งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม
ธนรัตน์ ทั่งทอง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้

2 การค้น หลักตามรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 2 กรณี 1. การค้นตัวบุคคล 2. การตรวจค้นสถานที่ การค้นตัวบุคคล รัฐธรรมนูญ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย” และวรรคสี่ “การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ”

3 ตาม ป.วิ.อ. มี 3 กรณี 1. การค้นตัวบุคคลในที่สาธารณสถาน ตามมาตรา 93 - ห้ามมิให้ทำการค้นตัวบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

4 ข้อสังเกต จากบทบัญญัติ มาตรา 93 แสดงว่าการค้นบุคคลในที่สาธารณสถาน ไม่ต้องมีหมายค้น และต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด ฯลฯ หรือเมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ก็จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เช่น พบแผ่นซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ฎ.6894/2549 แม้แผ่นซีดีนั้นจะอยู่ในตู้ภายในร้าน ซึ่งเป็นสาธารณสถานที่ไม่ได้อยู่ที่ตัวของผู้ที่ถูกค้นก็ถือว่าอยู่ในความครอบครองของจำเลย การค้นจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 93

5 - ก่อนเกิดเหตุ ส.ต.อ. พ. พบเห็นจำเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจำเลยจะกระทำความผิด และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้ ส.ต.อ. พ. จะไม่มีหมายจับ แต่ได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบแล้ว ส.ต.อ. พ. จึงมีอำนาจตรวจค้นและจับจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78(1) (2) ,93 การที่จำเลยใช้มือกดอาวุธปืนไม่ให้ ส.ต.อ. พ. ดึงออกมาจากเอวจำเลยเพื่อยึดเป็นของกลาง จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง (ฎ.9212/2539)

6 - ตำรวจค้นจำเลยกับพวกขณะยืนซุบซิบกันหลังสถานีรถไฟ โดยตำรวจติดตามคนร้ายคดีปล้นทรัพย์หนีข้ามท้องที่มา และได้ร่วมกับตำรวจในท้องที่ทำการติดตาม และมีเหตุสงสัยอันควรที่จะทำการค้น คือ สงสัยว่าจะมีอาวุธปืนและของผิดกฎหมาย เช่นนี้ ค้นตัวจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีหมายค้น (ฎ.1082/2507) - วัยรุ่นเดินอยู่ในทางสาธารณะ คนหนึ่งเป็นผู้ต้องหาที่มีผู้แจ้งว่าจะไปทำความผิด เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าจะทำความผิด และมีอาวุธที่จะนำไปใช้ทำผิด ตำรวจค้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 จำเลยขัดขวางโดยยิงตำรวจเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 140,289,80 ลงโทษตาม มาตรา 289,80 ซึ่งเป็นบทหนัก (ฎ.1152/2521)

7 - ห้องโถงในสถานการค้าประเวณีผิดกฎหมาย เวลาแขกมาเที่ยว เป็นสาธารณสถานซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ พลตำรวจมีอำนาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 จำเลยขัดขวางเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 140 พลตำรวจจับได้ (ฎ.883/2520 ประชุมใหญ่) ข้อสังเกต ตามฎีกาข้างต้นนี้ ถือว่าเป็นสาธารณสถานเฉพาะเวลาที่เปิด ให้แขกเข้าไปใช้บริการ ในช่วงเวลานี้จึงไม่เป็นที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจจึงค้นตัวจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น โจทก์ใช้ห้องพักในบ้านเกิดเหตุเป็นที่สำหรับให้หญิงค้าประเวณีกับบุคคลทั่วไป คืนเกิดเหตุ นางสาว น. ลูกจ้างของโจทก์ได้ทำการค้าประเวณีในห้องพักนั้นด้วย ห้องพักดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสาธารณสถาน (ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น)

8 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปในห้องพักดังกล่าว พบนางสาว น. อยู่กับ นาย ส. เพียงสองต่อสอง นาย ส. บอกว่าได้ร่วมประเวณีกับนางสาว น. แล้ว เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้พบ นางสาว น. ในลักษณะซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยว่านางสาว น. เพิ่งได้กระทำผิดฐานค้าประเวณีมาแล้วสด ๆ อันถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีอำนาจเข้าไปจับกุมนางสาว น. ได้โดยไม่ต้องมี หมายค้น และหมายจับ (ฎ.69/2535)

9 ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นตัวจำเลยนั้น จำเลยกำลังขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลย ซึ่งมีลูกค้ากำลังนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวที่ร้านของจำเลยดังนี้ ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลยจึงหาใช่เป็นที่รโหฐานไม่ แต่เป็นที่สาธารณสถาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 และเมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในกระเป๋าคาดเอว ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลย การกระทำของจำเลย เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) การตรวจค้นและจับกุมจึงชอบด้วยกฎหมาย (ฎ.3751/2551)

10 - จำเลยนั่งโทรศัพท์อยู่บนถนนไม่ได้อยู่หลังซอยที่อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำ ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีท่าทางพิรุธ การที่ตำรวจอ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงขอตรวจค้นโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงสงสัย เป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียวถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิโต้แย้งและป้องกันสิทธิของตนได้ (ฎ.8722/2555)

11 ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาอื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นสาธารณสถาน
- ที่เกิดเหตุเป็นร้านค้า เป็นสถานที่ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถาน (ฎ.1362/2508) - ที่เกิดเหตุเป็นร้านกาแฟ จึงเป็นสาธารณสถาน (ฎ.1732/2516) - ถนนซอยในที่ดินเอกชนซึ่งแบ่งให้คนอื่นปลูกบ้าน ประชาชนชอบที่จะเข้าออกติดต่อไปมาหากันได้ เป็นสาธารณสถาน (ฎ.1908/2518) 2. การค้นตัวบุคคลซึ่งอยู่ในที่รโหฐาน การค้นตัวบุคคลตามข้อนี้ สืบเนื่องมาจาก การค้นในที่รโหฐาน และมีคนในที่นั้นขัดขวางการค้น โดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นได้เอาสิ่งของที่ต้องการซุกซ่อนในร่างกาย เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวผู้นั้นได้ ถ้าพบสิ่งของนั้นก็ยึดไว้เป็นพยานหลักฐานได้ มาตรา 100 วรรคสอง

12 3. การค้นตัวผู้ต้องหา เป็นกรณีที่มีการจับตัวผู้ต้องหามาแล้ว เจ้าพนักงานผู้จับหรือผู้รับตัวผู้จับ มีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ มาตรา 85 วรรคหนึ่ง ข้อสังเกต การค้นตัวบุคคลนั้น ต้องกระทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น มาตรา 85 วรรคสอง

13 การตรวจค้นสถานที่ (เน้นการค้นในที่รโหฐาน)
หลักตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน” วรรคสอง “บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข” วรรคสาม “การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถาน หรือในที่รโหฐาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่ง หรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ”

14 หลักตาม ป.วิ.อ. มาตรา 57 วรรคหนึ่ง
ค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาล 1. เหตุที่จะออกหมายค้น มาตรา 69 (1) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา (2) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำความผิด (3) เพื่อพบและช่วยบุคคล ซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษา หรือตามคำสั่งของศาล ในกรณีที่พบและยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว

15 แนวฎีกาเกี่ยวกับหมายค้น
- หมายค้นที่ระบุว่าเป็นการค้นบ้านจำเลย เนื่องจากมียาเสพติดให้โทษ ซุกซ่อนอยู่แม้จะระบุเลขที่บ้านไม่ถูกต้อง ก็เป็นหมายค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสี่นำสืบยอมรับว่าถูกจับกุมในห้องเช่าที่เกิดเหตุ และตำรวจได้เมทแอมเฟตามีนเป็นของกลางจริง แม้จะปรากฏว่าห้องเช่าดังกล่าวเลขที่จริง ๆ คือ 82/16 ไม่ใช่เลขที่ 105 ตามที่ระบุในหมายค้นแต่ตามหมายค้นดังกล่าวได้ระบุเหตุที่ขอออกหมายค้นว่าการสืบสวนทราบว่าที่บ้านจำเลยที่ 1 เลขที่ 105 ห้องเช่ามียาเสพติดให้โทษซุกซ่อนอยู่ในบ้านหรือบริเวณบ้าน จึงขอให้ศาลออกหมายค้นโดยระบุชื่อและนามสกุลจำเลยที่ 1 ถูกต้อง ร.ต.ท. บ. ผู้จับซึ่งขอออกหมายค้นเบิกความ

16 ระบุว่าที่ระบุเลขที่ในหมายค้นผิดไปดังกล่าว เพราะสายลับระบุเช่นนั้น การระบุเลขบ้านผิดไม่ทำให้การตรวจค้นจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวเป็นการ ไม่ชอบ การตรวจค้นโดยมีหมายค้นกรณีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว (ฎ.3479/2548) ฎ.1328/2544 และ ฎ.6942/2551

17 - กรณีมีพฤติการณ์น่าสงสัย เป็นเหตุให้ออกหมายค้น
มีผู้ร้องเรียนว่าจำเลยมีพฤติการณ์น่าสงสัย โดยตอนกลางวันจะปิดบ้านและเก็บตัวอยู่ภายในบ้าน ตอนกลางคืนจึงออกจากบ้าน ไม่ยุ่งกับเพื่อนบ้าน และไม่ปรากฏว่าประกอบอาชีพอะไร สงสัยว่าภายในบ้านจะมีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่ ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นเหตุให้ออกหมายค้นได้ (ฎ.5479/2536) - ขณะตรวจค้นตามหมายค้น พบผู้กระทำผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานมีอำนาจจับได้ โดยไม่ต้องออกหมายจับอีก

18 การค้นในคดีนี้เป็นการค้นเพื่อพบและยึดยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากสายลับ การออกหมายค้นจึงกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 69 (2) และไม่จำต้องออกหมายจับบุคคลตาม มาตรา 70 เมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าจำเลยมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจจับจำเลยได้ตาม มาตรา 78 (1) (ฎ.360/2542)

19 2. การค้นในที่รโหฐาน มาตรา 92
หลักกฎหมาย ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งศาล เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียง หรือมีพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐาน นั้น (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน (3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐาน นั้น

20 (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่า สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำความผิด ได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้าย หรือทำลายเสียก่อน (5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78

21 แนวฎีกาเกี่ยวกับมาตรานี้
- เมื่อเจ้าพนักงานไปทำการค้นตามหมายค้นที่ศาลออกให้ตามคำขอของเจ้าพนักงานแล้ว ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ถือว่ากระบวนการต่าง ๆ ในการค้นได้เสร็จสิ้นยุติไปแล้ว เจ้าของบ้านที่ถูกค้นจะขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้นไม่ได้ หากเห็นว่าเป็นการตรวจค้นโดยไม่มีพยานหลักฐานก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก (ฎ.270/2543) ปัญหาที่น่าคิดว่า รถยนต์ไม่ใช่ที่ที่ใคร ๆ จะเข้าไปได้ จะเป็นที่รโหฐานที่ต้องห้ามมิให้ค้นโดยไม่มีหมายค้น ใช่หรือไม่ มีคดีเกิดขึ้นแต่ไม่ถึงศาลฎีกาประเด็นมีว่าเจ้าพนักงานตำรวจตั้งด่านตรวจค้นรถยนต์ มีข้อโต้เถียงกันมาว่าเป็นการค้นที่มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีหมายค้น เนื่องจากรถยนต์เป็นที่รโหฐาน

22 จะค้นโดยไม่มีหมายค้นไม่ได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานตำรวจสามารถค้นรถยนต์ได้ โดยให้เหตุผลว่า เมื่อกฎหมายใช้คำว่า ที่รโหฐาน การตีความกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรต้องแปลว่า รโหฐาน คือ สถานที่หรือที่ตั้ง ซึ่งเคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่รถยนต์เคลื่อนที่ได้ จึงไม่ใช่ที่รโหฐาน

23 ถ้าเป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีคำพิพากษาในคดีระหว่าง Carrel V U. S
ถ้าเป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีคำพิพากษาในคดีระหว่าง Carrel V U.S.267 u.s. 132, 1925 วางหลักไว้ว่าโดยหลักการทั่ว ๆ ไป การค้น รถยนต์ไม่ใช่หลักเรื่องที่อยู่อาศัย อันมีหลักอยู่ว่าการค้นที่อยู่อาศัยโดยไม่มีหมายค้นทำไม่ได้ หลักนี้ ถ้อยคำภาษาอังกฤษใช้คำว่า “A man in a king in his castle” แปลว่า บุคคลเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในบ้านของเขา กฎหมายอเมริกันเคารพสิทธิในเคหสถานที่อยู่อาศัย แต่รถยนต์ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย รถยนต์เคลื่อนที่ไปมาได้โดยง่าย สามารถนำพาพยานหลักฐานหนีไปได้ง่าย จึงต้องค้นได้เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานไว้ก่อน ต่างกับที่อยู่อาศัย ซึ่งอยู่กับที่ไปไหนไม่ได้ กรณีที่อยู่อาศัยถ้าไม่มีเหตุยกเว้นหรือจำเป็นเร่งด่วน ก็ต้องไปขอหมายค้นจากศาล

24 ข้อยกเว้น การค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาล ตามมาตรา 92
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐานหรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐาน นั้น (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน ตัวอย่าง - จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป. จับจำเลยได้ขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า จ่าสิบตำรวจ ส.และร้อยตำรวจเอก ป. จึงมีอำนาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีอำนาจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 , 81 ประกอบมาตรา 92 (2) และ 96 (2) (ฎ.4461/2540)

25 - เจ้าพนักงานตำรวจซุ่มดูอยู่ห่างจากห้องที่เกิดเหตุประมาณ 8 เมตร เห็นจำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่สายลับ จึงเข้าจับกุมจำเลย เมื่อตรวจค้นในห้องที่เกิดเหตุก็พบเมทแอมเฟตามีน อีก 8 เม็ด การตรวจค้นจับกุมได้กระทำต่อเนื่องกัน เมื่อพบจำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 อันเป็นความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 เจ้าพนักงานจึงมีอำนาจค้น และจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น และหมายจับ ตามมาตรา 78 (1) , 92 (2) (ฎ.2848/2547) - ก่อนทำการค้น เจ้าพนักงานตำรวจเห็นจำเลยโยนสิ่งของออกไปนอกหน้าต่าง เมื่อตรวจสอบดูพบว่าเป็นเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานพบจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง อันเป็นความผิดซึ่งหน้า และได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1), 92 (2), (ฎ.1164/2546)

26 (3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำผิดความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไป หรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐาน นั้น

27 ตัวอย่าง นายแดงเป็นราษฎรธรรมดาวิ่งไล่ตามจับนายดำมาติด ๆ พร้อมกับร้องว่าช่วยด้วย ขโมย สิบตำรวจตรีขาวพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว จึงวิ่งไล่ตามจับนายดำไปทันที หากนายดำหลบหนีเข้าไปในบ้านของนายเหลือง สิบตำรวจตรีขาวเข้าไปในบ้านนั้นโดยทันทีได้ ถือเป็นการค้นบ้านนั้น โดยชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 92(3) เพราะนายดำได้กระทำความผิดซึ่งหน้าในประเภทที่ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้ามีคนร้องบอกให้ไล่จับดั่งผู้กระทำความผิดโดยมีเสียงร้องเอะอะ เพราะนายดำได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ อาญา มาตรา 80 วรรคสอง (1) ขณะถูกไล่จับได้หนีเข้าไปในบ้าน

28 ของนายเหลือง หรือถึงแม้ว่าสิบตำรวจตรีขาวจะไม่ได้เห็นนายดำเข้าไปในบ้านหลังนั้นด้วยตาตนเองก็ตาม แต่เชื่อมั่นว่าต้องไปหลบอยู่ในบ้านหลังนั้นแน่นอน เพราะเมื่อเลี้ยวมุมถนนนายดำก็หายตัวไป และมีบ้านหลังนั้นอยู่เพียงหลังเดียว ในกรณีนี้สิบตำรวจตรีขาวก็เข้าไปในบ้านหลังนั้นเพื่อจับนายดำได้เพราะมาตรา 92 (3) รวมถึงกรณีมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนอยู่ในที่รโหฐานนั้น ตัวอย่าง หากข้อเท็จจริงเดียวกันแต่ตัดสิบตำรวจตรีขาวออกไป เป็นเรื่องราษฎรด้วยกันเองแล้วไล่จับกัน ปัญหาคือนายแดงราษฎรเข้าไปจับนายดำในบ้านของนายเหลืองได้หรือไม่ จะเห็นว่าการเข้าไปจับในที่รโหฐานเป็นการค้นอย่างหนึ่ง การค้นในที่รโหฐานตามมาตรา 92 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเท่านั้นเป็นผู้ค้น นายแดงราษฎรจึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับนายดำในบ้านของนายเหลือง

29 (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่า สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำความผิด ได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน ตัวอย่าง กรณีที่ถือว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ทั้งมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน (ฎ.1605/2544)

30 ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ท
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ท. พร้อมเมทแอมเฟตามีน จำนวน 95 เม็ด ในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทำให้เนิ่นช้า กว่าจะออกหมายค้นมาได้ เมทแอมเฟตามีนอาจถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) (ฎ.7387/2543) (5) เมื่อที่รโหฐานนั้น ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78

31 คำว่า “เจ้าบ้าน” ตามบทบัญญัติ ป. วิ. อ
คำว่า “เจ้าบ้าน” ตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 92 (5) หมายความถึง ผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้าน และคู่สมรสเท่านั้น (ฎ.1035/2536) เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้านและปกครองผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น หาได้รวมถึงผู้อยู่ในบ้านทุกคนไม่ กรณีเจ้าของที่รโหฐาน ยินยอมในการค้น แม้จะไม่มีหมายค้นถือว่าการค้นชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติว่า “การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง ...จะกระทำมิได้”

32 การค้นบ้านที่เกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจได้แสดงบัตรประจำตัว เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แก่ พ. เจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย และได้รับความยินยอมแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ขู่เข็ญหรือหลอกลวงให้ พ.ให้ความยินยอมในการค้น แม้การค้นดังกล่าวจะทำโดยไม่มีหมายค้น ก็หาเป็นการค้นที่มิชอบอย่างใดไม่ ประกอบกับก่อนทำการค้นเจ้าพนักงานตำรวจเห็นจำเลยโยนสิ่งของออกไปข้างนอกหน้าต่าง เมื่อตรวจสอบดูพบว่าเป็นเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดซึ่งหน้า และได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจจับจำเลยโดยไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) , 92 (2) (ฎ.1164/2546)และ ฎ.1328/2544

33 วิธีการค้นในที่รโหฐาน มาตรา 94 , 95 ให้เจ้าพนักงานที่ค้น สั่งให้เจ้าของหรือผู้ที่อยู่หรือรักษาสถานที่ซึ่งจะค้น ให้ยอมให้เข้าทำการค้น เจ้าพนักงานผู้ค้นต้องแสดงหมายค้น ถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นให้แสดงนามและตำแหน่ง ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลัง ในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้านหน้าต่าง รั้ว หรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันนั้นได้ (ฎ.6403/2545) เวลาในการค้นที่รโหฐาน มาตรา 96 การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ ตามมาตรา 96 (1) – (3) ข้อสังเกต กรณีตาม (3) ได้เปลี่ยนผู้มีอำนาจให้ค้นจากตำรวจและ ฝ่ายปกครองเป็นศาล ในการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. เมื่อปี 2547

34 ตัวอย่างการค้นตาม มาตรา 96 (1)
- ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้านของ ส.เวลา นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลาดังกล่าว ซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จ จึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไปในเวลากลางคืนได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 96 (1) (ฏ.6403/2545) ตัวอย่างการค้น ซึ่งถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตาม มาตรา 96 (2) - กำนันเห็นเจ้าของบ้านกับพวกกำลังต้มกลั่นสุราเถื่อนอยู่ในบ้านในเวลากลางคืน ถ้าไม่จับในขณะกระทำผิดเช่นนั้น ก็จะไม่ประจักษ์แจ้งว่าผู้นั้นกระทำความผิด และพยานหลักฐานของกลางก็จะจับไม่ได้หรือไม่ครบถ้วนเช่นนี้นับว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 (2) กำนันกับราษฎรจึงมีอำนาจเข้าไปจับกุมได้ ไม่ผิดฐานบุกรุก (ฎ.1087/2492)

35 - จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป
- จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป. จับจำเลยขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.ผู้ล่อซื้อ ถือเป็นความผิดซึ่งหน้า ขณะนั้นธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จำเลย และจำเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนำหมายจับและหมายค้นมาได้จำเลยอาจหลบหนี และพยานหลักฐานอาจสูญหาย จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตำรวจ ส.และร้อยตำรวจเอก ป. จึงมีอำนาจ เข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานได้ในเวลากลางคืนโดยไม่ต้อง มีหมายค้น และมีอำนาจจับจำเลยโดยไม่ต้องมีหมายจับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 , 81 ประกอบมาตรา 92 (2) และ 96 (2) (ฎ.4461/2540) - ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนัน เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ แต่เห็นได้ว่าการเล่นการพนัน เป็นความผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตรวจค้นในเวลากลางคืนได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 92 (2) ประกอบมาตรา 96 (2) (ฏ.4950/2540)

36 ตามฎีกาทั้งสามเรื่อง สรุปเป็นหลักกฎหมายได้ว่า
1. เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นในที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น เพราะพบความผิดซึ่งหน้า ซึ่งกำลังกระทำลงในที่รโหฐาน ตาม มาตรา 92 (2) 2. เจ้าพนักงานตรวจค้นที่รโหฐานในเวลากลางคืนได้ เพราะเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง มิฉะนั้นผู้กระทำความผิดอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญหาย ตามมาตรา 96 (2) 3. เจ้าพนักงานจับผู้กระทำความผิดในที่รโหฐานตาม มาตรา 81 (1) ได้ เพราะเข้าหลักเกณฑ์ที่สามารถเข้าค้นในที่รโหฐานเวลากลางคืนได้ และสามารถจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เพราะเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม มาตรา 78 (1) , 80

37 ตัวอย่างการค้น ที่ไม่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม (2)
ตัวอย่างการค้น ที่ไม่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม (2) - จำเลยมีและดื่มสุราเถื่อนเพียงเล็กน้อย พลตำรวจจับของกลางได้แล้ว จำเลยวิ่งหลบหนีขึ้นไปบนเรือน พลตำรวจรู้ว่าเป็นเรือนของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยจะซุกซ่อนหรือหลบหนีไปไหน ดังนี้ ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งที่จะเข้าจับกุมในบ้านเรือนจำเลยเวลากลางคืนได้ การจะเข้าค้นหรือจับในที่รโหฐานเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายจับนั้น ก็แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่งเท่านั้น (ฎ.675/2483) - จำเลยกระทำผิดซึ่งหน้าในความผิดลหุโทษในเวลากลางคืนแล้วหลบหนีเข้าบ้านของจำเลย ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้ไล่จับรู้จักอย่างดีแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจะหลบหนีต่อไปอีก ไม่ถือเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 (2) เจ้าพนักงานตำรวจผู้ไล่จับจึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับกุมจำเลยในที่รโหฐานได้ การที่จำเลยเงื้อมีดจะฟันตำรวจที่เข้ามาจับเป็นการป้องกันสิทธิของจำเลยให้พ้นจากภยันตรายพอสมควรแก่เหตุ (ฎ.187/2507) และดู ฎ.706/2516 ทำนองเดียวกัน

38 กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 96 (2)
อ. หยุด แสงอุทัย ให้ความหมายว่า - ถ้าไม่ทำการค้นในเวลากลางคืน จะเกิดภยันตรายแก่ชีวิต หรือร่างกายของบุคคลที่ต้องการค้นให้พบตัว หรือบุคคลนั้น อาจจะหลบหนี หรือพยานหลักฐานอาจจะถูกทำลาย - คดีนั้นจะต้องมีลักษณะร้ายแรงไม่ใช่คดีเล็กน้อย

39 การค้นในที่รโหฐาน จะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่ต้องการเท่านั้น เว้นแต่ เหตุตามมาตรา 98
1. กรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะเป็นพยานหลักฐานได้ 2. เจ้าพนักงานมีอำนาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นในที่ค้นได้เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือกรณีความผิดซึ่งหน้า

40 ข้อสอบเนติบัณฑิตสมัย 65
ข้อ 6.ร้อยตำรวจโทธรรมสืบทราบว่านายแดงซึ่งศาลได้ออกหมายจับในคดีชิงทรัพย์หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านเลขที่ 22 ของนายดำน้องชายนายแดง จึงยื่นคำร้องต่อศาลขอออกหมายค้นบ้านหลังดังกล่าว ศาลออกหมายค้นให้ตามคำร้องขอ เมื่อร้อยตำรวจโทธรรมและสิบตำรวจตรีพรกับพวกไปถึงบ้านนายดำ พบว่านายแดงหลบหนีเข้าไปในบ้านเลขที่ 23 ซึ่งตามทะเบียนบ้านมีนายแดงเป็นเจ้าบ้าน ร้อยตำรวจโทธรรมได้แสดงตัวแต่นายแดงได้ปิดประตูไม่ยอมให้เข้าบ้าน ร้อยตำรวจโทธรรมและสิบตำรวจตรีพรกับพวกตามเข้าไปจับนายแดง นายแดงไม่ยอมเปิดประตูอ้างว่าจะมอบตัวในวันหลัง ร้อยตำรวจโทธรรมและสิบตำรวจตรีพรกับพวกกระแทกประตูจนเปิดออกแล้วเข้าไปจับกุมนายแดงไว้ได้ ส่วนสิบตำรวจตรีพรเห็นนายเหลืองบุตรนายแดงกำลังเสพเมทแอมเฟตามีนอยู่ในบ้านดังกล่าว จึงเข้าจับกุมนำส่งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบให้วินิจฉัยว่า การตรวจค้นและจับกุมนายแดงและนายเหลืองชอบหรือไม่

41 ธงคำตอบ การจับในที่รโหฐานนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81 บัญญัติว่า ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอันนี้ว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ส่วนการค้นในที่รโหฐานนั้นตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (5) หากผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นและจับได้ การจับนายแดงย่อมกระทำได้ เนื่องจากนายแดงผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และมีหมายจับนายแดงตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ในการจับปรากฏว่านายแดงหลบหนีเข้าไปในบ้านแล้วปิดประตูไม่ยอมให้ร้อยตำรวจโทธรรมกับพวกเข้าไปจับ ร้อยตำรวจโทธรรมกับพวกย่อมมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไปในบ้านนั้น การที่ร้อยตำรวจโทธรรมและสิบตำรวจตรีพรกับพวกกระแทกประตูบ้านจนเปิดออกแล้วเข้าไปจับนายแดงไว้ได้ นับว่าเป็นกรณีจำเป็นที่ร้อยตำรวจโทธรรมเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจค้นมี

42 อำนาจกระทำได้ตามมาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการใช้กำลังอันเหมาะสมตามพฤติการณ์แห่งเรื่อง (คำพิพากษาฎีกาที่ 1035/2536, 6403/2545) การตรวจค้นบ้านและจับกุม นายแดงจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อขณะตรวจค้นสิบตำรวจตรีพรเห็นนายเหลืองกำลังเสพเมทแอมเฟตามีนในบ้านของนายแดงซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า สิบตำรวจตรีพรย่อมมีอำนาจจับกุมนายเหลืองได้ตามมาตรา 98 (2) การตรวจค้นและจับกุมนายเหลืองจึงชอบแล้วเช่นกัน

43 การค้นในที่รโหฐานต้องค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคล ในครอบครัว มาตรา 102 วรรคหนึ่ง
- การค้นในที่รโหฐาน ต้องค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคล ในครอบครัว จึงจะเป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย บุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นบุตรเจ้าของบ้าน แม้จะยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าบุคคลนั้นเข้าใจสาระสำคัญ ของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอ ก็เป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย (ฏ.1455/2544) - เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุหากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุ และโดยไม่ทำลายกุญแจก็ไม่อาจทำได้ทั้งการตรวจของจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรตำรวจได้กระทำต่อหน้าพยานสองคน การตรวจค้นของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 92 , 94 และ 102 จำเลยจึงไม่มีความผิด ตามปอ. มาตรา 157 , 358 , 362, 364 , 365(2) (ฎ.4791/2528)

44 - การค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวซึ่งตาบอดทั้งสองข้างและหูหนวก และบุคคลอื่นอีก 1 คน เป็นการค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าพนักงานตำรวจค้นบ้านโจทก์ต่อหน้าคนในบ้านคนหนึ่งซึ่งตาบอดทั้งสองข้างและหูหนวก กับบุคคลอีกคนหนึ่งที่ได้เชิญมาเป็นพยานในการตรวจค้น เมื่อไม่ได้ความว่า เจ้าพนักงานตำรวจสามารถค้นต่อหน้าคนอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วได้ จึงเป็นกรณี ที่เจ้าพนักงานตำรวจกระทำเท่าที่สามารถจะกระทำได้ และไม่อาจหาบุคคลอื่นใด มาเป็นพยานในการค้นมากไปกว่านั้น ถือได้ว่าเป็นการค้นที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 102 (ฏ.395/2519) - กรณีเชิญบุคคลอื่นมาเป็นพยาน ต้องเชิญมาขณะตรวจค้นพบของกลาง ถ้าเชิญมาภายหลังตรวจค้นแล้ว เป็นการไม่ชอบ (ฎ.4793/2549) - การค้นและการจับจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่มีผลกระทบถึง การสอบสวนและอำนาจฟ้องของโจทก์ (ฎ.1493/2550)

45 คำถาม พันตำรวจโทเคร่ง สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่ง สืบทราบว่าบ้านหลังหนึ่งมีสิ่งของที่ได้มาจากการปล้นทรัพย์ซุกซ่อนอยู่จึงออกหมายค้นระบุให้จ่าสิบตำรวจพิทักษ์ไปตรวจค้น แต่ก่อนที่จ่าสิบตำรวจพิทักษ์กับพวกจะเข้าตรวจค้นนายหนึ่งได้หลบหนีและไม่มีคนของนายหนึ่งอยู่ในบ้าน จ่าสิบตำรวจพิทักษ์จึงเชิญคนซึ่งอยู่ใกล้บ้านสองคนมาเป็นพยานในการตรวจค้น ระหว่างที่ตรวจค้นนั้น จ่าสิบตำรวจพิทักษ์พบนายสองคนร้ายคดีฆ่าผู้อื่นหลบซ่อนอยู่ในบ้าน จ่าสิบตำรวจพิทักษ์จึงเข้าจับกุมนายสองส่งพันตำรวจโทเคร่ง ถ้านายหนึ่งอ้างว่า การค้นไม่ได้ทำต่อหน้านายหนึ่งหรือบุคคลในครอบครัวของนายหนึ่งเป็นการค้นที่ไม่ชอบ ส่วนนายสองอ้างว่าจ่าสิบตำรวจพิทักษ์จับโดยไม่ชอบ ดังนี้ข้ออ้างของนายหนึ่งและนายสองฟังขึ้นหรือไม่

46 คำตอบ เมื่อมีเหตุอันเชื่อได้ว่ามีสิ่งของที่ได้มาจากการปล้นทรัพย์ซุกซ่อนอยู่ในบ้านของนายหนึ่ง และการตรวจค้นตามหมายค้นต่อหน้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองก็ไม่อาจทำได้เพราะนายหนึ่งผู้ครอบครองสถานที่หลบหนีไปเสียก่อนและไม่มีบุคคลในครอบครัวของนายหนึ่งอยู่ จ่าสิบตำรวจพิทักษ์กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจค้นย่อมขอร้องให้บุคคลอื่นอย่างน้อย 2 คนมาเป็นพยานในการตรวจค้นได้ การตรวจค้นของจ่าสิบตำรวจพิทักษ์จึงชอบด้วยมาตรา 92,102 วรรคหนึ่ง แล้ว ข้ออ้างของนายหนึ่งฟังไม่ขึ้น ส่วนการจับนายสองเป็นการจับในที่รโหฐานในขณะค้นเมื่อจ่าสิบตำรวจพิทักษ์ไม่มีหมายจับอีกต่างหากตามมาตรา 98 (2) จ่าสิบตำรวจพิทักษ์จึงไม่มีอำนาจจับนายสองได้ ข้ออ้างของนายสองฟังขึ้น


ดาวน์โหลด ppt สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google