โรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง/ยางแผ่นรมควันสร้างขึ้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ : นายศุภชัย โพธิ์สุ กรรมการผู้แทน กค. : นางกรศิริ พิณรัตน์ Website : www.rubber.co.th โทร. 0 2434 0180-91 ต่อ 251 สกย. ไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจาก เป็นองค์การของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การที่มิใช่ธุรกิจ จึงมิใช่ “รัฐวิสาหกิจ” ตามบทนิยามใน ม.4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 195/2530) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ผู้อำนวยการ (CEO) : นายวิทย์ ประทักษ์ใจ สัญญาจ้างลงวันที่ : 5 ต.ค. 52 ระยะเวลาจ้าง : 29 ก.ย. 52 – 28 ก.ย. 56 วาระที่ 1 วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO Board รอง CEO บุคคลภายนอก รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง CFO พนักงาน สัญญาจ้าง วัตถุประสงค์ (ม. 4) เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกระทำการใดๆ ที่จำเป็นหรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้ รวมทั้ง การทำสวนยางและสวนไม้ยืนต้น ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวข้องเป็นการสาธิตและส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์ กับให้รวมตลอดถึงการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตามที่รัฐบาลมอบหมาย จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธาน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 6 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าของสวนยาง 4 คน และบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการยาง 2 คน ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ (ม.9) · วาระการดำรงตำแหน่ง : กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี แต่กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ (ม.10) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือน ของผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.15) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 1,793 คน (31 พ.ค. 54) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ โรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง/ยางแผ่นรมควันสร้างขึ้น จากเงินงบประมาณแผ่นดินไม่ใช่จากเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ซึ่งคณะกรรมการ สงเคราะห์การทำสวนยางจัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์การทำสวนยางตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๓) สหกรณ์กองทุนสวนยางไม่เป็นเจ้าของสวนยางตามบทนิยามคำว่า “เจ้าของสวนยาง” ในมาตรา ๓เป็นวิธีการสงเคระห์ แต่เป็นนิติบุคคลต่างหากจากเจ้าของสวนยางซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว สหกรณ์กองทุน สวนยางจึงไม่อยู่ในขอบข่ายที่จะได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๓) นอกจากนั้น การยกโรงงานดังกล่าวให้เป็นทรัพย์สินของสหกรณ์ฯก็ไม่เป็นวิธีการสงเคราะห์ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘ วรรคสอง คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๕) จึงเห็นว่า การยกโรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง/ยางแผ่นรมควันให้เป็นทรัพย์สินของสหกรณ์ กองทุนสวนยางในกรณีนี้ ไม่เป็นการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวน ยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และไม่อาจกระทำได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 52 เห็นชอบในหลักการร่าง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ การรวม 3 หน่วยงานเข้าด้วยกัน คือ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์การสวนยาง และ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นการยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นองค์กรกลางที่รับผิดชอบดูแล การบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร ปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการแห่งร่าง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง · กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์ และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ มีอำนาจดังต่อไปนี้ (ม.24) 1) เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องเพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด 2) มีหนังสือเรียกบุคคล ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใดๆ เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์ แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาให้ถ้อยคำ 3) มีหนังสือเรียกให้บุคคลใน 2) ส่งหรือแสดงเอกสารใดๆ อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันไม่ปรากฏว่า สกย. ได้รับสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นางสาวนัทธ์หทัย ขำดี โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 8/2540 เรื่อง การสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 (กรณีการยกโรงงานผลิต ยางแผ่นผึ่งแห้ง/ยางแผ่นรมควันให้เป็นทรัพย์สินของสหกรณ์กองทุนสวนยาง) สกย. ไม่สามารถยกโรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง/ยางแผ่นรมควันซึ่งสร้างขึ้นจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ให้เป็นทรัพย์สินของสหกรณ์กองทุนสวนยางได้ เนื่องจาก การยกโรงงานดังกล่าวให้สหกรณ์ไม่ถือว่าเป็นวิธีการสงเคราะห์ ตามที่กำหนดไว้ใน ม.8 ว.2 แห่ง พรบ. กองทุนสงเคราะห์ฯ อีกทั้ง สหกรณ์กองทุนสวนยางก็ไม่เป็นเจ้าของสวนยาง ตามบทนิยามคำว่า “เจ้าของสวนยาง” ตาม ม. 3 แต่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของสวนยางซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางตาม ม.18 ว.1 (3) แห่งพรบ. กองทุนสงเคราะห์ฯ