อปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงและผลขององค์ประกอบเหล่านั้นในกระบวนการบำบัด วิธีการบำบัดเพื่อที่จะแยกออกหรือปรับเปลี่ยนองค์ประกอบเหล่านั้น วิธีใช้ประโยชน์หรือวิธีทิ้งของแข็งที่เกิดจากระบบบำบัด รูปที่ 1.1 แสดงโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการน้ำเสีย
รูปที่ 1.1 โครงสร้างพื้นฐานในการจัดการน้ำเสีย
2. การบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียจากชุมชนและเมืองใหญ่จะต้องถูกส่งกลับไปยังแหล่งน้ำหรือผืนดินหรือเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ การตัดสินว่าระดับของการบำบัดที่ต้องการเพื่อที่จะไม่ให้เกิดผลต่อสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมควรเป็นเท่าใด ต้องการการวิเคราะห์เงื่อนไขและความต้องการของท้องถิ่น การใช้ความรู้ทางวิศวกรรมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การพิจารณาข้อบังคับขององค์กรท้องถิ่นและรัฐบาล ในบางกรณีจำเป็นต้องทำการประเมินค่าความเสี่ยง(risk assessment)โดยละเอียด วิธีการบำบัดที่เน้นการกระทำทางกายภาพ เรียกว่าหน่วยการทำงาน(unit operations) วิธีการในการแยกสิ่งปนเปื้อนออกโดยปฏิกิริยาเคมีหรือชีววิทยา เรียกว่าหน่วยกระบวนการ(unit processes) ทั้งหน่วยการทำงานและหน่วยกระบวนการผสานเข้าเป็นระดับการบำบัดต่างๆ คือ เริ่มต้น(preliminary) ปฐมภูมิ(primary) ปฐมภูมิขั้นสูง(advanced primary) ทุติยภูมิ(secondary) ทุติยภูมิพร้อมการกำจัดสารอาหาร(secondary with nutrient removal) ตติยภูมิ(tertiary) และขั้นสูง(advanced) ดังตารางที่ 1.1 ตารางที่ 1.2 แสดงหน่วยการทำงานและหน่วยกระบวนการที่ใช้ในการแยกองค์ประกอบที่พบในน้ำเสีย
ตารางที่ 1.1 ระดับของการบำบัดน้ำเสีย
ตารางที่ 1.2หน่วยการทำงานและหน่วยกระบวนการที่ใช้ในการแยกองค์ประกอบที่พบในน้ำเสีย