ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550 โดย คุณพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เรียน ท่าน ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรม นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ท่านธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการกองทุน และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้กระผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาบรรยายพิเศษ เรื่อง “ ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550 ” ในงานสัมมนา“ มิติใหม่ของคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ” ที่สำนักงาน ก.ล.ต. จัดขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งหัวข้อดังกล่าวกำลังเป็นเรื่องที่ทุกท่านและประชาชนทั่วไปได้ให้ความสนใจ และสอบถามกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ก่อนที่จะกล่าวไปถึงทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ปี 2550 กระผมขอกล่าวถึงโครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพแบบสากล การดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและความจำเป็นในการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญก่อนที่จะพูดถึงทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ในอนาคต
Mandatory Voluntary โครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพในปัจจุบัน SSF Pillar 1 Pillar 2 Pillar 3 กองทุนประกันสังคม (กรณีชราภาพ+สงเคราะห์บุตร) กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ Pay as you go ลูกจ้างเอกชน และ ลูกจ้างชั่วคราวราชการ ลูกจ้าง+นายจ้าง จ่าย ฝ่ายละ 3% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท รัฐบาลจ่าย 1% ของ ค่าจ้าง Defined Contribution ข้าราชการ ข้าราชการ+รัฐบาล จ่าย ฝ่ายละ 3% ของ เงินเดือน Defined Contribution ลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้างประจำราชการ ลูกจ้าง+นายจ้าง จ่าย ฝ่ายละ 2-15% ของ ค่าจ้าง ซื้อหน่วยลงทุน ไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 บาท หรือ 3% ของเงินได้ โครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพในปัจจุบัน โครงสร้างของระบบการออมเพื่อการชราภาพในปัจจุบันประกอบด้วย กองทุน 3 ระดับชั้น (Pillar) ได้แก่ การออมชั้นที่ 1 (Pillar 1 : P1) เป็นการออมภาคบังคับ (Compulsory Savings) ที่จัดการโดยภาครัฐ เป็นรูปแบบที่รัฐจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนและเป็นระบบที่กำหนดผลประโยชน์ขั้นต่ำที่สมาชิกพึงได้รับ (Defined Benefit) ซึ่งได้แก่ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ การออมชั้นที่ 2 (Pillar 2 : P2) เป็นการออมภาคบังคับ (Compulsory Savings) แบบกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน (Defined Contribution) สมาชิกจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามจำนวนเงินสะสมและเงินสมทบในส่วนของตนและดอกผลที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) การออมชั้นที่ 3 (Pillar 3 : P3) เป็นการออมภาคสมัครใจ (Voluntary Savings) แบบกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน (Defined Contribution) สมาชิกแต่ละรายจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามจำนวนเงินสะสมและเงินสมทบในส่วนของตนและดอกผลที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) SSF GPF PVD RMF
การปฏิรูประบบการออมเพื่อการชราภาพ แนวทาง การดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเงินออม เพื่อการชราภาพ กำกับดูแลทั้ง 3 Pillar สร้างความแข็งแกร่งของ P1 : (โดยเสนอให้มีการปรับปรุงกองทุนประกันสังคมเพื่อการชราภาพ) แยกกรณีชราภาพออกจาก P2 เพิ่มอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปี ยกเลิกเพดานเงินที่จ่ายเข้ากองทุนจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 15,000 บาท จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (P2) เสนอรูปแบบการจัดตั้ง P2 สำหรับแรงงานในระบบทั้งประเทศ ส่งเสริมการจัดตั้ง P3 ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการกำกับดูแลและตรวจสอบให้รัดกุมยิ่งขึ้น การปฏิรูประบบการออมเพื่อการชราภาพ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ทำการศึกษาวิจัยและหาผลสรุปเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการออมเพื่อการชราภาพ โดยจัดให้มีระบบบำเหน็จบำนาญแบบหลายชั้น (Multi-Pillar) ซึ่งเป็นระบบกองทุนที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนและสามารถครอบคลุมแรงงานทั่วประเทศเพื่อให้มีรายได้ที่พอเพียงหลังเกษียณอายุ โดยมีข้อเสนอโครงสร้างระบบบำเหน็จบำนาญใหม่ดังนี้ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเงินออมเพื่อการชราภาพ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบายภาพรวมในระบบการออมเพื่อการ ชราภาพ และเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนบำเหน็จบำนาญ 3 ระดับชั้น (Pillar) ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อให้แต่ละกองทุนอยู่ภายใต้คณะกรรมการเดียวกัน เพื่อกำหนดนโยบายการออมให้มีความสอดคล้องกัน การปรับปรุงกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ (กองทุนชั้นที่ 1 : Pillar 1) เนื่องจากกองทุนประกันสังคมเป็นระบบ Defined Benefit และมีการสะสมเงินให้พอจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อเงินกองทุนใกล้หมดจะต้องสมทบเพิ่ม (Partially Funded) จึงควรปรับเปลี่ยนเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กองทุนประกันสังคม ดังนี้ (1) ควรให้แยกบัญชีกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพออกจากกรณีสงเคราะห์บุตร (Social Security Fund) แล้วบริหารจัดการกรณีชราภาพแบบกองทุนระยะยาว เนื่องจากกองทุนชราภาพเป็นกองทุนที่จ่ายผลประโยชน์ในระยะยาว เงินกองทุนควรจะได้รับการจัดสรรแบบระยะยาว เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ (2) เพิ่มอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับ Life Expectancy ที่ยาวขึ้น และความสามารถในการทำงานของแรงงานที่ไม่ควรเกษียณอายุที่ 55 ปี (3) ปรับเพิ่มเพดานเงินที่จ่ายเข้ากองทุนจาก 15,000 บาท เป็นกำหนดตามดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเพิ่มค่าจ้าง เป็นต้น การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุน Pillar 3 ซึ่งได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หลักการ เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบ Multi-Pillar เหตุผลและความจำเป็น แรงงานมีรายได้ที่เพียงพอหลังเกษียณ ส่งเสริมการออมภาคครัวเรือนให้เพิ่มสูงขึ้น สวัสดิการเพื่อการชราภาพครอบคลุมแรงงานทั้งประเทศ สร้างความยั่งยืนทางการเงินและการคลัง สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของตลาดทุนไทย การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) (กองทุนชั้นที่ 2 : Pillar 2) เห็นควรให้ดำเนินการจัดตั้ง กบช. เพื่อเป็นกองทุนภาคบังคับภายใต้กฎหมายกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ โดยมีหลักการ เหตุผล และโครงสร้าง รวมทั้งการบริหารจัดการกองทุนและการกำกับดูแล ดังนี้ หลักการ : เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบบำเหน็จบำนาญแบบหลายชั้น (Multi – Pillar) ซึ่งปัจจุบันยังขาดกองทุนการออมชั้นที่ 2 จึงจะจัดตั้ง กบช. ขึ้นเป็นกองทุนชั้นที่ 2 เหตุผลและความจำเป็น (1) เพื่อให้แรงงานมีรายได้ที่เพียงพอหลังเกษียณ คือประมาณร้อยละ 50 ของเงินเดือนๆสุดท้าย โดยแรงงานจะได้รับจากกองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ ประมาณร้อยละ 13 บวกกับได้รับจากกองทุน กบช. อีกประมาณร้อยละ 17 (กรณีจ่ายเข้ากองทุนฝ่ายละร้อยละ 3) หรือประมาณร้อยละ 34 (กรณีจ่ายเข้ากองทุนฝ่ายละร้อยละ 6) (2) เพื่อส่งเสริมการออมภาคครัวเรือนให้สูงขึ้น เนื่องจากการออมภาคครัวเรือนของไทยได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จาก ร้อยละ 9.65 ในปี 2534 เหลือ ร้อยละ 6.28 ในปี 2540 และร้อยละ 3.87 ในปี2546 ซึ่งจะสะท้อนภาพแนวโน้มที่ช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนจะเริ่มติดลบ (3) เพื่อให้สวัสดิการเพื่อการชราภาพครอบคลุมแรงงานทั้งประเทศ โดยในระยะต้น จะครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบการจ้างงานประมาณ 13 ล้านคนก่อน สำหรับระยะต่อไปจะขยายความครอบคลุมไปยังแรงงานทั่วประเทศประมาณ 35 ล้านคน (4) สร้างความยั่งยืนทางการเงินและการคลัง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องมีภาระในการจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินทดแทนของราชการ หากเงินกองทุนไม่เพียงพอ หรือไม่ต้องจัดสรรเงินงบประมาณผ่านกรมประชาสงเคราะห์เพื่อไปเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ในอนาคต (5) สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของตลาดทุนไทย เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุนในตลาดทุนส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ดังนั้น การเพิ่มการลงทุนของผู้ลงทุนประเภทสถาบันจะมีส่วนช่วยให้พัฒนาตลาดทุนไทยได้อย่างยั่งยืน
การดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วิวัฒนาการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2526 บังคับใช้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 162 (พ.ศ. 2526) 2530 บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 2543 บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 โดยการเปลี่ยนแปลงนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก สศค. สำนักงาน ก.ล.ต. การดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วิวัฒนาการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2526 โดยกระทรวงการคลัง ได้ประกาศใช้บังคับฎกระทรวงฉบับที่ 162 ( พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นครั้งแรก โดยมีกฎหมายรองรับ ซึ่งได้กำหนดวิธีการเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ด้วย ต่อมา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2530 กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนสวัสดิการ และเป็นหลักประกันที่มั่นคงอย่างแท้จริง ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2542 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญโดยมีการประกาศแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยได้ออกพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 โดยกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2543 และมีบทเฉพาะกาล 1 ปี (สิ้นสุด ณ วันที่ 29 มีนาคม 2544) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) โดยให้กระทรวงการคลังทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและให้ถือว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนส่วนบุคคลประเภทหนึ่ง นอกจากนั้น ยังได้ปรับเปลี่ยนการจ่ายเงินเข้ากองทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และบรรเทาปัญหาการยกเลิกกองทุน ทางการจึงได้มีการปรับลดอัตราการจ่ายเงินขั้นต่ำเข้ากองทุนจากเดิมจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง มาเป็นร้อยละ 2 ของค่าจ้าง นับตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
สถานะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากอดีตสู่ปัจจุบัน 8.13% 6.31 % 17.36 % ล้านบาท 30 กันยายน 2548 จำนวนเงินกองทุน 330,290 ล้านบาท จำนวนกองทุน 555 กองทุน จำนวนนายจ้าง 6,977 ราย จำนวนสมาชิก 1,605,591 ราย 9.83 % 330,290 305,462 10.73 % 287,329 10.16 % 244,822 15.37 % 222,901 15.44 % 201,303 50.57 % 59.55 % 182,736 158,387 79.77 % 137,197 34.82 % 40.94 % 91,121 26.34 % 72.63 % 33.75 % 55,800 32.34 % 36.22 % 31.32 % 99.64 % 31,770 ความเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากการที่กระทรวงการคลังประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการระดมเงินออมแบบผูกพันในระยะยาวจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเริ่มต้นจากจำนวนเงินกองทุนเพียง 562 ล้านบาท จำนวน 159 กองทุน และนายจ้าง 154 ราย มีสมาชิกกองทุน 28,413 ราย และสมาชิกดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แม้ว่าในช่วงของวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2540 ทำให้บริษัทเอกชนซึ่งเป็นนายจ้างจำนวนมากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว จึงส่งผลกระทบให้การเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้หรือเงินกองทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ณ 30 กันยายน 2548 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้มีเงินกองทุนสูงถึง 330,289.71 ล้านบาท จำนวน 555 กองทุน และจำนวนนายจ้าง 6,977 ราย จำนวนสมาชิกกองทุน 1,605,591 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้กลายเป็นแหล่งที่มาของเงินออมที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่า - เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน เมื่อคิดเทียบกับ GDP แล้วคิดเป็นร้อยละ 4.34 ของ GDP - จำนวนนายจ้างที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 1.94 ของนายจ้างในระบบการจ้างงานทั้งประเทศ - และจำนวนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของลูกจ้างในระบบการจ้างงาน เท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ได้สะท้อนภาพให้เห็นว่า หากภาครัฐและภาคเอกชนหันมาร่วมมือกันอย่างจริงจังในการกระตุ้นและส่งเสริมการออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็จะมีช่องว่างอีกมากในการสร้างความเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอนาคต 115.78 % 23,564 16,719 4,048 5,316 7,110 9,685 3,204 562 1,122 2,421 มูลค่ากองทุน (ล้านบาท)
โครงสร้าง กบช. Defined Contribution ระบบบัญชีรายตัวสมาชิก เลือกรูปแบบการลงทุนด้วยตนเองได้ ครอบคลุมแรงงาน ~ 13 ล้านคน เบื้องต้นกำหนดการจ่ายเงินสะสม/สมทบ 3% ของค่าจ้าง ไม่มีการกำหนดเพดานเงินเดือน อายุเกษียณ 60 ปี ภาษีแบบ EEE ข้อเสนอโครงสร้าง กบช. เป็นระบบการออมที่มุ่งเสริมรายได้หลังเกษียณ (1) รูปแบบของระบบ (Defined Contribution) : โดยกำหนดอัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนแน่นอน (Defined Contribution) (2) รูปแบบบัญชี : มีการแยกบัญชีรายสมาชิก (3) รูปแบบการลงทุน : เลือกรูปแบบการลงทุนด้วยตนเอง เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (4) ความครอบคลุม (Coverage) : แรงงานในระบบทั้งหมดประมาณ 13 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ภาคเอกชน ภาครัฐบาล และภาครัฐวิสาหกิจ (5) การจ่ายเงินสะสม/สมทบ : ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินสะสมและสมทบเบื้องต้น ในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (6) เพดานเงินเดือน : ไม่กำหนดเงินเดือนขั้นต่ำ และเพดานเงินเดือน (7) การกำหนดอายุเกษียณ : 60 ปี (8) เงินกองทุนที่ได้รับหลังเกษียณอายุ : ได้รับเงินสะสม/สมทบ รวมทั้งผลประโยชน์ของเงินสะสม/สมทบ เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (9) สิทธิประโยชน์ทางภาษี : นายจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการนำเงินสมทบหักเป็นค่าใช้จ่ายและลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EEE โดยยกเว้นภาษีเงินสะสม เงินผลประโยชน์ของเงินสะสม/สมทบและเงินกองทุนทั้งหมดที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุ
การบริหารจัดการและการกำกับดูแล กบช. สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ บริหารจัดการกองทุน บริษัทจัดการลงทุน การจัดเก็บเงิน ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทจัดการลงทุน การจัดทำฐานข้อมูล จ้างหน่วยงานภายนอก การบริหารจัดการกองทุนและการกำกับดูแล : จัดตั้งสำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ National Pension Fund Authority (NPFA) เป็นหน่วยงานกลางซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง การบริหารจัดการกองทุน ดำเนินการโดยบริษัทจัดการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการการจัดการลงทุนส่วนบุคคล จากสำนักงาน ก.ล.ต. การจัดเก็บเงินและการจัดทำฐานข้อมูล อาจดำเนินการโดยผ่านระบบธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทจัดการลงทุน สำหรับการจัดทำฐานข้อมูล จะจัดจ้างหน่วยงานภายนอกทำหน้าที่ในการจัดเก็บ
การบริหารจัดการและการกำกับดูแล กบช. ผู้กำหนดนโยบาย คณะกรรมการนโยบายเงินออมเพื่อการชราภาพ สำนักงานประกันสังคม (สปค.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ผู้กำกับดูแล กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) กองทุนชราภาพ (P1) กบข. (P2) กบช.+ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (P2+P3) กองทุน การบริหารจัดการและการกำกับดูแล กบช. การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเงินออมเพื่อการชราภาพ - โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน - เพื่อกำหนดนโยบายภาพรวมในระบบการออมเพื่อการชราภาพ และเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนเพื่อ การชราภาพทั้ง 3 ระดับชั้น ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ - เพื่อให้แต่ละกองทุนอยู่ภายใต้คณะกรรมการเดียวกัน - ซึ่งจะทำให้การกำหนดนโยบายการออมมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมศูนย์การบริหาร รวมศูนย์การบริหาร กระจายการบริหาร กระจายการบริหาร การจัดการกองทุน
ผลที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน กบช. รายได้หลังเกษียณเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินออมในประเทศเพิ่มขึ้น สร้างความยั่งยืนทางการคลัง ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนในประเทศ ผลที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน กบช. รายได้หลังเกษียณเพิ่มขึ้น : โดยการจัดตั้ง กบช. จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเกิดความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการเพื่อการชราภาพในระยะยาวและช่วยแก้ไขปัญหาของ Pillar 1 ที่แรงงานไม่สามารถนำประโยชน์ทดแทนหลังเกษียณอายุมาใช้จ่ายในการดำรงชีพได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ การจ่ายอัตราสะสม/สมทบ ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง จะทำให้แรงงานมีรายได้หลังเกษียณจาก กบช. เป็นร้อยละ 17 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย ซึ่งเมื่อรวมกับรายได้หลังเกษียณจากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ อีกร้อยละ 13 ของเงินเดือนเดือนสุดท้ายจะได้รับรวมร้อยละ 30 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย และในระยะต่อไปเมื่อปรับเพิ่มอัตราสะสม/สมทบ เป็นร้อยละ 6 ของค่าจ้าง จะได้รับผลประโยชน์หลังเกษียณรวมเป็นร้อยละ 47 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินออมเพิ่มขึ้น : เงินออมที่เพิ่มขึ้นซึ่งได้จากแรงงานที่เป็นสมาชิกใหม่ของ กบช. ในช่วงปี 2548 – 2551 เฉลี่ยปีละ 90,326.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.24 ของ GDP การสร้างความยั่งยืนทางการคลัง : การจัดตั้งกองทุน กบช. จะเป็นการจ่ายเงินสะสม/สมทบ จากนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น และเป็นระบบบัญชีรายตัว สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ตามบัญชีของตนเอง อีกทั้งการจัดตั้ง กบช. เป็นการส่งเสริมให้แรงงานเก็บออมเงินไว้ในยามเกษียณด้วยตนเองอย่างทั่วถึงกับแรงงานทุกคน ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจัดสรรงบประมาณเข้าดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ กองทุน กบช. จะทำให้ผู้เกษียณอายุสามารดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนรุ่นใหม่ หรือพึ่งพาภาษีซึ่งเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องนำไปจุนเจือคนเหล่านั้น อย่างไรก็ดี การเสนอให้ปรับปรุงระบบประกันสังคมกรณีชราภาพ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้กองทุนอยู่ได้ด้วยตัวกองทุนเองนานขึ้น ทำให้รัฐบาลยังไม่ต้องมีภาระการจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินทดรองราชการหากเงินกองทุนไม่เพียงพอ ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนในประเทศ เนื่องจากเงินออมในกองทุนเหล่านี้จะส่งผลให้เงินลงทุนระยะยาวจากผู้ลงทุนประเภทสถาบันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการซื้อขายและความมั่นคงของตลาดทุน จะส่งผลให้ตลาดทุนมีเสถียรภาพมากขึ้น และลดความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน โดยเฉพาะการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการพัฒนาตราสารรูปแบบใหม่ ๆ ในตลาดตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นด้วย
ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังจัดตั้ง กบช. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ปริมาณเงินออมใหม่ผ่านกองทุน Pillar 3 อาจมีอัตราการเติบโตช้าลง ปริมาณเงินออมเดิมที่มีอยู่ในกองทุน Pillar 3 อาจลดขนาดลงในระยะแรก :- PVD ที่จ่าย ณ อัตรา 2 % ของค่าจ้าง อาจยกเลิกกองทุน PVD PVD ที่จ่าย > 3 % ของค่าจ้าง จะโอนมา กบช. และยกเลิกกองทุน PVD ส่วนที่ > 3% ของค่าจ้าง ทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจัดตั้ง กบช. ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงทิศทางของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังจัดตั้ง กบช. ซึ่งท่านผู้มีเกียรติทุกท่านในที่นี้ต่างก็เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์เรื่องของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นอย่างดี และเป็นที่ทราบกันว่า ในปัจจุบัน กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอนุญาตให้มีการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 2 – 15 ของค่าจ้าง ซึ่งโครงสร้างการจัดเก็บเงินของ กบช. ในระยะเริ่มแรกจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง นอกจากนี้ กองทุนทั้งสองดังกล่าวข้างต้น ต่างเป็น Defined Contribution เพียงแต่แตกต่างกันที่ กบช. เป็นกองทุนภาคบังคับหรือที่เรียกว่า Pillar 2 สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนภาคสมัครใจ หรือที่เรียกว่า Pillar 3 ในระบบ Multi – Pillar ของสากลนั่นเอง ดังนั้น การจัดตั้ง กบช. ขึ้นในระยะแรกอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใหม่ หรือการดำเนินงานของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เดิมที่จัดตั้งอยู่ก่อนแล้วบ้าง ดังนี้ ปริมาณเงินออมใหม่ผ่านกองทุน Pillar 3 อาจมีอัตราการเติบโตช้าลง เนื่องจากต้องหันไปจัดตั้งกองทุน กบช. ภาคบังคับแทน ปริมาณเงินออมเดิมที่มีอยู่ในกองทุน Pillar 3 อาจลดขนาดลงในระยะแรก ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ 1. กรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จ่ายเงินสะสม/สมทบที่ระดับอัตราร้อยละ2 ของค่าจ้าง อาจยกเลิกกองทุน 2. กรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จ่ายเงินสะสม/สมทบที่ระดับมากกว่าอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง เมื่อมีกองทุน กบช. เกิดขึ้น ต้องมีการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ระดับร้อยละ 3 ของค่าจ้างมาเข้าบัญชี กบช. ดังนั้น ส่วนที่มากกว่าอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ซึ่งยังคงสภาพเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจเกิดการยกเลิกกองทุนได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา 1. กรณีอนุญาตให้โอนเงิน PVD ไป กบช. ก. ข. ค. PVD เดิม ใหม่ ก. PVD 2% กบช. 3% จ่ายเพิ่ม 1% ข. PVD 2% PVD 2% จ่ายต่อในอัตราเดิม จ่ายต่ำกว่าอัตราเดิม หยุดจ่าย กบช. 3% + แนวทางการแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นไว้ โดยการดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกองทุน กบช. ขึ้นใหม่ ดังนี้ 1. กรณีการอนุญาตให้โอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปสู่กองทุน กบช. (1) กรณีที่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจ่ายเงินเข้ากองทุนในปัจจุบัน อยู่ในอัตราที่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ซึ่งเป็นอัตราการจ่ายเข้ากองทุน กบช. สามารถดำเนินการได้ 2 ทางเลือก ได้แก่ ก. นายจ้างและลูกจ้างแต่ละรายจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นอีก 1 %เป็นฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง แล้วโอนเงินดังกล่าวมาเป็นบัญชี กบช. นับตั้งแต่วันที่ กบช. มีผลใช้บังคับ สำหรับวงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมที่เคยจ่ายในอัตราเดิมมาก่อนที่วัน กบช. มีผลใช้บังคับ จะเปิดโอกาสให้คงสภาพความเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไป ทั้งนี้ จะอนุญาตให้นายจ้างและลูกจ้างสมัครใจจะจ่ายสะสม/สมทบเข้ากองทุนในอัตราเท่าใดก็ได้ หรือไม่ต้องสมทบเพิ่มก็ได้ หรืออนุญาตให้ยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมก็ได้ หากถือว่าเป็นภาระมากจนเกินไป ข. นายจ้างและลูกจ้างประสงค์จะจัดตั้ง กบช. ขึ้นใหม่ แยกต่างหากจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ทางการจะอนุญาตให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถเลือกที่จะจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราเดิม ต่ำกว่าเดิม หรือจะหยุดจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกต่อไปก็ได้ ค. นายจ้างและลูกจ้างที่จ่ายเข้ากองทุนตั้งแต่ร้อยละ 3 ของค่าจ้างขึ้นไป มี 2 ทางเลือก ดังนี้ - นายจ้างและลูกจ้างสามารถปรับเปลี่ยนหรือโอนเงินในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้างมาเป็นบัญชี กบช. ณ วันที่ กบช. มีผลใช้บังคับ ส่วนที่เหลือสามารถคงเป็นบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไป ทั้งนี้ นายจ้างและลูกจ้างสามารถที่จะเลือกจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปในอัตราเท่าใดก็ได้ หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่มก็ได้ หรืออาจจะยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมก็ได้ - นายจ้างและลูกจ้างที่ประสงค์จะจัดตั้ง กบช. ขึ้นใหม่โดยจะยังคงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้เหมือนเดิม ก็สามารถกระทำได้ โดยทางการอนุญาตให้จ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราเดิม หรือต่ำกว่าเดิม หรือจะหยุดจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไปก็ได้ ค. PVD 3% PVD ส่วนที่เหลือ จ่ายต่อในอัตราเดิม จ่ายต่ำกว่าอัตราเดิม หยุดจ่าย กบช. 3% +
แนวทางแก้ไขปัญหา (ต่อ) 2. กรณีอนุญาตให้ผู้ที่จัดตั้ง PVD ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดตั้ง กบช. เดิม ใหม่ ก. PVD 2% PVD/กบช. 3% ห้ามยกเลิก ตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศบังคับใช้ จ่ายเพิ่ม 1% ข. PVD 3% PVD/กบช. 3% ห้ามยกเลิกในส่วน 3% ตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศบังคับใช้ 2. กรณีการอนุญาตให้ผู้ที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาก่อนได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดตั้งกองทุน กบช. กำหนดเป็นข้อยกเว้นให้สำหรับภาคเอกชนที่ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่เดิมให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดตั้งกองทุน กบช. เนื่องจากถือว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Pillar 3) เป็นสวัสดิการที่นายจ้างได้จัดให้ลูกจ้างที่ดีกว่ากองทุน กบช. อยู่แล้ว การดำเนินการแก้ไขกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับกฎหมาย กบช. ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนภาคสมัครใจ แต่กองทุน กบช. เป็นกองทุนภาคบังคับ ดังนั้น หากทางการอนุญาตให้ผู้ที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่เดิม ไม่ต้องจัดตั้งกองทุน กบช. ก็ต้องมีข้อกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมเปลี่ยนข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยผู้ที่จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องจ่ายเข้ากองทุน กบช. ในอัตราที่กองทุน กบช. กำหนด (ร้อยละ 3 ของค่าจ้าง) ดังนั้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใดที่จ่ายในอัตราร้อยละ 2 ของค่าจ่ายก็จะต้องเพิ่มอัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนให้เท่ากับอัตราขั้นต่ำที่กองทุน กบช. กำหนดไว้ นอกจากนี้ จะต้องดำเนินการแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยการกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินออกจากกองทุนให้สอดคล้องกับสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับจากกองทุน กบช. ทั้งนี้ ลูกจ้างจะต้องได้รับไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกองทุน กบช. รวมทั้งจะต้องมีกฎเกณฑ์ห้ามถอนเงินในอัตราขั้นต่ำของส่วนที่กองทุน กบช. กำหนดโดยเริ่มเกณฑ์นับ ณ วันที่ทางการประกาศใช้บังคับกฎหมาย กบช. ทั่วประเทศ
แนวทางแก้ไขปัญหา (ต่อ) 3. กำหนดกรอบ TAX ที่แตกต่างกัน EET กบช. EEE PVD 4. โครงการสัมมนา & ประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ 3. การกำหนดกรอบของสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่แตกต่างกัน การจัดตั้งกองทุน กบช. ในระยะเริ่มแรกอาจส่งผลกระทบให้เม็ดเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถ่ายเทไปสู่กองทุน กบช. ได้ แต่รัฐบาลเชื่อมั่นว่าในระยะยาวจะมีการปรับตัวเข้าสู่สมดุล ทั้งนี้ จากการศึกษาระดับการออมของต่างประเทศที่มีการจัดตั้งกองทุนภาคบังคับขึ้น พบว่าในระยะปานกลางถึงระยะยาวไม่ได้มีผลกระทบต่อปริมาณเงินออมของกองทุนภาคสมัครใจให้ลดลงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอาจใช้มาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนหันมาออมในภาคสมัครใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องมีการกำหนดความแตกต่างของสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กองทุน กบช. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับให้ชัดเจน โดยปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EEE (ได้รับยกเว้นภาษีของเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์และเงินก้อนที่รับเมื่อเกษียณอายุด้วย) ดังนั้น ในส่วนของกองทุน กบช. จึงควรกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EET แทน ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการที่รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อจูงใจให้มีการออมผ่านกองทุน กบช. (Pillar 2) แต่ไม่ควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับการออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Pillar 3) ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการไหลออกของเม็ดเงินจาก Pillar 3 นั่นเอง 4. ภาครัฐจะร่วมกับภาคเอกชนโดยจัดให้มีการสัมมนาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน ถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุน กบช. พร้อมผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาว นอกจากนี้ ยังเห็นควรเสนอให้กำหนดหลักสูตรเกี่ยวกับการออมและประโยชน์ที่ผู้ออมจะได้รับในแผนการศึกษาของชาติ เพื่อปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม และเพื่อให้เยาวชนทราบถึงประโยชน์ของการออมที่จะได้รับในอนาคตด้วย
การส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน - การขอรับเงินรายงวดเมื่อเกษียณอายุ - การรับรับโอนเงินจาก กบข. ได้ - การเปิดโอกาสให้การจัดตั้งกองทุนมีหลายนโยบายการลงทุนได้ การแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 เมื่อมีกองทุน กบช. - ยกเลิกอัตราขั้นต่ำและเพดานขั้นสูงในการจ่ายเงินสะสมสมทบ - สามารถจัดตั้งกองทุนขาเดียวได้ - ให้สมาชิกสามารถย้ายเงินกองทุนได้เมื่อย้ายงาน และสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้เมื่อเกษียณอายุ เป็นต้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กองทุนชั้นที่ 3 : Pillar 3) ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เสนอแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1. การให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพ เนื่องจากการเกษียณอายุ มีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด และดำรงสมาชิกภาพในกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน 2. การให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถรับโอนเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ 3. การเปิดโอกาสให้การจัดตั้งกองทุนมีหลายนโยบายการลงทุนได้โดยให้สมาชิกเป็นผู้เลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดตั้งกองทุน กบช. ซึ่งเป็นกองทุน Pillar 2 ภาคบังคับ และการดำเนินการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นกองทุน Pillar 3 ซึ่งเป็นการออมภาคสมัครใจสามารถส่งเสริม เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน เพื่อให้ระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุแบบผูกพันระยะยาวของประเทศไทยสามารถดำเนินการไปได้อย่างเป็นระบบ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เพื่อส่งเสริมการออมภาคสมัครใจ ดังนี้ 1. ยกเลิกอัตราขั้นต่ำ และเพดานสูงสุดในการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนฯ 2. การเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราที่มากกว่านายจ้างจ่ายได้ 3. ให้มีการจัดตั้งกองทุนขาเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกกองทุนได้ 4. ให้สมาชิกสามารถย้ายเงินกองทุนได้เมื่อย้ายงาน (Portability) และสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้เมื่อเกษียณอายุ เป็นต้น
ขอขอบคุณ PVD กบช PVD บทสรุป แนวทางการจัดตั้งกองทุน กบช. ได้มีการศึกษา วิจัยถึงความเหมาะสมจากหลายองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งต่างก็ได้ข้อสรุปเหมือนกันว่า ประเทศไทยควรมีกองทุน กบช. หรือกองทุน Pillar 2 เพื่อประโยชน์ของแรงงานหลังเกษียณอายุอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ไม่ได้ละเลย หรือมองข้ามผลกระทบที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับ ซึ่งอาจจะมีบ้างในระยะแรกของการจัดตั้งกองทุน กบช. เท่านั้น ทั้งนี้ ได้มีการเตรียมการเพื่อหามาตรการในการรองรับ และแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น โดยจะมีการแต่งตั้งคณะเตรียมการจัดตั้งกองทุน กบช. พร้อมทั้งพิจารณาการแก้ไขกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน ตลอดจน หามาตรการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีเกียรติทั้งหลายในที่นี้สามารถเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายต่อกระทรวงการคลังเพื่อส่งเสริมการออมแบบ Multi-Pillar ของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป ขอบคุณครับ ขอขอบคุณ