การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารราชการ กพร. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารราชการ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.)
การมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการซึ่งประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือกและการตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
การมีส่วนร่วมของประชาชน สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้ - ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (to inform) - ระดับการให้คำปรึกษาหารือ (to consult) - ระดับการเข้าไปเกี่ยวข้อง (to involve) - ระดับการร่วมมือ (to collaborate) - ระดับการมอบอำนาจการตัดสินใจ (to empower)
ระดับการมีส่วนร่วมสูงขึ้น การมีส่วนร่วมของประชาชน ตัด สิน ใจ เอง เข้าร่วมทำงานด้วย สมัครใจเข้าร่วม ให้ความเห็น การมีส่วนร่วมของประชาชน รับฟัง
ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Spectrum) ให้ข้อมูลข่าวสาร Inform รับฟังความคิดเห็น Consult เกี่ยวข้อง Involve ร่วมมือ Collaboration เสริมอำนาจประชาชน Empower เป้าหมาย : เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชน เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ทางเลือกและทางแก้ไข เป้าหมาย : เพื่อได้รับข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยว กับสภาพปัญหา ความคิด เห็นและแนวทางแก้ไข เป้าหมาย : เพื่อร่วมทำงานกับประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่ามีความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะได้รับการพิจารณา เป้าหมาย : เพื่อเป็นหุ้นส่วนกับประชาชนในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่การระบุปัญหา พัฒนาทางเลือกและแนวทางแก้ไข เป้าหมาย : เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ สัญญาต่อประชาชน : เราจะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร สัญญาต่อประชาชน : เราจะให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งตระหนักถึงข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ สัญญาต่อประชาชน : เราจะทำงานเพื่อให้เห็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ส่งผลให้ความคิดเห็นและข้อมูลจากประชาชนสะท้อนในทางเลือก สัญญาต่อประชาชน : เราจะร่วมงานกับประชาชน เพื่อได้ข้อเสนอแนะและความคิดใหม่ รวมทั้งนำข้อเสนอแนะของประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สัญญาต่อประชาชน : เราจะปฏิบัติสิ่งที่ประชาชนตัดสินใจ เทคนิคการมีส่วนร่วม : Fact Sheet Websites Open House เทคนิคการมีส่วนร่วม : การสำรวจความคิดเห็น การประชุม/เวทีสาธารณะ ประชุมกลุ่มย่อย เทคนิคการมีส่วนร่วม : สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการมีส่วนร่วม : คณะที่ปรึกษาภาค ประชาชน คณะกรรมการ การตัดสินใจแบบมีส่วน ร่วม เทคนิคการมีส่วนร่วม : การลงประชามติ
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม คือ การบริหารราชการที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการบริหารและดำเนินงานของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
การบริหาราชการแบบมีส่วนร่วม (การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม) ฐานที่มาของความคิดตามกรอบกฎหมาย - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 56, 57, 66, 67, 78 เป็นต้น - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 (ต่อ) ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 1. เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 7. ประเมินผลการปฏิบัติราชการ 2. เกิดผลสัมฤทธิ์ หมวด 1 มาตรา 6 3. มีประสิทธิภาพ/คุ้มค่า 6. อำนวยความสะดวกตอบสนองความต้องการของประชาชน 4. ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น 5. ปรับปรุงภารกิจ/โครงสร้างให้เหมาะสม
เป็นผู้ได้รับประโยชน์ (หมวด 2 มาตรา 7,8) - เพื่อประโยชน์สุข - เป็นศูนย์กลาง ก่อนดำเนินการ วิเคราะห์/ชี้แจง/ ทำความเข้าใจ/ถามความเห็น รับฟังความเห็น/เกี่ยวข้อง - สำรวจความพึงพอใจ - สอบถามเรื่องงานตอบภายใน 15 วัน (มาตรา 38) รับทราบข้อมูล ข่าวสารสาธารณะ การมีส่วนร่วมของประชาชน - ขอข้อมูล/เสนอแนะทาง ICT (มาตรา 39,40) - แผน/โครงการ(มาตรา 20) - ร้องเรียน/เสนอแนะ ต้องดำเนินการและแจ้งทราบ (มาตรา 41) แผนภูมิงานบริการ/ขั้นตอน/ เวลาแล้วเสร็จ (มาตรา 29) - เปิดเผยข้อมูลงบประมาณ ซื้อ/จ้าง (มาตรา 43,44) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
ทำไมต้องบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ภาคสังคมและประชาชนมีการพัฒนาและเรียกร้องสิทธิ ในการรับรู้ ตัดสินใจ และมีส่วนร่วม หลักการบริหารราชการแนวใหม่ที่ระบบราชการทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญ เริ่มได้บทเรียนและเรียนรู้จากการสูญเสีย แสวงหารูปแบบและนำไปประยุกต์ใช้ สังคมไทยและคนไทยพัฒนาสู่สังคมประชาธิปไตยยุคใหม่
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมจะทำให้... ภาคราชการ ลดความขัดแย้ง / การต่อต้านจากประชาชน ช่วยให้งานบรรลุผลสำเร็จ ได้รับความร่วมมือ + การสนับสนุนและความไว้ใจจากประชาชน ภาคประชาชน เข้าใจการทำงานของภาครัฐมากขึ้น เชื่อมั่นในการตัดสินใจของภาครัฐ
องค์ประกอบหลักของระบบราชการแบบมีส่วนร่วม เปิดเผย ข้อมูลข่าวสาร ระบบราชการ แบบมีส่วนร่วม โปร่งใส มีส่วนร่วม ขั้นตอน/กระบวนการ ทำงาน เหตุผลการตัดสินใจ ให้ข้อมูลข่าวสาร หารือ เข้ามามีบทบาท สร้างความร่วมมือ เสริมอำนาจ รับฟัง ความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากประชาชน
คุณลักษณะของข้าราชการในระบบราชการ แบบมีส่วนร่วม พัฒนาทักษะด้าน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เปิดให้เข้าถึง ตอบสนอง รับฟัง ให้การศึกษาแก่ประชาชน แสดงความห่วงใย และเห็นใจ กระจาย ข้อมูลข่าวสาร คุณลักษณะของข้าราชการในระบบราชการแบบมีส่วนร่วมมีดังต่อไปนี้ 1.เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึง (Accessibility) ได้ โดยช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น ตู้ไปรษณีย์ เวปไซด์ หรือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 2.ตอบสนองต่อประชาชน(Responding) และมีการติดต่อสื่อสารสองทาง (two ways communication) กับประชาชนอยู่ตลอดเวลา และเป็นการสื่อสารที่เปิดให้กับทุกคน 3. กระจายข้อมูลข่าวสาร ของหน่วยงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการหรือโครงการที่กำลังทำอยู่ 4. แสดงความห่วงใยและเห็นใจกับปัญหากับความทุกข์ของประชาชน 5.รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในลักษณะทันท่วงที ถูกต้อง จริงใจและ โปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อถือ และไว้วางใจกับหน่วยงาน 6.พัฒนาทักษะด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการติดต่อกับประชาชน
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้ในระดับสากล 5 ประการ ดังนี้ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้ในระดับสากล 5 ประการ ดังนี้ เป็นส่วนราชการที่เปิดเผยข้อมูลและโปร่งใสในภารกิจที่หน่วยงานดำเนินการโดยมีช่องทางในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนทั้งกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและประชาชนโดยรวม 2. มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้รับบริการและประชาชนเกี่ยวกับภารกิจของส่วนราชการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำเป็นต้องมีแผนการดำเนินงานและการจัด สรรทรัพยากรที่เหมาะสม โดยอาจจะใช้วิธีการต่างๆ เช่น การจัดช่องทางที่ให้ประชาชนและผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ เช่น การจัดตู้รับข้อคิดเห็น การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เป็นต้น
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้ในระดับสากล 5 ประการ ดังนี้ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้ในระดับสากล 5 ประการ ดังนี้ เป็นหน่วยงานที่มีระบบการจัดการข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนและผู้ที่เกี่ยว ข้อง เพื่อนำข้อมูลต่างๆ ไปประกอบการปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชน การปรับปรุงระบบการบริหารงาน และการตัดสินใจที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ โดยควรมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการรวบรวม และรายงานสรุปผลการพิจารณาความคิดเห็นของประชาชน การจัดทำแผนหรือแนวทางการปรับปรุงระบบบริหารราชการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 4. เป็นหน่วยงานที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคม (ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายต่างๆ ) ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกระบวนงานของภาคราชการ โดย เฉพาะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา เพื่อร่วมการกำหนดทิศทางนโยบายของส่วนราชการ การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะที่มีผล กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่างๆ
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้ในระดับสากล 5 ประการ ดังนี้ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ที่ใช้ในระดับสากล 5 ประการ ดังนี้ 5. เป็นส่วนราชการที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ โดยได้มีการจัดกระบวนการหรือกลไกที่เป็นรูปธรรมให้ภาคประชาชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนิน งานและผลสำเร็จในการทำงานของส่วนราชการ
บทบาทภาครัฐที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป บทบาทใหม่ของรัฐ เสริมสร้างพลัง สนับสนุน หยิบยื่น กระจายอำนาจ รวมประชาชนเข้าไว้ในกลุ่ม ผู้ตัดสินใจ มีทางเลือกที่เปิดกว้างไม่มี การจำกัด ประชาชนเป็นผู้นำ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่าง จริงจัง รัฐมีพันธะความรับผิดชอบ ต่อสังคม โปร่งใส/เปิดกว้าง ประชาชนมีความเป็นพลเมือง รวมศูนย์อำนาจ รัฐทำหน้าที่ตัดสินใจ ประชาชนไม่มี ทางเลือก ความสัมพันธ์แนวดิ่ง จากบนลงล่าง ปิดกั้นการมีส่วนร่วม ของประชาชน ผู้ตัดสินใจคือกลุ่มที่ได้รับ การคัดเลือก ประชาชนมีส่วนร่วมได้ เฉพาะเรื่อง ประชาชนมีทางเลือกแต่ จำกัด ประชาชนร่วมตัดสินใจ ประชาชนมีส่วนร่วม บทบาทภาครัฐที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป