องค์ประกอบที่ 5 และ 7.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ และผลลัพธ์การดำเนินงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (HPHNQC)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
Advertisements

การพัฒนาระบบการส่งต่อโรคเรื้อรังใกล้บ้านใกล้ใจ โรงพยาบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี กฤษณา เปรมศรี 10 มกราคม
ชื่อโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
กายภาพบำบัด ใน โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล
การจัดการกระบวนการภายในเพื่อโครงการทดลองจ่ายค่าตอบแทนตาม ผลการปฏิบัติงาน โรงพยาบาลพาน.
โครงการพัฒนาโรงพยาบาลราชบุรี บริการฉับไว ไร้ความแออัด
แนวทางการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 5 ประจำปีงบประมาณ
ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
การดำเนินงานโรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
สถานีอนามัยสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.
โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว
การพัฒนางาน อนามัยแม่และเด็ก ทิศทางก้าวไกล สู่ คุณภาพ มาตรฐาน และ ความปลอดภัย นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต.
องค์ประกอบที่ 4 การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 120 คะแนน 3.1 การจัดการโครงสร้างทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ.
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ภายในปี 2554 (ระยะ 4 ปี) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า) ประชาชน.
แนวคิด การดำเนินงาน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
การประชุมเชิงปฏิบัติการใช้ค่ากลาง
นโยบายการดำเนินงานโรคเรื้อรัง ตัวชี้วัด: จังหวัดมีการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรัง (สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดย รัตนาภรณ์ ฮิมหมั่นงาน.
การสำรวจหา ค่ากลาง นโยบายรัฐบาล เรื่องการพัฒนาสุขภาพของ ประชาชน ประกาศเมื่อ 23 สิงหาคม จัดให้มีมาตรการสร้างสุขภาพโดยมี เป้าหมายเพื่อลดอัตราป่วย.
การพัฒนาหลังจากมีการกำหนดค่ากลางของจังหวัด
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
การกำหนดเกณฑ์ ประเมินคุณภาพภายใน
ความคาดหวังหลังการประชุมฯ ครั้งนี้
แนวทางการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขต 5
การตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) 1.
การปรับแนวคิดพื้นฐานเรื่องการ สนับสนุนของกองทุนฯตำบล รูป แบบเดิม รูปแบบ ใหม่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
นโยบาย ปฐมภูมิ ลดแออัด พัฒนาคุณภาพบริการ
แผนหลัก สรุปทิศทาง. สสส. เปรียบเสมือน “น้ำมันหล่อลื่น” ที่ช่วยให้ ฟันเฟืองของกลไกสร้างเสริมสุขภาพทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด.
โครงการ/กิจกรรมสำคัญในปี 2557 สิ่งที่ CUP/อำเภอดำเนินการ
MIND MAPงานสุขภาพศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
ความคาดหวังกับรพ.สต.มิติใหม่ของการพัฒนางานสาธารณสุข
ทีมนำด้านการดูแลผู้ป่วย
คลินิกผู้สูงอายุต้นแบบ (Geriatric Clinic Model) โรงพยาบาลอุดรธานี
มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน
สรุปบทเรียนโครงการเอดส์ ด้าน CARE
การป้องกันและควบคุมโรคในเขตบริการสุขภาพ
แนวทางการดำเนินงาน กรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554
โครงการหมู่บ้าน / ชุมชน ลดหวาน มัน เค็ม ลดอ้วน ลดโรค
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
สิ่งที่ต้องทำต่อ 1.นำเสนอผลสำเร็จของนโยบาย ปี นำเสนอนโยบายปี 55 และตัวชี้วัด สำคัญ ตามใบงานที่ 7 8และ 9 ประธาน : นพ.สสจ. วันที่ 13 ก.ย.54 เวลา 13.00น.
การจัดการค่า กลาง. ค่ากลางคือ อะไร ? %100% 65 การยกระดับคุณภาพของแผนงาน / โครงการ * โดยใช้ค่ากลาง ความถี่ สูงสุด % งา น บริเวณค่า.
วิสัยทั ศน์ เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้าน การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตจาก แอลกอฮอล์ของประเทศและ พัฒนาระบบบริการสุขภาพจิต และจิตเวชในเครือข่ายบริการ สุขภาพจิตที่
พรทิพย์ ศิริภานุมาศ กองแผนงาน กรมควบคุมโรค
นิยาม ศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic) หน่วยบริการระดับโรงพยาบาลชุมชนที่มีการจัดบริการดูแล ช่วยเหลือทางสังคมจิตใจทุกกลุ่มวัย โดยมีองค์ประกอบ.
องค์กรไร้พุง โรงพยาบาลภูเวียง.
CQI งานผู้ป่วยในหญิง เรื่อง
สรุปผลการประเมิน ยุทธศาสตร์สุขภาพระดับตำบล อำเภอเรณูนคร ปี 2554
การพัฒนางานสุขภาพจิต วัยทำงาน - สูงอายุ
นโยบายกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2554
บูรณาการยุทธศาสตร์สุขภาพ ด้านพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
ระบบบริการสุขภาพช่องปากปี 2554 ระบบบริการสุขภาพช่องปากปี 2554
การเรียนรู้ ผ่าน SERVICE PROFILE
สรุปประเด็น เรื่อง แนวคิดการจัดการรายกรณีเพื่อการดูแลต่อเนื่อง
กรอบการจัดทำแผนพัฒนาโรงพยาบาล ร้อยเอ็ด ประจำปี ๒๕๕๖ แนวคิด ปี ๒๕๕๖ ปีแห่งการวิเคราะห์และประเมิน ตนเองอย่างเข้มข้น วิเคราะห์เพื่อ พัฒนางาน ให้ได้ตาม มาตรฐาน.
และแนวทางการตรวจราชการ คณะที่ 1 : การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
โปรแกรมเฝ้าระวัง การเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-18 ปี
นวัตกรรม7สี ปันรัก ไกลโรค ปี2556
แนวทางการดำเนินการ พัฒนาระบบราชการกรมอนามัย ประจำปี 2553.
แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ
ผลการ ดำเนินงาน 5.1 โครงการ ส่งเสริมและ ป้องกันปัญหา สุขภาพจิต ต. ค.46- มี. ค.47 เขต 8 และ เขต 9.
คลินิกสุขภาพเด็กดีคุณภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เกณฑ์การประกวดอำเภอดีเด่น ด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

องค์ประกอบที่ 5 และ 7.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ และผลลัพธ์การดำเนินงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (HPHNQC)

องค์ประกอบที่ 5 การส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ องค์ประกอบที่ 5 การส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ 120 คะแนน 5.1 ข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ : โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการจัดการ ข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ 40 คะแนน 40 คะแนน ให้อธิบาย กระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ อธิบายที่มาของข้อมูล ระบบการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ Public health professionals include, but are not limited to the following: u     Administrators u     Biostatisticians u     Dieticians u     Environmental health specialists u     Epidemiologists u     Health care providers u     Health communication specialists u     Health educators u     Health law experts u     Labratorians u     Occupational health specialists u     Public health nurses u     Researchers u     Sanitarians u     Social scientists u     Toxicologists u     Others 2

คำอธิบายศัพท์ ข้อมูล (Data) : ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรืออะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่มเรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น สารสนเทศ (Information) : ข้อมูลที่ได้ผ่านการกลั่นกรอง หรือประมวลผลในรูปแบบหรือกรรมวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ การจัดการสารสนเทศ (Information Management) : ระบบสารสนเทศที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และนำไปสู่ความรู้เพื่อการเผยแพร่

โดยตอบคำถามต่อไปนี้ (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการได้มาของข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล (A) ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันสมัย(L) และพร้อมใช้ (I) (2) โรงพยาบาลมีวิธีการ (A) อย่างไรในการสื่อสาร(D) และนำข้อมูลด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ (L,I)

แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ องค์ประกอบที่ 1 – 6 แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ องค์ประกอบที่ 1 – 6 - แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อ (A) - มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอาจแตกต่างกันในบางพื้นที่หรือบางหน่วยงาน (D) - มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับโรงพยาบาลรวมถึงการสร้างนวัตกรรมบ้าง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ (L) - มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการโดยรวมของโรงพยาบาล ตามที่ระบุไว้ในข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลและในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I) 50%, 55% 60% หรือ 65% คะแนน Public health professionals include, but are not limited to the following: u     Administrators u     Biostatisticians u     Dieticians u     Environmental health specialists u     Epidemiologists u     Health care providers u     Health communication specialists u     Health educators u     Health law experts u     Labratorians u     Occupational health specialists u     Public health nurses u     Researchers u     Sanitarians u     Social scientists u     Toxicologists u     Others 5

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.1 (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการได้มาของข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล (A) ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันสมัย(L) และพร้อมใช้ (I) โรงพยาบาลมีการกำหนดข้อมูลที่จำเป็นที่ต้องจัดเก็บด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการทั้งกลุ่มดี... กลุ่มเสี่ยง... และกลุ่มป่วย... ซึ่งแต่ละหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบรวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และรายงานอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปใช้ใน การวางแผนการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ ดังนี้...............

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.1 (2) โรงพยาบาลมีวิธีการ (A) อย่างไรในการสื่อสาร(D) และนำข้อมูลด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ (L,I) โรงพยาบาลมีการสื่อสารให้ทุกหน่วยงานนำข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ...ไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ โดยผ่านการประชุมหัวหน้างาน แจ้งเวียนสรุปผลการวิเคราะห์รายไตรมาส และรวบรวมไว้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของโรงพยาบาลเพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้

5.2 การปรับระบบบริการของโรงพยาบาล : โรงพยาบาลมี วิธีการอย่างไรใน การปรับระบบริการ ส่งเสริมสุขภาพของ ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ 40 คะแนน ให้อธิบายถึงการปรับระบบบริการ ที่มีการบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่สอดคล้องหรือตอบสนองกับปัญหาความต้องการด้านสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ

โดยตอบคำถามต่อไปนี้ (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการปรับระบบบริการ (A,D) ที่สอดคล้องหรือตอบสนองกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ และ ระบบบริการเหล่านี้มีอะไรบ้าง (2) โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการอย่างไรที่แสดงให้เห็นถึงการบริการแบบองค์รวม (L, I)

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.2 (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการปรับระบบบริการ (A,D) ที่สอดคล้องหรือตอบสนองกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ และ ระบบบริการเหล่านี้มีอะไรบ้าง โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการ....โดยนำข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน/ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ได้จากการวิเคราะห์มาจัดทำแผนพัฒนา โดยสื่อสารให้ทุกหน่วยงานนำสู่การปฏิบัติ เช่น ... พัฒนาระบบการนัดผู้รับบริการ , การสอนให้ผู้รับบริการทำอาหารตามเมนูอาหารที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ การจัดมุมเรียนรู้ในหอผู้ป่วยเช่นหนังสือ/ VDO /บอร์ดเรื่องการดูแลสุขภาพไว้ในหอผู้ป่วย

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.2 (2) โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการอย่างไรที่แสดงให้เห็นถึงการบริการแบบองค์รวม (L, I) การจัดการบริการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลอยู่ในรูปของคณะกรรมการ สหสาขาวิชาชีพ โดยมีแพทย์เป็นประธาน และให้ทุกหน่วยงานมีเครือข่ายในการดูแลต่อเนื่อง เช่น มีการส่งต่อให้ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกลุ่มงานเวชกรรมสังคมดูแลต่อเนื่อง มีระบบการวางแผนจำหน่ายตั้งแต่แรกรับ เริ่มจากมีการประเมิน การรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและมีการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม คำนึงถึงสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ ตั้งแต่ด่านหน้าถึงหอผู้ป่วย กำหนดให้มีการประเมินภาวะสุขภาพและวางแผนจำหน่ายภายใน 48 ชั่วโมง

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.2 (2) โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการอย่างไรที่แสดงให้เห็นถึงการบริการแบบองค์รวม (L, I) (ต่อ) ตัวอย่างการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก (กลุ่มดี) การจัดการด้านอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน เน้นการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด จนถึงชุมชน โดยการดูแลร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล โภชนากร เภสัชกร ทันตาภิบาล ผู้ให้การปรึกษาด้านสุขภาพจิตและนักสังคมสงเคราะห์ ในลักษณะทีมบุคลากรผู้ให้ความรู้และให้การช่วยเหลือมารดาให้สามารถดูแลตนเองได้ ต่อมาโรงพยาบาลได้เปลี่ยนแนวการส่งเสริมสุขภาพโดยเน้นการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกำหนด สิ่งที่ต้องการด้วยตนเอง เพื่อให้ตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติมากขึ้น เช่นการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ โดยมีการใช้กระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันให้คู่สามีภรรยาและบุคคลในครอบครัว เรื่องการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของมารดาขณะตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เน้นการมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลของครอบครัวและการดูแลต่อเนื่องถึงระดับชุมชน กลุ่มป่วย และเสี่ยง Link ไป word

5.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ : โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ 40 คะแนน ให้แสดงถึง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ รวมถึง แผนติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

โดยตอบคำถามต่อไปนี้ (1) โรงพยาบาลมีการกำหนดตัวชี้วัด และการวัดผลการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติที่สำคัญอะไรบ้าง (A,D) **นำไปรายงานใน ข้อ7.3** (2) โรงพยาบาลมีการประเมิน (L) ระบบการให้บริการ ที่มีการบูรณาการ (I) งานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างไร (3) โรงพยาบาลมีวิธีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับกระบวนการ (L,I) ส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติอย่างไร

คำอธิบายศัพท์ ประสิทธิภาพ (Efficiency) : การประเมินการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใดๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ และผลสำเร็จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการนั้นๆ ให้เป็นผลสำเร็จ และถูกต้อง ประสิทธิผล (Effective) : การประเมินว่ากระบวนการหรือมาตรการที่ใช้สามารถตอบสนองเจตจำนงที่ตั้งไว้ได้ดีเพียงใด การประเมินประสิทธิผลต้องประเมินว่า (1) แนวทางนั้นมีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กร และองค์กรสามารถถ่ายทอดเพื่อนำแนวทางสู่การปฏิบัติได้ดีเพียงใด (2) ประเมินผลลัพธ์ของมาตรการที่ใช้

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.3 (1) โรงพยาบาลมีการกำหนดตัวชี้วัด และการวัดผลการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติที่สำคัญอะไรบ้าง (A,D) **นำไปรายงานใน ข้อ7.3** โรงพยาบาลนำนโยบายและตัวชี้วัดของกระทรวง กรม และของจังหวัด มากำหนดเป็นตัวชี้วัดหลักของโรงพยาบาล โดยเน้นประเด็นตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่และของโรงพยาบาล ซึ่งตัวชี้วัดดังกล่าวมีทั้งด้านพฤติกรรมสุขภาพและด้านสภาวะสุขภาพ ตัวอย่างเช่น .. ตัวชี้วัดที่สำคัญในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งเป็นผู้รับบริการกลุ่มดี ได้แก่ อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์, อัตราการฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน อัตราการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี อัตราตายของมารดาที่ตั้งครรภ์ อัตราตายปริกำเนิด อัตราตายทารก อัตรามารดาอายุต่ำกว่า 20 ปี อัตราการเกิดภาวะ Birth Asphyxia อัตราทารกแรกเกิดน้าหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และอัตราเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีพัฒนาการสมวัย เป็นต้น

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.3 (1) โรงพยาบาลมีการกำหนดตัวชี้วัด และการวัดผลการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติที่สำคัญอะไรบ้าง (A,D) **นำไปรายงานใน ข้อ7.3** - ตัวชี้วัดที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นผู้รับบริการกลุ่มป่วย ได้แก่ อัตราของผู้ป่วย DM ที่สามารถเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสม, อัตราของผู้ป่วยDM ที่สามารถออกกำลังกายได้เหมาะสม 30 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์, อัตราผู้ป่วย DMที่สามารถตรวจและดูแลเท้าด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง, อัตราผู้ป่วยDM ที่สามารถฉีดยาด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง, อัตราผู้ป่วยDM ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ในระดับที่เหมาะสม (FBS ไม่เกิน 70–130 mg/dl), อัตราผู้ป่วย DM ที่มีค่า HbA1c ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 7%, อัตราผู้ป่วย DM ที่มีค่า LDL ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dl, อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยDMทางตา, อัตราผู้ป่วยDMที่ได้รับการตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขา, อัตราการadmittedจากภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของ DM (Hypo/hyper), อัตราการ Re-admitted ด้วยโรค DM หรือภาวะแทรกซ้อน DM เป็นต้น

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.3 (2) โรงพยาบาลมีการประเมิน (L) ระบบการให้บริการ ที่มีการบูรณาการ (I) งานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างไร โรงพยาบาลใช้กรอบของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และมาตรฐานโรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เป็น แนวทางในการประเมินการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งกำลังดำเนินการให้เกิดความชัดเจน มีความเชื่อมโยงกับทุก หน่วยงานทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล มีการประเมินผลลัพธ์ของการให้บริการในผู้รับบริการแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายของโรงพยาบาลในแต่ละปี และวิเคราะห์แนวโน้มเปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง (บางเรื่องอยู่ระหว่างดำเนินการหาคู่เทียบจากโรงพยาบาลใกล้เคียง) เพื่อหาโอกาสพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ

ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.3 (3) โรงพยาบาลมีวิธีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับกระบวนการ (L,I) ส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติอย่างไร ผลการประเมินที่ได้นำไปปรับระบบการให้บริการการส่งเสริมสุขภาพ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ … เช่น ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (FBS ไม่เกิน 70–130 mg/dl) ได้ เมื่อวิเคราะห์สืบค้นสาเหตุ พบว่า ผู้ป่วยมีอาการตามัว ทำให้ปริมาณยาที่ฉีดมีความคลาดเคลื่อน นำสู่การปรับระบบบริการ โดยให้ญาติมีส่วนร่วมรับรู้ความสามารถของผู้ป่วยและช่วยฉีดยาให้ผู้ป่วยแทน เป็นต้น....

แสดงข้อมูลและสารสนเทศต่อไปนี้ 7.3 ผลลัพธ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ : ผลการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติเป็นอย่างไร 65 คะแนน สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ โดยแสดงผลลัพธ์ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพ รวมทั้งแสดงให้เห็นระดับ แนวโน้ม และการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เหมาะสม แสดงข้อมูลและสารสนเทศต่อไปนี้ ผลลัพธ์การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ **เชื่อมโยงกับ 5.3 (1)**

หมายเหตุ ผลลัพธ์ที่รายงานในหัวข้อ 7.3 (1) เป็นการแสดงผลลัพธ์ของโรงพยาบาล ตามตัวชี้วัดในองค์ประกอบที่ 5 และผลลัพธ์ที่ควรรายงานเพิ่มเติม ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ - พฤติกรรมสุขภาพในแต่ละกลุ่ม (กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย) เช่น การบริโภค หรือการออกกำลังกาย - Exclusive Breast Feeding - การสูบบุหรี่ และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ - Low Birth weight - พัฒนาการสมวัย - อัตราการป่วยซ้ำ - อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน - ไขมันในเลือด ความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด - ภาวะโภชนาการ BMI/รอบเอว

แนวทางการให้คะแนน องค์ประกอบที่ 7 - มีการรายงานผลการดำเนินการที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อและผลอยู่ในระดับที่ดี (Le) - แสดงถึงแนวโน้มที่ดีอย่างชัดเจนในเรื่องต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจของโรงพยาบาล (T) - ผลการดำเนินการในปัจจุบันบางเรื่องอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเทียบเคียงกับตัวเปรียบเทียบ และ/หรือระดับเทียบเคียงที่เหมาะสม (C) - มีการรายงานผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของบุคลากร ผู้รับบริการ ครอบครัว ญาติ ชุมชน และกระบวนการเป็นส่วนใหญ่ (I) 50%, 55% 60% หรือ 65% คะแนน Public health professionals include, but are not limited to the following: u     Administrators u     Biostatisticians u     Dieticians u     Environmental health specialists u     Epidemiologists u     Health care providers u     Health communication specialists u     Health educators u     Health law experts u     Labratorians u     Occupational health specialists u     Public health nurses u     Researchers u     Sanitarians u     Social scientists u     Toxicologists u     Others 22