ความหลากหลายทางชีวภาพ
นายทวีศักดิ์ สุวรรณโชติ กลุ่ม 20 คณะสาธารณสุขศาสตร์ จัดทำโดย นายทวีศักดิ์ สุวรรณโชติ กลุ่ม 20 คณะสาธารณสุขศาสตร์ รหัส 56070247
ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ 1 ความหลากหลายในระดับพันธุกรรม 2 ความหลากหลายในระดับชนิดของสิ่งมีชีวิต 3 ความหลากหลายในระดับของระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางพันธุกรรม ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แม้ในสิ่งมีชีวิตเดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ อันเป็นรากฐานสำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไป
รูปภาพแสดงความหลากหลายสายพันธุ์
ความหลากหลายทางพันธุกรรมมีสาเหตุดังนี้ 1. การผ่าเหล่า (Mutation) ลูกที่เกิดมาแตกต่างจากพ่อแม่ 2. การปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม 3. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ พ่อและแม่มีลักษณะเด่นและด้อยต่างกัน 4. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผสมเทียม การโคลน การตัดต่อยีน
ความหลากหลายในระดับชนิดของสิ่งมีชีวิต โลกของเรามีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดกว่า 1.5 ล้านชนิด เพื่อความสะดวกในการศึกษาจึงมีการจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ โดยในแต่ละกลุ่มที่มีการจัดกลุ่มย่อยที่เล็กลงไปตามลำดับจนถึงกลุ่มย่อยพื้นฐานที่สุดในระบบจำแนกสิ่งมีชีวิตเรียกว่า สปีชีส์ ( species ) สปีชีส์ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นประชากรเดียวกันผสมพันธุ์กันแล้วได้ลูกหลานสืบทอดต่อไป ตัวอย่าง : คนทุกชาติในโลกสปีชีส์เดียวกัน คือ Homo sapiens
ความหลากหลายของระบบนิเวศ ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมาย หลายชนิด โดยมีสภาวะที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยที่ระบบนิเวศจะมีความหลากหลายที่สามารถแยกออกได้ 4 ลักษณะ คือ 1. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด 2. ระบบนิเวศในทะเล 3. ระบบนิเวศป่าชายเลน 4. ระบบนิเวศป่าไม้
ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
ระบบนิเวศในทะเล
ระบบนิเวศป่าชายเลน
ระบบนิเวศป่าไม้
ผลของความหลากหลายทางชีวภาพ 1. ผลที่มีต่อมนุษย์ ทำให้มนุษย์สามารถคัดเลือกสาย พันธุ์พืชและสัตว์มาใช้ประโยชน์ตามต้องการได้ 2. ผลที่มีต่อสัตว์และพืช ทำให้สัตว์และพืชอยู่ร่วมกัน ในธรรมชาติอย่างสมดุล เช่น แบบอิงอาศัย หรือ ภาวะปรสิต 3. ผลที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ สิ่งแวดล้อมมีความสมดุลทั้งทางอากาศ ดิน และน้ำ
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 1. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและบริโภค ที่ทำการเกษตรแบบมุ่งเน้นการค้า มีการใช้สารเคมีมากขึ้นในการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช เกิดสารพิษตกค้างในดินและแหล่งน้ำ กระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในดิน และสัตว์น้ำ 2. การเติบโตของประชากรและการกระจายตัวของประชากร ทำให้เกิดการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 3. การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์นานาพันธุ์ เช่น การทำลายป่า การล่าสัตว์ 4. มีการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์มากเกินไป 5. การตักตวงผลประโยชน์จากชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ป่า เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยการค้าขายสัตว์และพืชป่าแบบผิดกฎหมาย 6. การนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำลายสายพันธุ์ท้องถิ่น 7. การสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และขยะ เป็นต้น
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 8. การเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลก เช่น อุณหภูมิโลกสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของน้ำทะเล ภัยแล้งทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ การเกิดไฟป่า 9. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)ด้านการตัดต่อหน่วยพันธุกรรมหรือ จีเอ็มโอ (GMO; Genetically Modified Organisms) หรือพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (genetic
THE END