ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทสัญญา Firm (1) ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายเข้าระบบไม่เกิน 90 MW อายุสัญญา 20-25 ปี แบ่งออกเป็น 2 ระเบียบ ดังนี้ 1. ระบบ Cogeneration นิยามการผลิตทั้งพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนในเวลาเดียวกันจากโรงไฟฟ้าหนึ่ง ซึ่งเป็นการแปลงพลังงานปฐมภูมิไปเป็นพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (useful heat energy) ภายในกระบวนการผลิตเดียวกันตามกระบวนการทางอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics) เงื่อนไข ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง มีสัดส่วนของพลังงานความร้อนที่จะนำไปใช้ในกระบวนการอุณหภาพ นอกจากการผลิตไฟฟ้าต่อการผลิตพลังงานทั้งหมด >= 5% SPP จะได้รับค่า FS สูงสุดเมื่อผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีค่า PES >= 10%
ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทสัญญา Firm (2) พลังงานหมุนเวียน 2.1 การผลิตไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานนอกรูปแบบ (Non-Conventional Energy) เช่น พลังลม พลังแสงอาทิตย์ พลังน้ำขนาดเล็ก (Mini Hydro) เป็นต้น ซึ่งต้องไม่ใช่การใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังนิวเคลียร์ 2.2 การผลิตไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กโดยใช้เชื้อเพลิงดังต่อไปนี้ - กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร หรือกากจากการผลิต ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการเกษตร - ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร หรือจาก การผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือการเกษตร - ขยะมูลฝอย - ไม้จากการปลูกป่าเป็นเชื้อเพลิง SPP ที่ใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้เชื้อเพลิงในเชิงพาณิชย์ เช่น น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงเสริมได้ แต่ทั้งนี้พลังงานความร้อนที่ได้จากการใช้เชื้อเพลิงเสริมในแต่ละรอบปีต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของพลังงานความร้อนทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการผลิตในรอบปีนั้นๆ
ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ปริมาณพลังไฟฟ้า 4,000 MW ขายเข้าระบบแล้ว 2,400 MW 1,600 MW ประกาศงวดแรก 1,030 MW Cogeneration (>10MW - <= 90 MW) Renewable (>10 MW- <= 90 MW) 530 MW 500 MW การส่งเสริม ส่วนเพิ่มฯ เปิดประมูล ส่วนเพิ่มฯ อัตราคงที่ การส่งเสริม โครงการก๊าซธรรมชาติ โครงการถ่านหิน เชื้อเพลิง ส่วนเพิ่มฯ(บาท/kWh) ปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อ (MW) ระยะเวลาสนับสนุน (ปี) ขยะ 2.50 100 7 พลังงานลม 3.50 115 10 พลังงานแสงอาทิตย์ 8.00 15 พลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ 0.30 300 รวม 530 คงที่ เปิดประมูล