โครงการ : การพัฒนาและ ปรับปรุงการทำงานด้วย Challenge โดย สำนักงานพัฒนา ชุมชนอำเภอเด่นชัย
๑. หลักการและเหตุผล ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ. ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ ๕ เสริมสร้างองค์กรให้มี ขีดสมรรถนะสูง ตัวชี้วัดที่ ๔ ร้อยละ ของบุคากรมีความพึงพอใจและมี ความสุขในการปฏิบัติงาน ซึ่งมี เป้าหมายที่จะทำให้องค์กรมีขีด สมรรถนะสูง เก่ง ดี มีความสุข ประชาชนในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วน เสียมีความพึงพอใจในการให้บริการ ของกรมการพัฒนาชุมชน
การทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สูง ปริมาณงานมาก และต้องเร่งรัดให้ ทันตามเวลา ก่อให้เกิดภาวะ ความเครียดและมีความสุขน้อยลง ในการทำงาน จึงจำเป็นต้องหา วิธีการทำงานให้เจ้าหน้าที่พัฒนา ชุมชนอำเภอได้ทำงานอย่างมี ความสุขไปพร้อมๆกับความสำเร็จ ของงานที่เกิดขึ้นตามสมควร ส่งผล ดีต่อองค์กรและประชาชนในชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับความ พึงพอใจในการติดต่อประสานงาน ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของกรมการ พัฒนาชุมชนดียิ่งขึ้น
๒. วัตถุประสงค์ ๑ ) เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สามารถปรับปรุงและพัฒนาการ ทำงานของตนให้เกิดประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ ๒ ) เพื่อให้เกิดภาวะสมดุลระหว่างงาน ที่ดีมีประสิทธิภาพร่วมกับการมี ความสุขในการทำงานไปพร้อมๆกัน
๓. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ๓. ๑ ประชุมทำความเข้าใจและร่วมกัน กำหนดเป้าหมาย กรอบการดำเนินงาน ๓. ๒ กลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์งานที่ รับผิดชอบ และเลือกงานที่จะปรับปรุง และพัฒนา จำนวน ๑ งาน ๓. ๓ กำหนดแนวทางและวิธีการพัฒนาการ ทำงานใหม่ กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลสำเร็จ ดังนี้ ๑ ) กำหนดประเด็น - การส่งหลักฐาน เบิกจ่ายงบฯยุทธศาสตร์กรมฯ ๒ ) กำหนดคำถามสำคัญ - ทำอย่างไรให้ส่งหลักฐาน ครบถ้วน ทันเวลา ทุกโครงการ
๓ ) ความท้าทาย (The Challenge) ผู้ปฏิบัติทำงานด้วยความสุข และสามารถ ปรับปรุงวิธีทำงานการเบิกจ่ายงบฯ ให้ดีขึ้น - มีวิธีการอะไรที่จะทำให้สามารถควบคุม การจัดทำหลักฐานเบิกจ่ายงบฯ ยุทธศาสตร์ เกิดความครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา - มีวิธีสร้างความสุขในการทำงาน - แหล่งข้อมูล ชี้แนะแนวทางการเบิกจ่าย, แนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน ( เว็บไซด์, หนังสือ, อินเตอร์เน็ต ฯลฯ )
๓. ๔ จัดทำแผนปฏิบัติการ และ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ๓. ๕ จัดทำระบบการประเมินผล การ ติดตามผลการดำเนินงาน และการ รายงานผล
๔. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ ดำเนินการ - ดำเนินการ ณ สำนักงานพัฒนา ชุมชนอำเภอเด่นชัย - กลุ่มเป้าหมายคือ ๑ ) พัฒนากร ๓ คน ๒ ) พัฒนาการอำเภอ
๕. ตัวชี้วัดกิจกรรม ๕. ๑ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : ความสำเร็จใน การปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน จำนวน ๔ กิจกรรม ๕. ๒ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : มีนวัตกรรม รูปแบบการทำงาน ที่เกิดจาก กระบวนการจัดการความรู้วิธีการ ทำงานของพัฒนากร / พัฒนาการ อำเภอ ๕. ๓ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ : ๑ ) เกิด ภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงานพัฒนา ชุมชนอำเภอ ๒ ) บุคลากรของสำนักงานพัฒนา ชุมชนอำเภอ มีความสุขในการทำงาน มากขึ้น
๖. ระยะเวลา เดือน ธันวาคม ๒๕๕๖ – สิงหาคม ๒๕๕๗ งบฯ สนับสนุนจากกรมการพัฒนา ชุมชน ๗. งบประมาณ