องค์การตลาด พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาด พ.ศ. 2496 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th องค์การตลาด ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ : นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้แทน กค. : น.ส.ศิริศักดิ์ หาระบุตร Website : www.market-organization.or.th โทร. 0 2882 2301-6 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้อำนวยการ (CEO) : นายธีธัช สุขสะอาด สัญญาจ้างลงวันที่ : 22 พฤศจิกายน 2553 ระยะเวลาจ้าง : 1 ธ.ค. 53 – 30 พ.ย. 57 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO Board รอง CEO บุคคลภายนอก (ผอ. หลักสูตร MBA คณะบริหารธุรกิจ ม.หอการค้าไทย) รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาด พ.ศ. 2496 เงินเดือนพนักงาน วัตถุประสงค์ มีดังต่อไปนี้ (ม. 6) (1) จัดสร้างตลาดสาธารณให้เพียงพอต่อความต้องการ (2) ปรับปรุงตลาดสาธารณให้ถูกสุขลักษณะ และทันสมัย (3) ส่งเสรมตลาดเอกชน (4) จัดและส่งเสริมการผลิตโภคภัณฑ์ให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด (5) จัดการขนส่งโภคภัณฑ์ไปสู่ตลาดให้เป็นไปโดยสะดวก (6) จัดดำเนินการ ควบคุม และอำนวยบริการเกี่ยวกับตลาดขององค์การ กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 42 Min-max ของเงินเดือน : 7,210 – 42,480 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 8,610 บาท จำนวนพนักงาน : 99 คน (31 พ.ค. 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วยประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 6 คน และไม่เกิน 15 คน เป็นผู้บริหารกิจการขององค์การ (ม. 13) คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นนอกจากผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (ม. 14) วาระการดำรงตำแหน่ง :ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วเป็นอันพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจแต่งตั้งอีกได้ (ม. 16) (ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ม. 8 วรรคสอง กำหนดให้กรรมการรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ซึ่งในกรณีดังกล่าวต้องยึดถือระยะเวลาการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี เนื่องจากเป็นหลักกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบของกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่ง ตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 734/2535 เรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด :ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการ ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และมติให้ความเห็นชอบในการถอดถอนผู้อำนวยการต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด โดยไม่นับคะแนนเสียงของผู้อำนวยการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งด้วยให้ผู้อำนวยการได้รับเงินเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนด (ม. 20) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่มีโครงการที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ การพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ คณะรัฐมนตรีให้ออก (ม. 17) สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นายหัสดินทร์ แสนสระดี โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6720 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง : - สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 352/2548 องค์การตลาดไม่อาจดำเนินกิจการจัดส่งข้าวสารออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ เพราะไม่เกี่ยวกับการอันเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การตลาด ตามที่กำหนดไว้ใน ม. 6 เรื่องเสร็จที่ 97/2549 คกก. องค์การตลาดมีอำนาจให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ กับการเสนอชื่อผู้ผ่านการสรรหาเพื่อให้รัฐมนตรีแต่งตั้งตามนัย ม. 20 แห่ง พ.ร.ฎ. องค์การตลาดฯ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าองค์การตลาดได้ดำเนินการสรรหาผู้อำนวยการองค์การตลาดจนได้รายชื่อและตกลงเรื่องผลตอบแทนแล้ว แต่ยังมิได้เสนอชื่อต่อ คกก. ชุดใดให้ความเห็นชอบ คกก. ชุดใหม่ที่เข้าดำเนินการต่อสรรหาผู้อำนวยการฯ ย่อมมีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบได้