การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย และการดำเนินคดีปกครอง
การร่างกฎหมาย วัตถุประสงค์ เพื่อแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นการกำหนดกติกาในการดำเนินการในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ เหตุที่มีการร่างกฎหมายสืบเนื่องมาจากมีข้อเท็จจริงหรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
กฎหมายลำดับรอง พระราชกฤษฎีกา เช่น การลดหรือยกเว้นภาษี กระทรวง ครม. สคก. ครม. ทูลเกล้าฯ ราชกิจจาฯ กฎกระทรวง - กระทรวง ครม. สคก. ครม. รมต. ราชกิจจาฯ ประกาศ/ระเบียบ/ข้อบัญญัติ
แบบกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติฉบับแรก ตราขึ้นใหม่ ปรับปรุงใหม่ทั้งฉบับ พระราชบัญญัติฉบับแก้ไขเพิ่มเติม แก้ไขหรือยกเลิกบางมาตรา พระราชบัญญัติฉบับยกเลิก ยกเลิกทั้งฉบับโดยไม่มีฉบับใดมาแทน
การให้ความเห็นทางกฎหมาย พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 7 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา จัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐหรือตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย
วัตถุประสงค์ เป็นการแก้ปัญหาในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งอาจเป็นกรณีที่เกิดข้อสงสัยในตัวบทกฎหมายหรือตัวบทกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจนหรือเป็นการวินิจฉัยเพื่อวางแนวทางปฏิบัติราชการให้เป็นไปโดยถูกต้อง เป็นการวางระเบียบราชการ เช่น การพิจารณากำหนดแนวทางหรือขอบเขตการใช้ดุลยพินิจในการอนุญาต เป็นการวินิจฉัยข้อโต้แย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐให้เป็นที่ยุติ
ขั้นตอนการให้ความเห็นทางกฎหมาย ครม. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานเจ้าของเรื่องขอความเห็น คณะกรรมการกฤษฎีการับเรื่อง สรุปข้อเท็จจริง ตั้งประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย การวิเคราะห์ การเขียนบันทึกความเห็นทางกฎหมาย หากหน่วยงานไม่เห็นด้วย ขอให้ทบ/ขอให้คณะรัฐมนตรีสั่งการ
การให้ความเห็นทางกฎหมายของประเทศไทย กฎหมายลายลักษณ์อักษรชัดแจ้ง ปัญหา - ถ้อยคำในกฎหมายมีมากมาย คำธรรมดามีความหมายอย่างอื่น - ถ้อยคำไม่ชัดเจน กำกวม หรือแปลได้หลายความหมาย ตีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำที่เป็นภาษาวิชาการหรือเทคนิคใช้ตามที่เข้าใจ
การดำเนินคดีปกครอง ศาลปกครอง เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ไม่สุจริต เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระเกินสมควร ใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบ
คดีปกครอง การออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำฝ่ายเดียวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ละเมิด สัญญาทางปกครอง คดีที่กฎหมายกำหนด
ตัวอย่างของคำสั่งทางปกครอง คำสั่งที่มีต่อข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ - คำสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล - คำสั่งที่เกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ คำสั่งที่มีต่อประชาชน - คำสั่งที่ไม่ออกใบอนุญาต เพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาต - คำสั่งเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ - คำสั่งให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ - คำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง