บทที่ 2 หลักการแก้ปัญหา
ขั้นตอนการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การค้นหาคำตอบซึ่งคำตอบที่ได้ต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ การแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลมีขั้นตอนและใช้เวลาที่แตกต่างกัน ความรู้และประสบการณ์จะส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาอาจมีได้หลายวิธี บางปัญหามีวิธีแก้ที่ชัดเจน ขณะที่บางปัญหาจำเป็นต้องอาศัยการไตร่ตรอง อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง อันดับแรกจะต้องเข้าใจปัญหาก่อน จากนั้นจึงค้นหาวิธีที่ถูกต้อง และสุดท้ายต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วย
ขั้นตอนการแก้ปัญหาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การวางแผนในการแก้ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบและปรับปรุง
2.การวางแผนในการแก้ปัญหา 1.การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ทำความเข้าใจปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่า สิ่งที่ต้องการคืออะไร ข้อมูลที่กำหนดให้คืออะไร 2.การวางแผนในการแก้ปัญหา ควรวางแผนในการแก้ปัญหาด้วยการเลือกใช้เครื่องมือ และวิธีการเพื่อให้ได้ซึ่งคำตอบ ควรจะใช้ประสบการณ์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับปัญหา
4.การตรวจสอบและปรับปรุง 3.การดำเนินการแก้ปัญหา เมื่อได้วางแผนแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหา ซึ่งการดำเนินการแก้ปัญหาอาจทำให้เห็นแนวทางที่ดีกว่าวิธีที่คิดไว้ ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้ 4.การตรวจสอบและปรับปรุง เมื่อดำเนินการแก้ปัญหาแล้วจำเป็นต้องตรวจสอบว่าวิธีดังกล่าวนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามรายละเอียดของปัญหาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรกหรือไม่ ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ จะต้องปรับปรุงวิธีการให้ถูกต้อง
การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหา จากขั้นตอนการแก้ปัญหาทั้ง 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่สำคัญคือ การวางแผนในการแก้ปัญหา เพื่อให้การดำเนินการตามแนวทางในการแก้ปัญหาที่ได้วางไว้ทำได้โดยง่าย ต้องวางแผนให้เป็นขั้นตอน เป็นระเบียบ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยอาศัยการถ่ายทอดความคิดที่มีการกำหนดจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และลำดับก่อนหลังของขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ชัดเจน การถ่ายทอดความคิดเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และตรวจสอบได้
ตัวอย่าง การทำบะหมี่โดยใช้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เริ่มต้น 1 ตัวอย่าง การทำบะหมี่โดยใช้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เริ่มต้น 1. ต้มน้ำให้เดือด 2. ใส่บะหมี่ลงไปในน้ำเดือด 3.รอ2 นาที 4. ใส่เครื่องปรุง จบ
การถ่ายทอดความคิดในรูปของผังงาน มักถูกใช้เป็นขั้นตอนในการวางแผนในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ดังนั้นจึงได้สร้างสัญลักษณ์ในการเขียนผังงานไว้
ความหมาย สัญลักษณ์ การปฏิบัติงาน เริ่มต้นและจบ ชื่อเรียก ความหมาย เริ่มต้นและจบ จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของผังงาน การนำข้อมูล เข้า-ออกแบบทั่วไป จุดที่นำข้อมูลเข้าหรือออก การปฏิบัติงาน จุดที่มีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง การตัดสินใจ จุดที่จะต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ทิศทาง ทิศทางขั้นตอนการทำงาน
คำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม แสดงผลลัพธ์พื้นที่สามเหลี่ยม เริ่มต้น กำหนดค่าความยาวฐาน กำหนดค่าความสูง คำนวณพื้นที่สามเหลี่ยม แสดงผลลัพธ์พื้นที่สามเหลี่ยม จบ
การกำหนดค่าให้ตัวแปร การกำหนดค่าอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับตัวแปรสามารถทำได้ 3 วิธี คือ 1.การรับค่าจากภายนอก 2.การกำหนดค่าจากตัวแปรอื่น 3.การกำหนดค่าจากการคำนวณ
สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับตัวแปร คือ ใช้เพื่อนำค่าทางขวาของ ไปกำหนดให้กับตัวแปรทางด้านซ้ายของ
เช่น x 2 นำค่า2ไปใส่x A b x c นำผลลัพธ์ของ b x cไปใส่ใน A
อ้างอิง http://www.toawittaya.ac.th/2012/E-Learning/IT-Class3/lesson8/lesson8.HTM http://www.mwit.ac.th/~jeab/sheet40102/intro.htm http://www.thaigoodview.com/node/90727?page=0%2C1 http://www.kpsw.ac.th/vichit/media/weblogo/unit2_3.html