ประเภทของป่าไม้ ป่าไม้ในประเทศไทยมี 2 ประเภท คือ 1. ป่าดงดิบหรือป่าไม้ที่ไม่ผลัดใบ 2. ป่าผลัดใบ ซึ่งแต่ละประเภทแบ่งย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ ได้อีก โดยจำแนกตามระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล
1.ป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ป่าประเภทนี้มีประมาณ 30% ของเนื้อที่ป่าทั้งประเทศ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดไม่ผลัดใบคือ มีใบเขียวตลอดเวลา
ป่าดิบเขา ส่วนใหญ่อยู่บนเขาสูง ต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปี พบที่ภาคเหนือของประเทศไทย มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ดอกสวยงาม มอส เฟิร์น ไลเคน เกิดขึ้นอย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีพวกกล้วยไม้ และพืชพวกปรสิตอีกมากมาย
ป่าชายเลน หรือเรียกอีกชื่อหนี่งคือ ป่าไม้โกงกาง เป็นป่าไม้ประเภทไม่ผลัดใบ ขึ้นตามริมฝั่งทะเลในประเทศไทย พบป่าชายเลนที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้ ลักษณะพืชต้องทนต่อน้ำที่มีความเค็มและมีออกซิเจนน้อย
ป่าชายเลน
ป่าพรุ เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่พรุที่เต็มไปด้วยซากพืชที่กองทับถมกัน ในเวลาที่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี พันธุ์พืชในป่าพรุมีทั้งพืชล้มลุก ไม้เถา ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น
ป่าพรุ
2.ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)
ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าไม้ผลัดใบ ที่ต้นไม้ส่วนใหญ่พบทั้งในฤดูร้อน และผลิใบใหม่ในฤดูฝนขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศไทย มีพันธุ์ไม้มีค่าหลายชนิด เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า
ป่าเต็งรัง ชาวบ้านเรียกว่า ป่าแพะ เพราะมักขึ้นบนดินที่เป็นดินลูกรังสีแดง คล้ายขี้แพะ เป็นป่าโปร่งพบมากตาม ภาคอีสานของไทย บริเวณพื้นที่ป่า เป็นทุ่งหญ้าเหมาะสำหรับเป็นอาหาร ของสัตว์ป่า พืชส่วนใหญ่เป็นตระกูลยาง เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง เมล็ดของพันธุ์พืชพวกนี้ มีปีกช่วยพยุงให้กระจายพันธุ์ ไปไกลจากต้นได้
ที่มา : อภิเษก ปั้นสุวรรณ ที่มา : อภิเษก ปั้นสุวรรณ.เอกสารประกอบการสอนวิชาการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.2541. http://www.environnet.in.th/kids/evdb/forest/forest02.html http://www.se-ed.net/savebird/Forest.htm#4 http://www.dnp.go.th/MFCD14/index_link/varieties/dataforestK.G.htm