หมีขั้วโลก
ชีวิตของหมีขั้วโลก หมีขั้วโลก (Polar bear )จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นนักล่าแห่งดินแดนขั้วโลกเหนือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตกลางน้ำแข็ง ธรรมชาติสร้างให้หมีขาวแตกต่างจากหมีพันธุ์อื่น คือ มีขนคลุมอุ้งเท้า นิ้วเท้าสั้น เล็บโค้งงอเพื่อ ให้ยึดน้ำแข็งได้อย่างมั่นคง ในขณะเดียวกันก็มีท่อขนาดใหญ่เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักมหาศาล เพื่อสามารถเดินบนน้ำแข็งบางๆ ได้
หมีขั้วโลก ตัวผู้หนักถึง 775-1,500 ปอนด์ ส่วนตัวเมียหนัก 330-500 ปอนด์ มีถิ่นที่อยู่บริเวณอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ แต่ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน พบในอลาสกา แคนาดา รัสเซีย เดนมาร์ก (กรีนแลนด์) และนอร์เวย์ เป็นสัตว์สปีชีส์หนึ่งของโลกที่กำลังถูกคุกคาม ปัจจุบันหมีขั้วโลกมีจำนวนประมาณ 22,000-27,000 ตัว อยู่ในแคนาดามากที่สุดคือราว 15,000 ตัว ซึ่งการดำรงชีวิตให้อยู่รอดในแถบอาร์กติกที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทำให้สัตว์หลายๆ ชนิดใช้เวลายาวนานในการวิวัฒนาการจนมีขนสีขาว หรือเปลี่ยนสีขนในฤดูหนาวจนกลมกลืนกับหิมะ ซึ่งเป็นการพรางตัวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
อาวุธคือเล็บที่แหลมคม และแขนที่แข็งแรง สามารถฆ่าเหยื่อขนาดใหญ่หรือมนุษย์ ได้ด้วยการตะปบเพียงครั้งเดียว เท้าใหญ่ช่วยกระจายน้ำหนักเหนือแผ่นน้ำแข็งบางๆ และหากน้ำแข็งบางเกินไปจะนอนราบบนน้ำแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหัก มีความทรหด ซึ่งตามปกติแล้ว หมีขั้วโลกขาวจะใช้ก้อนน้ำแข็งที่ล่องลอยอยู่ เป็นที่สำหรับล่าจับแมวน้ำเป็นแหล่งอาหารหลัก อาหารของหมีขั้วโลกนั้นได้แก่ ซากปลาวาฬ, ลูกหมีที่พลัดหลงจากแม่, วอลรัส, สุนัขจิ้งจอก, นกทะเล และฝูงปลาวาฬเบลูก้าที่ว่ายเข้ามาติดในช่องว่างระหว่างแพน้ำแข็ง
สารคดี หมีขั้วโลก ตอนที่ 1
ตอนที่ 2
ตอนที่ 3
ตอนที่ 4
ตอนที่ 5
ตอนที่ 6
ตอนที่ 7
ภาวะวิกฤตของหมีขั้วโลก หน่วยสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey (USGS)) รายงานว่าหมีขั้วโลกกำลังถูกคุกคามจากก้อนน้ำแข็งที่เคลื่อนที่ย้อนกลับระหว่างช่วงฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อนที่ขั้วโลก เมื่อไม่มีก้อนน้ำแข็งและไม่มีอาหาร ทำให้หมีขาวต้องเผชิญกับความอดอยาก และอดอาหาร นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่า มีหมีขั้วโลกประมาณ 20,000 – 25,000 ตัวใน อลาสกา, แคนาดา, รัสเซีย, เดนมาร์ก(กรีนแลนด์) และนอร์เวย์ โดยที่แคนาดามีมากที่สุดคือราว 15,000 ตัว หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานการคาดการณ์ว่า ประชากรหมีขั้วโลกจะหายไปถึง 2 ใน 3 ภายในปี 2050 และจากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่าน้ำแข็งขั้วโลกปีล่าสุดที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกของฤดูร้อนปีนี้แสดงพื้นที่ ธารน้ำแข็งที่คงอยู่หลายแห่ง เริ่มละลายและหดตัว พื้นที่น้ำแข็งเหลือน้อยที่สุดในรอบ 25 ปีที่ผ่านมาดาวเทียมได้ตรวจจับพบว่าตลอดเวลา10 ปี ที่ผ่านมา พื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลอาร์กติกลดลงเฉลี่ยปีละ 1 แสนตารางกิโลเมตร และจากผลสำรวจปี 2007 พื้นที่น้ำแข็งในทะเลขั้วโลกลดลง 1 ล้านตารางกิโลเมตรแสดงถึง ..... ภาวะวิกฤติ .....