บทที่ 3 การผลิตและการวางแผนฟาร์ม 3.1 กระบวนการวางแผนฟาร์ม 3.2 การผลิตและต้นทุนการผลิตของสินค้าเกษตร 3.3 การประเมินผลการดำเนินงานของฟาร์ม หนังสือ/เอกสารอ่านประกอบ 1. อารี วิบูลย์พงศ์. 2535. เศรษฐศาสตร์สำหรับนักเกษตร: หลักและวิธีการ บทที่ 4-8 2. นราทิพย์ ชุติวงศ์. 2543. หลักเศรษฐศาสตร์ 1: จุลเศรษฐศาสตร์. 3. หลักการจัดการฟาร์ม โดย ..........
3.1 กระบวนการวางแผนฟาร์ม
กระบวนการวางแผนฟาร์ม กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่มีผลต่อกำไรของธุรกิจฟาร์มภายใต้ความเสี่ยงภัย ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เกษตรกร/ผู้จัดการฟาร์ม ผลิตสินค้าเกษตร กระบวนการตัดสินใจ: ผลิต ซื้อ/ขายฯ รายได้/กำไรของฟาร์ม
ปัญหาที่ผู้จัดการฟาร์มต้องตัดสินใจ จะผลิตอะไร จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มี ผลิตอะไรบ้าง พืชอะไร สัตว์อะไร 2. จะผลิตอย่างไร วิธีการผลิต/เทคโนโลยี ที่จะใช้ 3. จะผลิตมากน้อยเท่าไร จะจัดสรรปัจจัยการผลิตที่มี หรือที่สามารถหาได้ ไปใช้ผลิตผลผลิตแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใด 4. ควรซื้อ/หา ปัจจัยการผลิต เมื่อไร ที่ไหน 5. จะขายผลผลิตเมื่อไร ที่ไหน 6. จะเปลี่ยนแปลงระดับการผลิต และใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไร เมื่อสภาวะทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป
ขั้นตอนในการวางแผนจัดการฟาร์ม กำหนดเป้าหมายของฟาร์ม: อาจมีหลายเป้าหมาย 2. รู้และเข้าใจในปัญหาของฟาร์ม 3. หาข้อมูลเพื่อวางแผน ตัดสินใจ 4. พิจารณาทางเลือก 5. ตัดสินใจ 6. ลงมือปฏิบัติตามที่ตัดสินใจ 7. รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ 8. ประเมินการตัดสินใจ
ลักษณะของปัญหาที่ต้องตัดสินใจ ลักษณะของปัญหาที่ต้องตัดสินใจมีหลายลักษณะ ลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องตัดสินใจ: เท่า ไม่เท่า 2. ความถี่ของปัญหาที่ต้องตัดสินใจ : บ่อย ไม่บ่อย 3. ความเร่งด่วนของปัญหาที่ต้องตัดสินใจ 4. ความยืดหยุ่นของปัญหาที่ต้องตัดสินใจ 5. โอกาสหรือทางเลือกในการตัดสินใจสำหรับปัญหาหนึ่งๆ : ทางเดียว หลายทาง
การตั้งเป้าหมายฟาร์ม เป้าหมายฟาร์ม: เป็นจุดหมายปลายทางที่ผู้ผลิต/ผู้จัดการฟาร์มกำหนดไว้ แล้วยินดีที่จะทำงานและใช้ความพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
คุณลักษณะของเป้าหมายฟาร์ม เป้าหมายต้องชัดเจน 2. เป้าหมายต้องเป็นสิ่งที่กำหนดได้และมีความเป็นไปได้ 3. เป้าหมายเป็นสิ่งที่ต้องการความพยายาม 4. เป้าหมายต้องมีวันครบกำหนดชัดเจน 5. เป้าหมายต้องวัดได้ 6. เป้าหมายบางอย่างสามารถทำได้ง่ายกว่า ควรทำเป้าหมายที่ง่ายให้ได้ก่อน เพื่อสร้างกำลังใจ 7. เป้าหมายควรมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ 8. บางเป้าหมายอาจไม่สามารถบรรลุได้ สร้างประสบการณ์ การเรียนรู้ นำไปสู่การตั้งเป้าหมายและปฏิบัติใหม่
ขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายฟาร์ม ขั้นสะสมความคิด หาเวลาตั้งเป้าหมาย และวางเป้าหมาย ประเมินงานที่ได้ทำมาในอดีต ตรวจสอบเป้าหมาย พิจารณาทางเลือกที่มีอยู่ในปัจจุบัน จัดทำรายการใหม่ กำหนดเป้าหมายระยะสั้น ปานกลาง และยาว เช็คว่าเสริมกัน ขัดแย้งกัน หรืออิสระต่อกัน ปรึกษา หาข้อตกลง และสรุป
เครื่องมือในการวางแผน จัดการ และประเมินผลการดำเนินงานฟาร์ม หลัก/ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์: ทฤษฎีว่าด้วยการผลิต: กฎว่าด้วยผลลดน้อยถอยลง หลักผลตอบแทนเพิ่มเท่ากัน ค่าเสียโอกาส การใช้ปัจจัยการผลิตทดแทนกัน 2. บัญชีฟาร์ม: งบดุล งบกระแสรายวัน (รายรับ-รายจ่าย) งบกำไรขาดทุน 3. งบประมาณฟาร์ม: งบประมาณทั้งหมด งบประมาณบางส่วน 4. การวิเคราะห์โครงการ