การใช้ยอดอ้อยเลี้ยงโค- กระบือ ทดแทนอาหารหยาบในฤดูแล้ง การใช้ยอดอ้อยเลี้ยงโค- กระบือ ทดแทนอาหารหยาบในฤดูแล้ง นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาสัมมนา ดร.ธาตรี จีราพันธุ์
ในบางพื้นที่ช่วงฤดูแล้ง มักจะเกิดปัญหาการขาดแคลนหญ้าสดหรือหญ้าแห้งคุณภาพดี ดังนั้นการนำเศษวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากการเกษตรสามารถนำมาเลี้ยงโคแทนหญ้าได้ เช่น ยอดอ้อย ยอดอ้อยเป็นผลพลอยได้จากาการปลูกอ้อยเพื่อทำน้ำตาล ในช่วงนี้เป็นช่วงที่หญ้าสดคุณภาพดีหาได้ยากจึงทำให้โคขาดอาหารหยาบคุณภาพดี ดังนั้นในการนำยอดอ้อยมาเป็นวัสดุทดแทนอาหารหยาบในช่วงฤดูแล้ง จึงเป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษาอย่างยิ่ง นอกจากจะช่วยให้โคได้รับอาหารหยาบที่มีคุณภาพดีแล้วยังเป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย
อ้อย อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง จุดประสงค์ของการปลูกเพื่อนำมาผลิตน้ำตาลเป็นหลัก ฤดูหีบอ้อยหรือช่วงที่ชาวไร่ตัดอ้อยส่งโรงงานคือระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม จะมียอดอ้อยและใบอ้อยเป็นเศษเหลือทิ้งไว้ในไร่ ส่วนใหญ่จะปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจุดไฟเผา ส่วนต่าง ๆ ของอ้อยนี้จะประกอบด้วยลำต้น 60% ส่วนยอด 30% และใบอ้อย 10% หรือคิดเฉพาะส่วนยอดของอ้อยจะประมาณ 25 – 30% ของผลผลิตทั้งหมด
การใช้ยอดอ้อยเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันในประเทศไทยมีงานวิจัยด้านการใช้ยอดอ้อยเป็นอาหารสัตว์น้อยมากจึงเป็นการยากที่จะชี้ให้เห็นว่าควรจะใช้ยอดอ้อยเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบใดจึงจะดีที่สุด แต่มีผลงานวิจัยที่พอจะให้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบพิจารณาการนำยอดอ้อยมาใช้เลี้ยงโค – กระบือได้ ซึ่งสามารถจะนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น สด แห้งหรือหมัก จะใช้ในลักษณะใดแล้วแต่แล้วแต่ความสะดวกของผู้ใช้
รายงานการใช้อ้อยสดเป็นอาหารหยาบหลักสำหรับเลี้ยงโครุ่นสาวเพื่อใช้เป็นโคทดแทนภายในฝูงเปรียบเทียบกับการใช้หญ้าขนสดล้วน ๆ ปรากฏว่าโครุ่นสาวที่กินยอดอ้อยจะมีอัตราการเพิ่มของน้ำหนักวันละ 0.53 กิโลกรัม ในขณะที่โคสาวกินหญ้าขนสดมีการเพิ่มน้ำหนักวันละ 0.44 กิโลกรัม และโคจะแสดงอาการเป็นสัดครั้งแรกเมื่ออายุ 11 – 12 เดือน มีการผสมติดเป็นปกติไม่แตกต่างกันกับกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบ สำหรับในโคกำลังให้นม รายงานว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนในฤดูแล้ง จึงใช้โครีดนมในช่วงเช้าหลังรีดนมร่วมกับฟางปรุงแต่ง จะให้ในช่วงบ่ายเปรียบเทียบกับโคที่ปล่อยให้แทะเล็มหญ้าตามธรรมชาติพบว่า สามารถรักษาระดับการให้นมไว้ได้โดยนมไม่ลดและยังสามารถให้น้ำนมได้สูงกว่าแม่โคที่เลี้ยงปล่อยให้แทะเล็มหญ้าธรรมชาติเล็กน้อย
การปรับปรุงคุณภาพของยอดอ้อย 1.วิธีทางกายภาพ 2.วิธีใช้สารเคมี 3.การใช้ร่วมกัน 4.ใช้ยอดอ้อยร่วมกับอาหารเสริมโปรตีน
สรุปและข้อเสนอแนะ ยอดอ้อยเป็นผลพลอยได้จากการปลูกอ้อยสามารถนำไปใช้เป็นอาหารหยาบเลี้ยงโคกระบือ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน หญ้าหรือพืชอาหารสัตว์ในรูปแบบสดในช่วงฤดูแล้งในรูปแบบสดในช่วงฤดูแล้งได้ในรูปแบบหมักสดหรือแห้ง ปัญหาการมีไนโตรเจนต่ำในยอดอ้อย สามารถใช้ยอดอ้อยหรือใบอ้อย ร่วมกับอาหารข้น หรือพืชอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูงหรือใช้แหล่งโปรตีนที่หาได้ง่าย และมีราคาถูกเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตโคของเกษตรกร
สงสัยส่วนไหนถามเลยเดียวตอบให้ จบการนำเสนอ สงสัยส่วนไหนถามเลยเดียวตอบให้