( Organization Behaviors ) 7610205 องค์การและการจัดการ พฤติกรรมองค์การ ( Organization Behaviors )
ความหมาย พฤติกรรมองค์การ หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ ทัศนคติ และผลการปฏิบัติงาน ภายในองค์การ ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการรวบรวมทฤษฎี และหลักการจากสาขาต่าง ๆ ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยาและวัฒนธรรม เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้ ค่านิยม ความสามารถในการเรียนรู้ และการกระทำของบุคคลขณะที่ปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มภายในองค์การ ตลอดจนการวิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมภายนอก ที่มีต่อทรัพยากรมนุษย์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ขององค์การ
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับคน 1. องค์การและบุคคล 2. องค์การและกลุ่มบุคคล
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและบุคคล 1. การรับรู้ ( perception ) การรับรู้ หมายถึง การที่บุคคลได้รับรู้ ตีความ และตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ความสำคัญของการรับรู้ คือช่วยให้เข้าใจบุคคลที่อาจจะรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับข้อเท็จจริง หรือความจริงที่เกิดขึ้น
ปัจจัยในการรับรู้ 1. ความรู้ 2. ประสบการณ์ 3. ความสนใจ
2. บุคลิกภาพ ( personality ) บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะรวมของพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งมีลักษณะแน่นอน ปัจจัยในการกำหนดบุคลิกภาพ 1. ตัวกำหนดด้านสรีรวิทยา 2. ครอบครัว และโรงเรียน 3. วัฒนธรรม
3. ทัศนคติ ( attitude ) ทัศนคติ หมายถึง ผลสรุปของความโน้มเอียงที่จะตอบสนองด้วยวิธีที่ชอบ หรือไม่ชอบ ที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาต่อวัตถุ สิ่งของ บุคคล หรือแนวความคิด หรืออะไรก็ตาม
องค์ประกอบของทัศนคติ 1. องค์ประกอบของทัศนคติ 2. ส่วนของสติ และเหตุผล 3. ส่วนของพฤติกรรม
ความสมพันธ์ระหว่างองค์การและกลุ่มบุคคล กลุ่ม ( Group ) หมายถึง การตัวของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกลุ่มที่กล่าวถึงนี้ก็คือองค์การนั่นเอง
1. ชนิดหรือประเภทของกลุ่ม 1.1 กลุ่มหน้าที่ ( Functional group ) 1.2 กลุ่มงาน ( Task or project group ) 1.3 กลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มมิตรภาพ ( Interest group and friendship group )
2. โครงสร้างของกลุ่ม 2.1 องค์ประกอบของกลุ่ม 2.2 บรรทัดฐาน หรือปทัสถาน 2.2 บรรทัดฐาน หรือปทัสถาน 2.3 สถานภาพของบุคคล 2.4 บทบาท 2.5 ความเป็นผู้นำ 2.6 ความรักและความผูกพัน