กลุ่มที่ 1 และ 2 (Groups 1 and 2) รายงานทางด้านตลาดเงินตลาดทุน (Reports about financial and capital markets)
สามรายงาน (3 Reports) “การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ” โดย จันทวรรณ สุจริตกุล ธนาคารแห่งประเทศไทย (กลุ่มที่ 1) (“International Financial Architecture Reform” by Chantawan Sucharitkul. Group 1) “การปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินของโลก” โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ (กลุ่มที่ 1) (“Rebuilding the International Financial Architecture” Emerging Markets Eminent Persons Group Report. Group 1) “ความร่วมมือทางด้านการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก: การประเมินเหตุผลเบื้องหลังความร่วมมือ” โดย ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ (กลุ่มที่ 2) (“East Asian Financial Cooperation: An Assessment of the Rationales” by Chalongphob Sussangkarn. Group 2)
ประเด็นหลัก (Main Areas of Focus) ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบการเงินของโลก (Reduce risks from volatilities of global financial system.) ปรับปรุงกระบวนการในการจัดการกับวิกฤติเศรษฐกิจ (Improve crisis management.) ความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง และเพิ่มพลังในการต่อรอง (Regional cooperation to increase financial strength and influence. )
การลดความเสี่ยงต่อวิกฤติ (Reducing Risk of Crisis) เริ่มมีความเห็นร่วมกันที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในเรื่องต่างๆ เช่นเรื่องการเปิดเสรีบัญชีเงินทุน การสกัดกั้นเงินทุนระยะสั้น การกำหนดระบบอัตราแลกเปลี่ยน (More consensus on various issues, such as capital account liberalization, control on short-term capital flows, and exchange rate regimes. Generally, these are more flexible than before.) การปรับปรุงการบริหารจัดการภายในของประเทศต่างๆ ดีขึ้นบ้าง บางส่วนเพราะถูกบังคับจากเงื่อนไขการรับความช่วยเหลือทางการเงิน บางส่วนได้จากบทเรียนจากวิกฤติต่างๆ (Better internal management by various countries, partly from conditions for financial assistance, partly through learning from various financial crises.)
การลดความเสี่ยงต่อวิกฤติ (ต่อ) (Reducing Risk of Crisis) อีกหลายอย่างที่น่าจะต้องดำเนินการ เช่นการทำให้เงินสกุลหลักมีเสถียรภาพระหว่างกันมากขึ้น การกำกับดูแลสถาบันเงินทุนที่มักเน้นการเก็งกำไร (HLI) การปรับปรุง Basel Capital Accord ให้ลดแรงจูงในสำหรับการให้กู้ระยะสั้น เป็นต้น (Much more to be done, for example on achieving greater stability between major currencies, regulation on HLI, revision of Basel Capital Accord to reduce incentive for short-term lending, etc.) ที่สำคัญคือประเทศที่กำลังพัฒนาควรต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาปรับปรุงระบบการเงินของโลกมากขึ้น เพราะประเทศกำลังพัฒนามักจะถูกกระทบมากที่สุดจากความผันผวนของตลาดโลก (Important for developing countries to have more involvement in reform discussions, as they are usually more affected by volatilities.)
การจัดการวิกฤติ (Managing Crises) บทบาทของ IMF ทั้งเรื่อง Conditionality และการบริหารภายใน รวมทั้งการแยกหน้าที่ระหว่าง IMF กับธนาคารโลก (Role of IMF, conditionality and internal management. Also division of labor between IMF and World Bank.) การให้ประเทศกำลังพัฒนามีเสียงมากขึ้นในองค์กรทั้งสอง (More influence of developing countries in IMF and World Bank) ให้ภาคเอกชนมีส่วนรับผิดชอบมากขึ้นในกระบวนการแก้ไขวิกฤติ (รวมทั้งช่วยป้องกันด้วย) (Involvement of Private Sector in crisis resolution and also prevention.) การปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศที่ประสบวิกฤติ รวมทั้งการพักชำระหนี้ (Sovereign Debt Restructuring, also Debt standstill.)
ความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค (Regional Financial Cooperation) เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ มีการริเริ่มความร่วมมือทางการเงินในเอเชียตะวันออกหลายด้าน เช่น ระบบติดตามและเตือนภัยทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มอาเซียนบวกสาม และการทำข้อตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ ที่ขยายกรอบความร่วมมือเพิ่อเสริมสภาพคล่องของทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นการชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่น (Many financial cooperation initiatives in East Asia as a result of the crisis; such as surveillance and early warning systems, formation of the ASEAN+3 group, and the Chiang Mai Initiative, which expanded swap arrangements wihin ASEAN and extended to bilateral swaps with the +3 group. Illustrates the political will.)
เหตุผลเบื้องหลังความร่วมมือ (Rationales) ได้พิจารณาสี่เหตุผลเบื้องหลังความร่วมมือ ซึ่งหลายเหตุผลมาจากความไม่พอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติ (Four rationales. Many stem from dis-satisfaction with what happened during the crisis.) เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นอีกของวิกฤติเศรษฐกิจ (To prevent the recurrence of a crisis.) เพื่อทำให้การแก้ไขวิกฤติดีขึ้น ถ้าเกิดวิกฤติขึ้นอีก (To better manage a crisis were one to occur.) เพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคในการกำหนดสภาพแวดล้อมและกฎกติกาทางการเงินในภูมิภาค (To have greater influence in shaping the financial environment affecting the region.) เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (To support the economic integration of the region. )
การประเมินเหตุผลต่างๆ (Assessment of the Rationales) โดยรวม ความร่วมมือที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าในเชิงสาระ (More symbolic than substance) ถ้ามีความร่วมมือเหล่านี้ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ก็คงไม่สามารถป้องกันไม่ให้วิกฤติเกิดขึ้นได้ เช่นวงเงินของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่น้อยเมื่อเทียบกับปัญหา และถึงมากกว่านี้ ก็อาจจะทำให้สถานการณ์แย่กว่าเดิมก็ได้ (If these financial cooperation had existed prior to 1997, would not have made that much difference) สิ่งที่ควรดำเนินการคือการพัฒนาแหล่งเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อลดความจำเป็นในการพึ่งเงินกู้ระยะสั้น (Very important to develop long-term development financing facilities, so there will be less need to rely on short-term foreign debt.)
การประเมินเหตุผลต่างๆ (ต่อ) (Assessment of the Rationales) เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกมีทรัพยากรทางด้านเงินตราต่างประเทศอย่างมหาศาล ทั้งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และการเกินดุลเงินออม แต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อใช้ในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่ภูมิภาคนี้ และเพิ่มอำนาจของภูมิภาคนการชี้นำการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงระบบการเงินของภูมิภาคหรือของโลก (Region has hugh foreign reserves and saving surplus, has not sufficently leveraged this into financial strength and influence.) การพัฒนาตลาด bond ของภูมิภาคควรได้รับการส่งเสริมในระดับต้นๆ (Development of East Asian Bond market should be given high priority.) จะทำให้พึ่งตลาดเงินนอกภูมิภาคน้อยละ และกำหนดกฎเกณฑ์ของตลาดในภูมิภาคได้เองมากขึ้น (Less reliance on outside financial markets, and has greater influence in shaping codes and standards for regional markets.)