การใช้คำสั่งเงื่อนไขใน exel ง30219 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
รูปแบบของคำสั่งเงื่อนไขใน exel =if (เงื่อนไข, ค่าเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง, ค่าเมื่อ เงื่อนไขเป็นเท็จ) เมื่อ เงื่อนไขคือสิ่งที่ต้องการทดสอบ ค่าเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง คือ ค่าที่ต้องการแสดง เมื่อ เงื่อนไขเป็นจริง หากเป็นค่าคงที่ต้องอยู่ใน เครื่องหมายคำพูด สามารถอ้างอิงที่เซลได้ด้วย ค่าเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ คือค่าที่แสดงเมื่อเป็นเท็จ
ตัวอย่างการใช้ if แบบง่าย ใส่คำสั่งต่อไปนี้ลงในเซล B1 =if(A1>=50, “ผ่าน”, “ตก”) ลาก ลงไปที่ B2 ด้วย เมื่อป้อนตัวเลขลงไปในช่อง A1 และ A2 จะ ได้ผลดังนี้
ตัวอย่างการใช้ if แบบง่าย
ตัวอย่างการใช้ if แบบแบบอ้างอิงค่า พิมพ์คำว่า ผ่าน ในเซล A1 และ ตกในเซล A2 ใส่คำสั่งต่อไปนี้ลงในเซล B1 =if(B2>=50, A1, A2) เมื่อป้อนตัวเลขลงไปในช่อง B2 จะได้ผลดังนี้
ตัวอย่างการใช้ if แบบอ้างอิงเซล
รูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น =if (เงื่อนไข, ค่าเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง, ค่าเมื่อ เงื่อนไขเป็นเท็จ) จากรูปแบบดังกล่าว เราสามารถแทรกคำสั่ง เงื่อนไข ซ้อนลงไปแทน ค่าเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง หรือ ค่าเมื่อ เงื่อนไขเป็นเท็จ ก็ได้
ตัวอย่างรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น เช่น ต้องการเขียนคำสั่งเพื่อคำนวณภาษี โดยมีเกณฑ์ คือ รายได้ 100,000 ขึ้นไป ภาษีร้อยละ 7 รายได้ 50,000 – 99,999 ภาษีร้อยละ 5 รายได้ไม่ถึง 50,000 ไม่เสียภาษี สามารถเขียนคำสั่งได้ดังนี้
ตัวอย่างรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น ป้อนค่าตัวเลขที่ A1 และ ใส่คำสั่งต่อไปนี้ใน B1 if ( A1 >= 100000, A1*7/100, if(A1 >=50000, A1*5/100,“0”) )
ตัวอย่างโปรแกรมตัดเกรด คะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไป เกรด 4 คะแนนตั้งแต่ 70-79 เกรด 3 คะแนนตั้งแต่ 60-69 เกรด 2 คะแนนตั้งแต่ 50-59 เกรด 1 อื่นๆ เกรด 0
ตัวอย่างโปรแกรมตัดเกรด =if(A1>=80, “4”, ) if(A1>=70, “3”, ) if(A1>=60, “2”, ) if(A1>=50, “1”, “0” )
ตัวอย่างโปรแกรมตัดเกรด =if(A1>=80, “4”, if(A1>=70, “3”, if(A1>=60, “2”, if(A1>=50, “1”, “0” ) ) ) )
สรุปหลักการ วงเล็บเปิดกับวงเล็บปิดต้องเท่ากัน เงื่อนไขใหม่ต้องใส่ให้ตรงส่วนที่ต้องการ สามารถพิมพ์คำสั่งที่ notepad แล้ว copy ไปใส่ exel