ว่าด้วยการปฏิบัติเมื่ออากาศยานเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการปฏิบัติเมื่ออากาศยานเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ในและนอกเขตสนามบินดอนเมือง พ.ศ.๒๕๔๖
“อากาศยาน” เครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ “อากาศยาน” เครื่องบิน และเฮลิคอปเตอร์ ของกองทัพอากาศ
“เขตสนามบินดอนเมือง” พื้นที่เขตปฏิบัติการบิน (Airside) และพื้นที่เขตสนับสนุนการบิน ของสนามบินดอนเมือง ทิศเหนือ จรด ถนนธูปะเตมีย์ ทิศใต้ จรด ถนนเทวฤทธิ์พันลึก ทิศตะวันออก จรด ถนนพหลโยธิน ทิศตะวันตก จรด ถนนวิภาวดีรังสิต
“นอกเขตสนามบินดอนเมือง” พื้นที่ที่อยู่โดยรอบนอกเขตสนามบินดอนเมือง ระยะรัศมี ๘ กิโลเมตร (๕ ไมล์) จากสนามบินดอนเมือง
“เขตการบินของสนามบินดอนเมือง” พื้นที่ที่อยู่โดยรอบสนามบินดอนเมือง ระยะรัศมีตั้งแต่ ๘ กิโลเมตร (๕ ไมล์) ถึง ๕๖ กิโลเมตร (๓๕ ไมล์) จากสนามบินดอนเมือง
อุบัติเหตุ คือ ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด อุบัติเหตุ คือ ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด โดยมิได้วางแผนมาก่อนและศักย์ที่จะทำให้บุคคล ได้รับบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย
อากาศยานอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอากาศยาน โดยมิใช่การกระทำด้วยเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลอื่น หรือมิใช่การกระทำของข้าศึก ทำให้อากาศยานได้รับความเสียหายหรือบุคคลบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุต้องเสียหาย ทั้งนี้เหตุเกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ติดเครื่องยนต์เพื่อตั้งใจจะทำการบิน
หลักการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ กองสอบสวน กองนิรภัยการบิน กรมจเรทหารอากาศ
อากาศยานอุบัติเหตุใน ทอ.ไทย จำแนกออกตามความรุนแรง อากาศยานอุบัติเหตุใน ทอ.ไทย จำแนกออกตามความรุนแรง การบาดเจ็บและความชำรุดเสียหายได้ - อากาศยานอุบัติเหตุใหญ่ - อากาศยานอุบัติเหตุย่อย - อากาศยานอุบัติการณ์
“ขั้นอุบัติเหตุใหญ่” หมายความว่า อุบัติเหตุที่ยังผลให้นักบิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บสาหัส หรืออากาศยานได้รับความชำรุดเสียหาย ขั้นจำหน่ายหรือเสียหายมาก
“ขั้นอุบัติเหตุย่อย” หมายความว่า อุบัติเหตุที่ยังผลให้นักบิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย หรืออากาศยานได้รับความชำรุดเสียหาย ขั้นเสียหายเล็กน้อย
“ขั้นอุบัติการณ์” หมายความว่า อุบัติเหตุที่ยังผลให้อากาศยาน ชำรุดเสียหายต่ำกว่าขั้นเสียหายเล็กน้อย แต่นักบินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
MISHAP MISHAP ใน ทอ.ไทย ยังมิได้กำหนดคำนี้ขึ้นใช้ในราชการ ปัจจุบัน ทอ.อม.ให้คำจำกัดความของ MISHAP ได้แก่ เหตุการณ์ หรือลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้วางแผน และมิปรารถนา ให้เกิดขึ้น ยังผลให้เกิดการตาย บาดเจ็บ ความเจ็บป่วยเนื่องจาก การงานหรือทำความเสียหาย หรือสูญเสียอุปกรณ์หรือทรัพย์สิน” MISHAP รวมอุบัติเหตุทุกขั้นใน ทอ.ไทย ทั้งอุบัติเหตุใหญ่, อุบัติเหตุย่อย และอุบัติการณ์
REMARK ACFT MSHP