สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง ข้อมูลทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นาย ปนิธิ ภูเจริญ โทร ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) วัตถุประสงค์ (ม. 11) (1) ช่วยเหลือภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมให้ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินจำนวนมากขึ้น (2) ช่วยให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการให้สินเชื่อแก่ภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมมากยิ่งขึ้น (3) เร่งการกระจายสินเชื่อไปยังภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมทั่วประเทศได้เร็วขึ้น (4) ช่วยให้การพัฒนาภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ดู ม. 13 และ 14 ประกอบ) สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้แทน กค. : ร้อยโทนพดล พันธุ์กระวี Website : โทร ผู้จัดการ (CEO) : นายวิบูลย์ เพิ่มอารยวงศ์ สัญญาจ้างลงวันที่ : 27 ต.ค. 53 ระยะเวลาจ้าง : 1 พ.ย. 53 – 31 ต.ค. 57 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO Board รอง CEO บุคคลภายนอก รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 9 คน 4 คน (ในวาระเริ่มแรกก่อนมีผู้ถือหุ้น) ให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมีจำนวน 4 คน (ม. 15) 4 คน (ในการประชุมผู้ถือหุ้น) ประกอบด้วย กรรมการซึ่งเลือกเพิ่มขึ้นจากจำนวนกรรมการตาม ม. 15 อีก 2 คน และเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเห็นสมควรจะเลือกตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 2 คนก็ได้ (ม. 16) 1 คน ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ตราบใดที่เงินซึ่งรัฐบาลให้บรรษัทกู้ยืม ยังมีค้างอยู่ หรือการค้ำประกันที่รัฐบาลให้ไว้ตามม. 26 ยังไม่สิ้นอายุการบังคับ (ม. 20) วาระการดำรงตำแหน่ง : เมื่อสิ้นรอบปีบัญชีแต่ละปี ให้กรรมการตาม ม.15 และม.16 ออกจากตำแหน่ง ฝ่ายละหนึ่งคนโดยวิธีจับสลาก และให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการเพื่อเข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อสิ้นรอบปีบัญชีที่ 4 และทุกสิ้นปีบัญชีถัดไป ให้กรรมการทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งและให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น เลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งนั้นยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อ ดำเนินกิจการของบรรษัทต่อไปเพียงเท่าที่จำเป็นจนกว่าคณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งใหม่อีกได้ (ม. 17) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้จัดการทั่วไปด้วยความเห็นชอบจาก รัฐมนตรี ตราบใดที่เงินซึ่งรัฐบาลให้บรรษัทกู้ยืมยังมีค้างอยู่ หรือการค้ำประกันที่รัฐบาลให้ไว้ตามม. 26 ยังไม่สิ้นอายุการบังคับ (ม.24) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน : 7,000– 250,000 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี) : 10,000 บาท จำนวนพนักงาน : 150 คน (31 พ.ค. 54) ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติ คณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ ต้องมีคุณสมบัติตาม (1) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (2) (3) และ (4) ดังต่อไปนี้ (ม. 19) (1) เป็นผู้ถือหุ้นของบรรษัทไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยหุ้นหรือเป็นผู้แทนของบริษัท จำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ถือหุ้นของบรรษัทไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยหุ้น (2) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (4) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต ผู้จัดการ ผู้จัดการทั่วไป ต้อง มีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ม.19(2) (3) และ (4) (ม. 23) การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้ เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 242/2544 เรื่อง การค้ำประกันของ บสย. ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับภาระผูกพันที่มีต่อบุคคลอื่นหรือสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบัน การเงินตามมาตรา 11 มาตรา 12 พ.ร.บ. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ (บสย.จึงไม่มีอำนาจค้ำประกันสินเชื่อนอกเหนือจากที่มาตรา 11 (1) และ (2) ประกอบกับมาตรา 12 (1) บัญญัติไว้ ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์และบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีโครงการที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจ จะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมาย จัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็น กรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดย ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง -ไม่มี- สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- พ.ร.บ. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534