กฎหมายแพ่งว่าด้วยหนี้ (Law of Obligations)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย เงินรายได้ของมหาวิทยาลัย พ. ศ
Advertisements

หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการยืมเงินทดรองจ่ายเงินรายได้
บทที่ 1 เรื่อง การฝากขาย Chollada Advance I : Consign.
การขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ
LA 102: Business Law สัญญาซื้อขาย.
หนี้.
วิชา มรดก ครั้งที่ ๔ เมทินี ชโลธร.
โดย สุทธิพงษ์ กาญจนเกษร
วิชาว่าความและ การถามพยาน
กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
บทที่ 2 ขอบเขตการใช้กฎหมาย
ความหมาย ลักษณะ และการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ตาม มาตรา 56 ทวิ)
ภาษีธุรกิจเฉพาะ.
4. โมฆกรรมและโมฆียกรรม (กลุ่มที่ 10).
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542
ปัญหาเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริง
เมื่อ ๕ ก.ย.๕๕ , ๐๙๐๐ ณ ห้องประชุม สธน.ทหาร
ภาพรวมการลงทุน ของ กบข.
การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ
คำแนะนำในการตอบข้อสอบ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. คำนิยาม ขาย สินค้า การบริการ ใบกำกับภาษี ภาษีขาย ภาษีซื้อ 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 3. การยกเว้น.
การขัดกันแห่งกฎหมาย (Conflict of law)
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทน
การใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๓๕
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย และการดำเนินคดีปกครอง
โครงการรถยนต์คันแรกกับภาษีสรรพสามิตรถยนต์
การกู้ยืมเงิน.
นายสุรเกียรติ ฐิตะฐาน
น.ส.เสาวลักษณ์ วิจิตรโสภา
คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.​ ๒๕๕๑
พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ. ศ.2537 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ดังต่อไปนี้ มาตราที่
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
(ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุน ( ชื่อกองทุน )
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การรับรองงบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2518 – 2552
ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้กู้ยืมเงินกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย.
ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 13.
หลักคิดพื้นฐานในการ ใช้ดุลพินิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธี ปฏิบัติทางปกครอง สุรเกียรติ ฐิตะฐาน.
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
กฎหมายที่หัวหน้างานควรรู้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมาย กฎหมาย คือ ข้อบังคับ ของรัฐซึ่งกำหนดความ ประพฤติของพลเมืองไว้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการ ลงโทษ โดยเจ้า พนักงานของรัฐ.
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
บทที่ ๒ ผลแห่งหนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์
บทที่ 1 บุคคล.
ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น(ฉบับที่ 1325/2552)
การแสดงเจตนา ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์.
การตรวจเงิน รายงานการเงินที่หัวหน้าหน่วยงานคลัง จัดทำเสนอปลัด อปท. เพื่อนำเสนอผู้บริหารท้องถิ่น การรายงานข้อมูลทางด้านการเงินการคลัง ประกาศงบแสดงฐานะการเงิน.
สาระสำคัญของกฏหมายปกครอง
กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี
นิติกรรม และ สัญญา บทนำ สิทธิและหน้าที่ สิทธิ มีความหมาย 2 นัย
หลักละทฤษฎีกฎหมายอาญา เรื่อง เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย โดย
PRT บริษัท ภูรีภาค จำกัด “แก่นแท้ของ พรบ. คุ้มครองแรงงานที่ควรรู้”
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12
มาตรา ๑๔๔๘ การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชาย และหญิง มีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการ สมรสก่อนนั้นได้
มาตรา ๑๔๕๒ ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่ สมรสอยู่ไม่ได้
บทที่ 7 อากรแสตมป์.
ศาลที่มีอำนาจชำระในคดีอาญา
รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การบริหารเงินทดรองจ่ายหมุนเวียนภายในส่วนงาน
กรมธรรม์ประกันภัย Insurance Policy
กฎหมายสิ่งแวดล้อม Story of stuff
กฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่
การถอนเงินคืนรายรับ ถอนคืนเงินรายรับ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กฎหมายแพ่งว่าด้วยหนี้ (Law of Obligations) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงสร้าง ป.พ.พ. บรรพ 2

โครงสร้างคำบรรยายบทที่ 1 ความหมายของคำว่า “หนี้” บ่อเกิดแห่งหนี้ วัตถุแห่งหนี้ ความหมาย หนี้เงิน หนี้ทรัพย์สินอื่น หนี้มีหลายอย่าง

“หนี้” คืออะไร

ก. ยืมเงิน ข. 500 บาท ตกลงว่าจะคืนเงินที่ยืมภายในวันที่ 1 ม. ค ก. ยืมเงิน ข. 500 บาท ตกลงว่าจะคืนเงินที่ยืมภายในวันที่ 1 ม.ค. 50 แต่ยังไม่คืน

ค. ยืมเงิน ง. 500 บาท ตกลงว่าจะคืนเงินที่ยืมภายในวันที่ 1 ม.ค. 54

ก. จ้าง ข. ให้ทำความสะอาดบ้าน ตกลงค่าจ้างเดือนละ 1,500 บาท

ก. ทำร้ายร่างกาย ข.

ความหมายของคำว่า “หนี้” หนี้คือความผูกพันทางกฎหมายระหว่างบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าลูกหนี้กระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สิน

มาตรา ๑๙๔ ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้

ก. ยืมเงิน ข. 500 บาท ตกลงว่าจะคืนเงินที่ยืมภายในวันที่ 1 ม. ค ก. ยืมเงิน ข. 500 บาท ตกลงว่าจะคืนเงินที่ยืมภายในวันที่ 1 ม.ค. 50 แต่ยังไม่คืน ค. ยืมเงิน ง. 500 บาท ตกลงว่าจะคืนเงินที่ยืมภายในวันที่ 1 ม.ค. 54 ก. จ้าง ข. ให้ทำความสะอาดบ้าน ตกลงค่าจ้างเดือนละ 1,500 บาท ก. ทำร้ายร่างกาย ข.

บ่อเกิดแห่งหนี้ (หนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร)

หนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร สัญญา นิติเหตุ

หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ (subject of obligations)

ส่วนประกอบของหนี้ เจ้าหนี้ (creditor) ลูกหนี้ (debtor) วัตถุแห่งหนี้ (subject of obligations)

มาตรา 195 มาตรา 213 วรรค 2 และ วรรค 3

วัตถุแห่งหนี้คือการกระทำ ซึ่งอาจเป็นกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สิน

หมวด 1 วัตถุแห่งหนี้ มาตรา 194 -202 ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้คือเงิน (หนี้เงิน) ทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้คือทรัพย์สินอื่น (หนี้ทรัพย์สินอื่น) หนี้มีหลายอย่าง

หนี้เงิน แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ กำหนดไว้เป็นเงินที่ยกเลิกแล้ว

หนี้เงินแสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ปัญหา 1: ใช้เป็นเงินไทยได้หรือไม่ ปัญหา 2: การคิดอัตราแลกเปลี่ยน

ปัญหา 1: ใช้เป็นเงินไทยได้หรือไม่ ปัญหา 1: ใช้เป็นเงินไทยได้หรือไม่ ก. ยืมเงิน ข. 500 USD ก. (ลูกหนี้) ต้องการคืนเป็นเงินไทย แต่ ข. (เจ้าหนี้) ต้องการ USD ข. (เจ้าหนี้) ต้องการให้คืนเป็นเงินไทย แต่ ก.(ลูกหนี้) ต้องการคืนเป็น USD

ปัญหา 1: ใช้เป็นเงินไทยได้หรือไม่ ปัญหา 1: ใช้เป็นเงินไทยได้หรือไม่ ดูมาตรา 196 วรรค 1

มาตรา ๑๙๖ วรรค ๑ ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2512/2544 เป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้

ปัญหา 1 (ต่อ) ถ้าตกลงกันว่าต้องชำระเป็นเงินต่างประเทศเท่านั้น ผล?

คำพิพากษาฎีกาที่ 1693/2493 สัญญากันว่าจะชำระหนี้เป็นเงินเหรียญมลายู ต้องชำระเป็นเงินเหรียญมลายู จะชำระเป็นเงินไทยไม่ได้

ความเห็นนักวิชาการ ศ. ดร. จิ๊ด เศรษฐบุตร - ข้อตกลงเป็นโมฆะ ศ. โสภณ รัตนากร และ ศ. ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช - เป็นไปตามข้อตกลง

BGB § 244 If a money debt expressed in foreign currency is payable within the country, payment may be made in the currency of the country, unless payment in the foreign currency is expressly stipulated. มาตรา ๑๙๖ วรรค ๑ ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้

ปัญหา 2: การคิดอัตราแลกเปลี่ยน ปัญหา 2: การคิดอัตราแลกเปลี่ยน มาตรา ๑๙๖ วรรค ๒ การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน

อัตราซื้อ? อัตราขาย?

คำพิพากษาฎีกาที่ 568/2548 โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งหากจำเลยจะชำระหนี้เป็นเงินไทยก็ได้ แต่การเปลี่ยนเงินต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันฟ้องเท่ากับการพิพากษานอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ปัญหา 2 (ต่อ) ตกลงกันเป็นอย่างอื่น ผล?

คำพิพากษาฎีกาที่ 6550/2547 โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราแลกเปลี่ยนที่โจทก์ต้องชำระค่าสินค้าแทนจำเลย หรือตามอัตราที่ตกลงกันไว้ หรือในอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันครบกำหนดชำระเงิน โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกที่จะใช้อัตราใดแล้วแต่จะเห็นสมควร ข้อตกลงเช่นนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับกันได้โดยชอบ

หนี้เงินกำหนดไว้เป็นเงินที่ยกเลิกแล้ว

ปัญหา: แล้วจะชำระหนี้กันอย่างไร

มาตรา ๑๙๗ ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ อันเป็นชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงินท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามิได้ระบุไว้ให้ใช้เป็นเงินตราชนิดนั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 568/2548 หนี้เงินต่างประเทศสกุลฟรังก์ฝรั่งเศสที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระแก่โจทก์ตามคำฟ้องเป็นเงินตราของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรป หากในเวลาใช้เงินจริงนั้นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินฟรังก์ฝรั่งเศส ทั้งนี้ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริง

หนี้ทรัพย์สินอื่น 1. กำหนดไว้แต่เพียงประเภท 1. กำหนดไว้แต่เพียงประเภท 2. กำหนดไว้แล้วทั้งประเภทและชนิด แต่ลูกหนี้ยังต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อส่งมอบทรัพย์ หรือยังต้องเลือกกำหนดทรัพย์

กรณี 1. กำหนดไว้แต่เพียงประเภท กรณี 1. กำหนดไว้แต่เพียงประเภท

ปัญหา: ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดใด ปัญหา: ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดใด

มาตรา ๑๙๕ วรรค ๑ เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง

กรณี 2. กำหนดไว้แล้วทั้งประเภทและชนิด แต่ลูกหนี้ยังต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อส่งมอบทรัพย์ หรือยังต้องเลือกกำหนดทรัพย์

ปัญหา: ยังไม่ทราบว่าทรัพย์ชิ้นไหนเป็นวัตถุที่จะใช้ในการชำระหนี้ ปัญหา: ยังไม่ทราบว่าทรัพย์ชิ้นไหนเป็นวัตถุที่จะใช้ในการชำระหนี้

มาตรา ๑๙๕ วรรค ๒ ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป

สำคัญอย่างไร มาตรา ๓๗๐ ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่าการสูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ ถ้าไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านให้ใช้บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้บังคับแต่เวลาที่ทรัพย์นั้นกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๙๕ วรรค ๒ นั้นไป

มาตรา ๔๖๐ วรรค ๑ ในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอนนั้นท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้ว

หนี้มีหลายอย่าง แต่ต้องทำเพียงอย่างเดียว

ก. ทำสัญญาซื้อลูกสุนัขหรือลูกแมวจาก ข. 1 ตัว ในราคา 500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2520 บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบกระดาษจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่คำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้จำเลยส่งมอบกระดาษและชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์คงขอให้จำเลยส่งมอบกระดาษหรือชดใช้ค่าเสียหาย และศาลพิพากษาให้ตามคำขอแล้วหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์จึงมี 2 อย่าง คือส่งมอบกระดาษหรือชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งจำเลยจะต้องกระทำเพียงอย่างเดียว สิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 หาใช่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 ศาลพิพากษาให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198

ผู้มีสิทธิเลือก วิธีเลือก กำหนดเวลาในการเลือก ผลของการเลือก หนี้อย่างหนึ่งตกเป็นพ้นวิสัย

ผู้มีสิทธิเลือก มาตรา ๑๙๘ ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกทำการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ลูกหนี้หมายถึงฝ่ายไหน

ผู้มีสิทธิเลือก (ต่อ) มาตรา ๒๐๑ วรรค ๒ ถ้าบุคคลภายนอกนั้นไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี หรือไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้

วิธีเลือก มาตรา ๑๙๙ วรรค ๑ การเลือกนั้นท่านให้ทำด้วยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ... มาตรา ๒๐๑ วรรค ๑ ถ้าบุคคลภายนอกจะพึงเป็นผู้เลือก ท่านให้กระทำด้วยแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องแจ้งความนั้นแก่เจ้าหนี้

ผลของการเลือก มาตรา ๑๙๙ วรรค ๒ การชำระหนี้ได้เลือกทำเป็นอย่างใดแล้ว ท่านให้ถือว่าอย่างนั้นอย่างเดียว เป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมา

กำหนดเวลาในการเลือก มาตรา ๒๐๐ ถ้าจะต้องเลือกภายในระยะเวลาอันมีกำหนด และฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกมิได้เลือกภายในระยะเวลานั้นไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกนั้น ย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาให้เลือกไซร้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกอาจกำหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุ แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลาอันนั้น

หนี้อย่างหนึ่งตกเป็นพ้นวิสัย มาตรา ๒๐๒ ถ้าการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง และอย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้นก็ดี หรือกลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลังก็ดี ท่านให้จำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย อนึ่งการจำกัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ

มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ

ปัญหาที่ 1: ใช้มาตรา 202 เมื่อไหร่

หลักเกณฑ์มาตรา 202 เมื่อการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง และ อย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้น หรือกลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง

ผล “ให้จำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย”

ปัญหา 2: “กลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง” หมายความว่าอย่างไร

“กลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง” หมายถึง กลายเป็นพ้นวิสัยหลังทำสัญญา แต่ต้องก่อนฝ่ายที่มีสิทธิเลือกได้แสดงเจตนาเลือก

ทำไม ถ้าเลือกแล้ว  มาตรา 199 วรรค 2

ข้อยกเว้น: “การจำกัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ”

= ฝ่ายที่มีสิทธิเลือก อาจเลือกชำระหนี้ หรือเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยหนี้ที่ตกเป็นพ้นวิสัย

ก. ทำสัญญาซื้อลูกสุนัขหรือลูกแมวจาก ข. 1 ตัว กรณีที่ ๑ ข. เป็นผู้มีสิทธิเลือก ข. ทำลูกสุนัขตาย ผล? ก. ทำลูกสุนัขตาย ผล? ค. หรือคนอื่นทำลูกสุนัขตาย ผล?

กรณีที่ ๒ ก. เป็นผู้มีสิทธิเลือก ข. ทำลูกสุนัขตาย ผล? ก. ทำลูกสุนัขตาย ผล? ค. หรือคนอื่นทำลูกสุนัขตาย ผล?

กรณีที่ ๓ ค. เป็นผู้มีสิทธิเลือก ข. ทำลูกสุนัขตาย ผล? ก. ทำลูกสุนัขตาย ผล? ค. หรือคนอื่นทำลูกสุนัขตาย ผล?