บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นายอำพน กิตติอำพน กรรมการผู้แทน กค. : นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม Website : www.thaiairways.com โทร. 0 2545 1000 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีเป็นกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการบริษัท จำกัด) (ม. 8 วรรคสองและวรรคสาม) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการ ที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรคหนึ่ง) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหาร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่(CEO) : นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ สัญญาจ้างลงวันที่ : 12 ต.ค. 52 ระยะเวลาจ้าง : 19 ต.ค. 52 – 10 ก.ค. 56 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO: Board รอง CEO บุคคลภายนอก อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รอง CEO : พนักงาน สัญญาจ้าง CFO : พนักงาน สัญญาจ้าง เงินเดือน ข้อบังคับของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน บอร์ดกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด Min-max ของเงินเดือน = 6,064-380,000 บาท อัตราเงินเดือน ปริญญาตรี 4 ปี = 12,480 บาท จำนวนพนักงาน = 25,897 คน (31 พ.ค. 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่มากกว่า 15 คน สุดแต่ที่ประชุมใหญ่จะเป็นผู้กำหนดเป็นครั้งคราว และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดนั้น ต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด(ข้อ 15) วาระการดำรงตำแหน่ง ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุด กับส่วน 1 ใน 3 โดยให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด เป็นผู้ออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้อาจ ถูกเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้ (ข้อ 17 ) การแต่งตั้งกรรมการ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ โดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด (ข้อ 16) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่างๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0504/13998 ลงวันที่ 22 กันยายน 2546 ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0504/14023 ลงวันที่ 27 กันยายน 2547 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการจะประกอบกิจการ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าเป็นกรรมการในนิติบุคคลอื่น ที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทไม่ได้ เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง (ข้อ 30 ) กรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หากมีส่วนได้เสียในสัญญาที่บริษัททำขึ้นหรือถือหุ้นหรือหุ้นกู้เพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัทหรือบริษัทหรือบริษัทในเครือ (ข้อ 31 ) สิทธิพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0526.5/ว.103 ลงวันที่ 9 ธ.ค. 42) หลักเกณฑ์การซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินในการเดินทางไปต่างประเทศ 1.ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการตลอดจนพนักงานของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จะเดินทางไปต่างประเทศ หรือกลับประเทศไทยซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินจากการบินไทย 2.ให้การบินไทย ให้ส่วนลดแก่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ 3.การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวหรือเดินทางกลับประเทศไทยชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ให้ซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินรวมทั้งเที่ยวไปและกลับ 4.การเดินทางไปราชการต่างประเทศตามปกติ ให้เลือกเดินทางโดยเครื่องบิน ของการบินไทย แต่ถ้ามีความจำเป็นหรือไม่สะดวกจะเดินทางโดยเครื่องบินของสายการบินอื่นก็ได้ 5.กรณีไม่มีตัวแทนหรือสาขาของการบินไทย อยู่ในต่างประเทศ ให้ซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินจากสายการบินอื่นได้ 6.หากส่วนราชการใดไม่สามารถจะปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณีๆไป การยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการซื้อบัตรโดยสาร 1.ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินอื่น หากราคาบัตรโดยสารของสายการบินดังกล่าวมีราคาต่ำกว่าการบินไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ให้ซื้อบัตรโดยสารของสายการบินอื่นได้ (หนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0408.2/ว. 112 ลว 30 ธ.ค. 46) 2.ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของ การบินไทย ผ่านตัวแทนจำหน่าย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ราคาต้องต่ำกว่าของการบินไทย หรือสาขา 3.ในการดำเนินการตามข้อ 1,2 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหน่วยงานอื่นของรัฐมีหนังสือสอบถามราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินจากบริษัทฯ โดยการบินไทยจะมีหนังสือแจ้งภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับการสอบถาม (หนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0408.2/ว. 112 ลว 30 ธ.ค. 46) 3.ในกรณีจำเป็นที่ต้องเดินทางกับสายการบินที่ปฏิเสธการรับบัตรโดยสารที่ออกผ่านโดย การบินไทย ให้ซื้อบัตรโดยสารของสายการบินนั้นได้โดยตรง *โดยมีมติ ครม. เรื่อง ทบทวน ปรับปรุง หรือยกเลิกมติครม.เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ ที่ นร.0506/22643 ลว 2 ธ.ค 53 ว่าให้บริษัทมหาชน จำกัด ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจยังคงได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน และจำหน่ายบัตรโดยสาร โดยพิจารณาถึงความจำเป็นเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักการแข่งขันเสรีการค้าหรือไม่ ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวชัชดาภา จารุรังสรรค์ โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 2554 (Update) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง ต่อหน้าหลัง
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ ๔๖๒/๒๕๔๑ เรื่อง การขายหุ้นของรัฐในรัฐวิสาหกิจให้แก่เอกชน (กรณีที่กระทรวงการคลังจะขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกรณีที่บริษัทการบินไทยฯจะขายหุ้นเพิ่มทุน) สิทธิการบินเป็นสิทธิของรัฐจึงถือเป็นทรัพย์สินของรัฐ และเมื่อบริษัทการบินไทยฯได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการเดินอากาศอันเป็นกิจการที่ต้องใช้สิทธิการบินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ จึงถือได้ว่าบริษัทการบินไทยฯ ดำเนินกิจการอันเป็นกิจการของรัฐตามนัยแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ การที่พันธมิตรร่วมทุนเข้ามาซื้อหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ในบริษัทการบินไทยฯ หรือหุ้นที่การบินไทยจะเพิ่มทุน เป็นกรณีที่พันธมิตรร่วมทุนเข้ามาร่วมลงทุนรูปแบบหนึ่งในกิจการของรัฐ และทำให้พันธมิตรร่วมทุนมีสิทธิในการเข้าร่วมบริหารกิจการของบริษัทการบินไทยฯด้วย ฉะนั้น หากหุ้นที่กระทรวงการคลัง หรือการบินไทยจะขายให้แก่พันธมิตรร่วมทุนมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปแล้วต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ฉะนั้น กระทรวงการคลัง หรือการบินไทยจึงเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการแล้วแต่กรณี กรณีที่กระทรวงการคลังขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทการบินไทยฯ ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือ หุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื่องจากเป็นการจำหน่ายหุ้นของส่วนราชการ แต่กรณีดังกล่าวอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ แล้ว จึงไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ส่วนระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจำหน่ายหุ้นและซื้อหุ้นของส่วนราชการพ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นระเบียบซึ่งใช้บังคับแก่การซื้อหุ้นใหม่ของส่วนราชการโดยการขายหุ้นเดิม ซึ่งไม่เกี่ยวกับการขายหุ้นของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ กระทรวงการคลังจึงไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว กรณีการขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทการบินไทยฯ เป็นการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อเพิ่มทุนมิใช่เป็นการขายหุ้นที่รัฐวิสาหกิจถืออยู่แต่เดิม จึงไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของพ.ศ. ๒๕๐๔ และกรณีไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจำหน่ายหุ้นและซื้อหุ้นของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วยตามนัยเดียวกัน เรื่องเสร็จที่ ๖๒๔/๒๕๕๒ เรื่อง การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) มาตรา ๘ ตรี (๑๒) แห่ง พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีเจตนารมณ์ในการป้องกัน มิให้บุคคลซึ่งมีอำนาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐวิสาหกิจเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้นเพื่อแสวงประโยชน์ใด ๆ อันมิชอบในรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่านิติบุคคลดังกล่าวจะเป็นภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจด้วยกันก็ตาม นายปิยสวัสดิ์ฯ ได้ลาออกจาก บมจ. บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (Bangkok Aviation Fuel Services Public Company Limited) (BAFS) ซึ่งเป็นบริษัทคู่ค้ากับ บมจ. การบินไทยตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๙ และได้ยื่นใบสมัครเข้ารับการสรรหาในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. การบินไทย เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ต่อมาคณะกรรมการ บมจ. การบินไทย ได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ เห็นชอบให้นายปิยสวัสดิ์ฯ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งมติดังกล่าวเป็นเพียงมติเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะกรรมการสรรหาฯ ที่เห็นสมควรคัดเลือกนายปิยสวัสดิ์ฯ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น จึงยังมิใช่มติแต่งตั้งให้นายปิยสวัสดิ์ฯ ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากยังมีกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาผลตอบแทนและเจรจาต่อรองผลตอบแทนกับผู้ได้รับการคัดเลือกและเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาจ้างที่จะต้องดำเนินการและขอความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อนที่จะเสนอผู้มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งและลงนามในสัญญาจ้างต่อไปตามกระบวนการและขั้นตอนในการสรรหาผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังได้กำหนดไว้ และนายปิยสวัสดิ์ฯ เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. การบินไทย