การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์
พฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการปฏิบัติหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นการประสานการทำงานของสมองหรือสติปัญญาและกล้ามเนื้อ
การวัดพฤติกรรม ด้านทักษะพิสัย เป็นการวัดที่ให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติให้ดู โดยใช้ความสามารถทางสมองหรือทางกายหรือทั้งสองอย่างก็ได้ เพื่อให้ผู้สอนได้ตัดสินระดับความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนว่า มีความถูกต้องในกระบวนการปฏิบัติหรือไม่
การวัดพฤติกรรม ด้านทักษะพิสัย ผลงานที่ได้จากการปฏิบัติมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งการวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัยที่สมบูรณ์นั้น ไม่เพียงแต่วัดกระบวนการและผลงานงานเท่านั้น แต่รวมไปถึงการวัดพฤติกรรม การปฏิบัติของผู้เรียนด้วย ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมด้านจิตพิสัยนั่นเอง ดังแผนภาพข้างล่าง การวัด ด้านทักษะพิสัย พุทธิพิสัย จิตพิสัย
ธรรมชาติของการวัดทักษะพิสัย เป็นการวัดโดยใช้สถานการณ์เพื่อทดสอบการปฏิบัติงานของผู้เรียน ลักษณะงานที่ให้ทำแตกต่างกัน วิธีการวัดย่อมแตกต่างกัน เป็นการวัดกระบวนการในการปฏิบัติงาน (Process) และผลผลิต (Product) การบริหารการสอบ ผู้สอนต้องมีโอกาสสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
จุดมุ่งหมายของการวัดทักษะพิสัย เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาทางทฤษฎี เพื่อตรวจสอบหรือประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อประเมินผลผลิตหรือผลงานที่เกิดจากกระบวนการปฏิบัติ เพื่อประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติที่ผู้เรียนแสดงออกในขณะปฏิบัติงาน
คุณลักษณะที่ใช้วัดกระบวนการ คุณภาพในขณะปฏิบัติงาน เวลา ทักษะการปรับปรุงการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน ข้อบกพร่องจากการปฏิบัติ
คุณลักษณะที่ใช้วัดผลงาน คุณภาพของผลงาน ปริมาณงาน ทักษะการปรับปรุงผลงาน ความปลอดภัยของผลงาน ข้อบกพร่องจากการปฏิบัติ
คุณลักษณะที่ใช้วัดพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ตั้งใจทำงาน กระตือรือร้นในการทำงาน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมมือแก้ปัญหาการทำงานในกลุ่ม ฯลฯ
กระบวนการวัดพฤติกรรม ด้านทักษะพิสัย กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดงานให้ผู้เรียนปฏิบัติ กำหนดเงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์งานเพื่อกำหนดคุณลักษณะที่ใช้ในการวัดทักษะ กำหนดวิธีการวัดและเครื่องมือที่ใช้ในการวัด กำหนดวิธีการประเมินผลและรายงานผล สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวัด ดำเนินการวัดผลและประเมินผล
วิธีการที่ใช้ในการวัด ด้านทักษะพิสัย การสังเกต การจัดอันดับคุณภาพ การทดสอบ การให้ผู้เรียนรายงานตนเอง การสัมภาษณ์
การสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรม ทักษะพิสัย วางแผนการสร้างเครื่องมือ การดำเนินการสร้างเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ สร้างคู่มือการใช้
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดด้านทักษะพิสัย ความตรง ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงตามสภาพ ความตรงเชิงทฤษฎี ความเที่ยง ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน ความเที่ยงแบบการวัดซ้ำ