จุฑาทิพย์ ชมภูนุช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลตามแนวชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จุฑาทิพย์ ชมภูนุช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี
ความสำคัญ พื้นที่ชายแดนติดต่อกับสหภาพพม่าโดยทางบก จำนวน 4 จังหวัด 16 อำเภอ 34 ตำบล มีช่องทางเข้า-ออกหลายช่องทาง ทำให้มีการเดินทางไปมาหา สู่กัน และมีการแพร่ระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพชายแดน จะต้องดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยมีจุดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Research Question องค์การบริหารส่วนตำบลชายแดนมีการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพอย่างไร
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย วัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคและ ภัยสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล วัตถุประสงค์เฉพาะ 1. เพื่อศึกษาความรู้เรื่องการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคขององค์การบริหารส่วนตำบล 2. เพื่อศึกษาบทบาท กิจกรรมดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคขององค์การบริหารส่วนตำบล
ระเบียบวิธีวิจัย Cross Sectional Survey Research โดยทำการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลตามแนวชายแดน 34 ตำบล ส่วนที่ 1 ความรู้เรื่องการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคขององค์การบริหาร ส่วนตำบล ส่วนที่ 2 บทบาทกิจกรรมดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคขององค์การบริหาร ส่วนที่ 3 ปัญหา / อุปสรรคของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค
พื้นที่ศึกษา คัดเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามแนวชายแดนจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 34 ตำบล
ผลการศึกษา
ความรู้การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค ตอบถูก 100 % อบต. จัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหา แนวทางการป้องกันควบคุมโรคได้ตรงกับปัญหามากที่สุด ตอบไม่ถูกต้อง 23.5 %
บทบาทการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและ ภัยสุขภาพกับหน่วยงานสาธารณสุขในตำบล เป็นอย่างดี ระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 88.2
บทบาทการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ อบต.กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการประสานงานการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เป็นประจำ ระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 79.41
บทบาทการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ อบต.มีการประสานงานเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ ระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 70.58
บทบาทการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ อบต.ของท่านมีแผนงาน / โครงการด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพ ระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 61.76 อบต.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือเวชภัณฑ์ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 61.76
บทบาทการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ อบต.ของท่านมีการค้นหาปัญหาด้านสุขภาพ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนด้านสุขภาพ ระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 38.2
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค ปัญหาการจัดทำแผนงานการป้องกันควบคุมโรคระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 70.58 ปัญหาข้อมูลข่าวสารเรื่องสถานการณ์โรคในพื้นที่ระดับมากที่สุดและมาก ร้อยละ 44.1
Advice for future ศึกษาบทบาทการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ควรศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
สวัสดี