ประวัติอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ Adolf Hitler
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (20 เมษายน ค. ศ. 1889 – 30 เมษายน ค. ศ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (20 เมษายน ค.ศ. 1889 – 30 เมษายน ค.ศ. 1945) เป็นนักการเมืองเยอรมนีสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด หัวหน้าพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933 ถึง 1945 และผู้เผด็จการของนาซีเยอรมนี (ตำแหน่ง ฟือแรร์อุนด์ไรช์สคันซแลร์) ตั้งแต่ ค.ศ. 1934 ถึง 1945 ฮิตเลอร์อยู่ ณ ศูนย์กลางของนาซีเยอรมนี สงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป และฮอโลคอสต์
วัยเด็ก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกิดวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1889 ที่กัสทอฟ ซุม พอมแมร์ (Gasthof zum Pommer) โรงแรมแห่งหนึ่งในรันส์ฮอเฟน (Ranshofen) หมู่บ้านซึ่งถูกรวมเข้ากับเทศบาลเบราเนาอัมอินน์ (Braunau am Inn) จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ใน ค.ศ. 1938 เขาเป็นบุตรคนที่สี่จากทั้งหมดหกคนของอาลัวส์ ฮิตเลอร์และคลารา เพิลเซล พี่ทั้งสามคนของฮิตเลอร์ กุสตาฟ ไอดา และออทโท เสียชีวิตตั้งแต่เป็นทารกเมื่อฮิตเลอร์อายุได้สามขวบ ครอบครัวของเขาย้ายไปพัสเซา เยอรมนีที่ซึ่งทำให้ฮิตเลอร์มีสำเนียงท้องถิ่นแบบบาวาเรียล่างมากกว่าสำเนียงเยอรมันออสเตรีย และเป็นสำเนียงที่ฮิตเลอร์ใช้ตลอดชีวิตใน ค.ศ. 1894 ครอบครัวได้ย้ายอีกหนหนึ่งไปยังเลออนดิง ใกล้กับลินซ์ และต่อมา เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1895 อาลัวส์ได้เกษียณไปยังที่ดินเล็ก ๆ ที่ฮาเฟลด์ ใกล้ลัมบัค ที่ซึ่งเขาพยายามประกอบอาชีพกสิกรรมและเลี้ยงผึ้งด้วยตนเอง ฮิตเลอร์เข้าศึกษาที่โรงเรียนที่ฟิชล์ฮัม (Fischlham) ในละแวกใกล้เคียง ขณะที่ยังเป็นเด็ก ฮิตเลอร์กลายมาติดการสงครามหลังพบหนังสือภาพเกี่ยวกับสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียท่ามกลางบรรดาสมบัติส่วนตัวของบิดา
วัยผู้ใหญ่ช่วงต้นในเวียนนาและมิวนิก นับจาก ค.ศ. 1905 ฮิตเลอร์ได้ใช้ชีวิตแบบโบฮีเมี่ยนในเวียนนาด้วยเงินสงเคราะห์เด็กกำพร้าและการสนับสนุนจากมารดา เขาทำงานเป็นกรรมกรชั่วคราว และท้ายสุด เป็นจิตรกรขายภาพวาดสีน้ำ สถาบันวิจิตรศิลป์เวียนนาปฏิเสธเขาสองครั้ง ใน ค.ศ. 1907 และ 1908 เพราะ "ความไม่เหมาะสมที่จะวาดภาพ" ของเขา ผู้อำนวยการแนะนำให้ฮิตเลอร์เรียนสถาปัตยกรรมแต่เขาขาดเอกสารแสดงวิทยฐานะวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1907 มารดาของเขาเสียชีวิตในวัย 47 ปี หลังสถาบันฯ ปฏิเสธเป็นครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ก็หมดเงิน ใน ค.ศ. 1909 เขาอาศัยอยู่ในที่พักคนไร้ที่บ้าน และใน ค.ศ. 1910 เขาย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านพักชายรับจ้างยากจนบนถนนเมลเดมันน์สทราเซอขณะที่ฮิตเลอร์อยู่ที่นั่น เวียนนาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อคติทางศาสนาและคตินิยมเชื้อชาติแบบคริสต์ศตวรรษที่ 19
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮิตเลอร์กับเพื่อนทหารในกรมทหารราบกองหนุนบาวาเรีย 16 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุ ฮิตเลอร์สมัครเข้ารับราชการในกองทัพเยอรมัน เขาได้รับการตอบรับในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ซึ่งมีแนวโน้มว่าเป็นผลมาจากความปล่อยปละละเลยทางธุรการ เพราะเขายังเป็นพลเมืองออสเตรียเขาถูกจัดไปยังกรมทหารราบกองหนุนบาวาเรีย 16 (กองร้อยที่ 1 แห่งกรมลิสท์)เขาปฏิบัติหน้าที่เป็นพลนำสารส่งของบนแนวรบด้านตะวันตกในฝรั่งเศสและเบลเยียมใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่งอยู่หลังแนวหน้าเขาเข้าร่วมในยุทธการอีเปอร์ครั้งที่หนึ่ง ยุทธการแม่น้ำซอม ยุทธการอารัส และยุทธการพัสเชนแดเลอ และได้รับบาดเจ็บที่แม่น้ำซอม
ฮิตเลอร์ได้รับเชิดชูเกียรติสำหรับความกล้าหาญ ได้รับกางเขนเหล็กชั้นที่สอง ใน ค.ศ. 1914และโดยการแนะนำของ ฮูโก กุทมันน์ เขาได้รับกางเขนเหล็กชั้นที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1918 อิสริยาภรณ์ซึ่งน้อยครั้งนักจะมอบให้แก่ทหารชั้นผู้น้อยเช่นพลทหารอย่างเขา ตำแหน่งของฮิตเลอร์ที่กองบัญชาการกรม ทำให้เขามีปฏิสัมพันธ์บ่อยครั้งกับนายทหารอาวุโส อาจช่วยให้เขาได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้แม้พฤติการณ์ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลอาจเป็นความกล้าหาญ แต่ก็อาจไม่ใช่เรื่องพิเศษมากมายนัก เขายังได้รับเข็มการบาดเจ็บสีดำเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
กบฏโรงเบียร์ ฮิตเลอร์ขอการสนับสนุนจากพลเอกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อีริช ลูเดนดอร์ฟฟ์ สำหรับพยายามก่อรัฐประหารที่เรียกว่า "กบฏโรงเบียร์" พรรคนาซีได้ใช้ลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีเป็นแบบภาพลักษณ์และนโยบาย และใน ค.ศ. 1923 ฮิตเลอร์ต้องการเลียนแบบ "การสวนสนามแห่งโรม" ของเบนิโต มุสโสลินี (ค.ศ. 1922) โดยจัดรัฐประหารของเขาเองในบาวาเรีย ตามด้วยการท้าทายรัฐบาลในเบอร์ลิน ฮิตเลอร์และลูเดนดอร์ฟฟ์แสวงหาสการสนับสนุนจากสทาทสคอมมิสซาร์ (ผู้ตรวจการรัฐ) กุสทัฟ ฟอน คาร์ ผู้ปกครองบาวาเรียโดยพฤตินัย อย่างไรก็ดี คาร์ ร่วมกับหัวหน้าตำรวจ ฮันส์ ริทแทร์ ฟอน ไซส์แซร์ และพลเอกไรช์สเวอร์ ออทโท ฟอน ลอสซอว์ ต้องการสถาปนาลัทธิเผด็จการชาตินิยมโดยปราศจากฮิตเลอร์
จำเลยในการพิจารณากบฏโรงเบียร์ ฮิตเลอร์เป็นคนที่สี่นับจากขวาสุด
การได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การขาดรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพทำให้นักการเมืองทรงอิทธิพลสองคน ฟรันซ์ ฟอน พาเพน และอัลเฟรด ฮูเกนแบร์ก ตลอดจนนักอุตสาหกรรมและนักธุรกิจหลายคน เขียนจดหมายถึงฮินเดนบูร์ก ผู้ลงนามกระตุ้นให้ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นหัวหน้ารัฐบาล "ซึ่งเป็นอิสระจากพรรคการเมืองในรัฐสภา" ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนเป็นขบวนการซึ่งอาจ "สร้างความยินดีแก่ประชากรหลายล้านคน
ฮิตเลอร์ที่หน้าต่างของทำเนียบรัฐบาลไรช์ ขณะได้รับการปรบมือต้อนรับจากประชาชนในเย็นวันที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี
ผลการเลือกตั้งพรรคนาซี
การสร้างเสริมอาวุธและพันธมิตรใหม่ ในการประชุมกับผู้นำทางทหารของเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์กล่าวถึง "การพิชิตเพื่อเลเบนสเราม์ในทางตะวันออกและทำให้เป็นเยอรมันอย่างไร้ความปรานี" เป็นความมุ่งหมายนโยบายต่างประเทศสูงสุดของเขาในเดือนมีนาคม เจ้าชายแบร์นาร์ด วิลเฮล์ม ฟอน บือโลว์ เลขานุการเอาสวแวร์ทีเกส อัมท์ (กระทรวงการต่างประเทศ) ออกแถลงการณ์ใหญ่ถึงเป้าประสงค์ของนโยบายต่างประเทศกับเยอรมนี คือ อันชลูสส์กับออสเตรีย การฟื้นฟูพรมแดนแห่งชาติของเยอรมนีใน ค.ศ. 1914 การปฏิเสธการจำกัดทางทหารภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซาย
"โทเทเนรุง" (สรรเสริญผู้ตาย) บนระเบียงหน้า "เอเรนฮัลเลอ" (หอเกียรติยศ) ในฉากหลังเป็นที่ชุมนุมนาซี "เอเรนทรีบือเน" (เวทีเกียรติยศ) รูปจันทร์เสี้ยว ในเนือร์นแบร์ก กันยายน ค.ศ. 1934
ฮิตเลอร์กับรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โยสึเกะ มัตซุโอกะ ที่การประชุมในกรุงเบอร์ลินเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 ที่ยืนอยู่ข้างหลังนั้นคือ โจอาคม ฟอน ริบเบนทรอพ
ความปราชัยและอสัญกรรม จนถึงปลาย ค.ศ. 1944 กองทัพแดงได้ขับกองทัพเยอรมันถอยกลับไปยังยุโรปตะวันตก และสัมพันธมิตรตะวันตกกำลังรุกคืบเข้าไปในเยอรมนี หลังได้รับแจ้งความล้มเหลวของการรุกอาร์เดนเนสของเขา ฮิตเลอร์จึงตระหนักว่าเยอรมนีกำลังแพ้สงคราม ความหวังของเขา ซึ่งขึ้นอยู่กับการถึงแก่อสัญกรรมของแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 คือ การเจรจาสันติภาพกับอเมริกาและอังกฤษ
คำประกาศจากฮิตเลอร์ ระหว่างการประชุมทหารเมื่อวันที่ 22 เมษายน ฮิตเลอร์ถามถึงการรุกของสไทเนอร์ หลังความเงียบเป็นเวลานาน เขาได้รับบอกเล่าว่า การโจมตีนั้นไม่เคยเกิดขึ้นและพวกรัสเซียได้ตีฝ่าเข้าไปในกรุงเบอร์ลิน ข่าวนี้ทำให้ฮิตเลอร์ขอให้ทุกคนยกเว้นวิลเฮล์ม ไคเทล, อัลเฟรด โจดล์, ฮันส์ เครบส์ และวิลเฮล์ม บูร์กดอร์ฟออกจากห้องจากนั้น เขาได้ประณามต่อการทรยศและความไร้ความสามารถของผู้บังคับบัญชาของเขาอย่างเผ็ดร้อน และลงเอยด้วยการประกาศเป็นครั้งแรกว่า เยอรมนีแพ้สงคราม ฮิตเลอร์ประกาศว่าเขาจะอยู่ในกรุงเบอร์ลินจนถึงจุดจบและจากนั้นยิงตัวตาย
นาทีสุดท้ายของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 หลังการสู้รบถนนต่อถนนอย่างเข้มข้น เมื่อกองทัพโซเวียตอยู่ในระยะหนึ่งหรือสองช่วงตึกจากทำเนียบรัฐบาลไรช์ ฮิตเลอร์และเบราน์ทำอัตวินิบาตกรรม เบราน์กัดแคปซูลไซยาไนด์และฮิตเลอร์ยิงตัวตายด้วยปืนพกวัลเทอร์ เพเพคา (Walther PPK) 7.65 มม. ของเขาร่างไร้วิญญาณของฮิตเลอร์และเอวา เบราน์ถูกนำขึ้นบันไดและผ่านทางออกฉุกเฉินของบังเกอร์ไปยังสวนที่ถูกระเบิดหลังทำเนียบรัฐบาลไรช์ ที่ซึ่งทั้งสองร่างถูกวางไว้ในหลุมระเบิดราดด้วยน้ำมัน และจุดไฟขณะที่กองทัพแดงยิงปืนใหญ่ถล่มต่อเนื่อง
หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ของทัพสหรัฐ สตาร์สแแอนด์สไตรพ์ วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945