กลุ่มที่ 3 แนวทางในการบูรณาการ การปราบปรามตามกฎหมายฟอกเงิน การตั้งรูปคดีเกี่ยวกับกฎหมายฟอกเงิน
แนวทางในการบูรณาการตามกฎหมายฟอกเงิน เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมและพนักงานสอบสวน ร่วมกันรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้มากที่สุด ต้องตรวจสอบว่าเป็นความผิดมูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน รีบประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือสำนักงานป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และพนักงานอัยการ
การตั้งรูปคดีเกี่ยวกับกฎหมายฟอกเงิน กรณีเจ้าพนักงานตำรวจตั้งจุดตรวจค้น พบเงินสดในรถยนต์จำนวนมากผิดปกติ ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใดๆเลย เจ้าพนักงานตำรวจต้องดำเนินการดังนี้ สอบถามผู้ที่มากับรถหรือผู้ครอบครองทรัพย์ถึงที่มาของเงิน หากมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจะได้ทรัพย์มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน 1.1 สอบถามสถานภาพบุคคล ที่มาของทรัพย์ และขอตรวจยึด หากผู้ครอบครองทรัพย์ให้ความยินยอมตรวจยึด ก็จัดทำบันทึกตรวจยึด นำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการ หากผู้ครอบครองทรัพย์ไม่ยินยอมให้ยึด ให้บันทึกสถานภาพบุคคลผู้ครอบครองทรัพย์ และถ่ายภาพเป็นหลักฐานพร้อมบันทึกเหตุและพฤติการณ์ถึงเหตุสงสัยตามสมควรนั้นส่งให้พนักงานสอบสวน 1.2 เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับบันทึกตามข้อ 1.1 แล้วพงส.ลงประจำวันเป็นหลักฐาน รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ และรายงาน ปปง.ทราบแล้วเริ่มทำการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน หากมีพยานหลักฐานตามสมควรเชื่อว่ามีผู้กระทำความผิดก็ออกหมายเรียกมาเพื่อแจ้งสิทธิของผู้ต้องหา แจ้งข้อกล่าวหา แจ้งข้อหา หากไม่มาให้พงส.รวบรวมพยานหลักฐานยื่นคำร้องขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหาเพื่อดำเนินการต่อไป
ปัญหาอุปสรรค เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีประสบการณ์ในการดำเนินคดีตามพรบ.ฟอกเงิน ขาดความรู้ในกฎหมายฟอกเงิน ขาดเทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัย ขาดตัวอย่างสำนวนการสืบสวน,สอบสวน ในคดีความผิดฐานฟอกเงิน ขาดงบประมาณในการสืบสวน,สอบสวน บุคลากรในการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะ เห็นควรจัดอบรมพนักงานสืบสวนสอบสวนให้มีความรู้กฎหมายฟอกเงินและการดำเนินคดี เห็นควรจัดตั้งชุดปฏิบัติการเกี่ยวกับปราบปราม สอบสวนคดีฟอกเงิน การประสานงานกับพนักงาน ปปง.