ทฤษฎีพัฒนาการของ Piaget (Piaget’s Theory of Cognitive Development) ผศ.นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development) ความเจริญงอกงาม ด้านความสามารถ ในการคิด ของแต่ละบุคคล
พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด พัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่แรกเกิด ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จัก “ตน” (self) เพราะตอนแรกเด็กจะยังไม่สามารถแยก “ตน” ออกจากสิ่งแวดล้อมได้
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล (equilibrium)
การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ 1. กระบวนการดูดซึม (assimilation) 2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation)
The learner is advanced through three mechanisms. 1. Assimilation กระบวนการดูดซึม - fitting a new experience into an exisiting mental structure(schema). เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบ หรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของ สติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการ ตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2. Accomodation กระบวนการปรับโครงสร้าง - revising an exisiting schema because of new experience. การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา
การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม 3. Equilibrium - seeking cognitive stability through assimilation and accomodation. การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่ การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องเหมาะสมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับเข้ามา
ดังนั้น สติปัญญาจึงเกิดจากการปรับแนวคิดและพฤติกรรมจนเข้าสู่ภาวะสมดุล การปรับแนวคิดและพฤติกรรมจะทำให้เกิดภาวะสมดุลแล้วเกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาขึ้น (cognitive structure) ดังนั้น สติปัญญาจึงเกิดจากการปรับแนวคิดและพฤติกรรมจนเข้าสู่ภาวะสมดุล
Assimilation and Accommodation in Cognitive Development
Schemes of Learning
สรุปพัฒนาการสติปัญญา บุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่าง คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation)
Piaget แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญา 4 ขั้น ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการ (Preoperation Stage) ขั้นที่ 3 ขั้นความคิดรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นที่ 4 ขั้นความคิดนามธรรม (Formal Operation Stage)
Comparing Erikson's and Piaget's Stages
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ขวบ ส่วนใหญ่ใช้การรับรู้โดยอาศัยระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5
ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการ (Preoperation Stage) อายุ 2 – 7 ขวบ เกี่ยวกับการใช้ภาษา เด็กสามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง เหตุการณ์และความรู้สึกได้ มักใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเล่น
เด็กอายุ 2 – 4 ขวบ จะถือตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric thought or egocentrism)
การเล่นเกมปิดตาซ่อนหา เด็กจะเข้าใจว่าคนที่ซ่อนนั้นหายไป
เด็กจะไม่เข้าใจในหลักความคงที่ (principle of conservation) ไม่เข้าใจในเรื่องปริมาณ จำนวนของวัตถุที่ไม่เปลี่ยนแม้รูปร่างจะเปลี่ยนจากลักษณะของบรรจุภัณฑ์
Children's Perception of Conservation of Liquid
ในขั้นเตรียมการ (Preperational Period) เด็กจะตอบว่าน้ำในกระบอกแก้ว ทรงสูงจะมีปริมาณมากกว่าน้ำในกระบอกแก้วทรงเตี้ย * ในขั้นความคิดรูปธรรม (Concrete Operational Period) เด็กจะตอบว่าปริมาณน้ำในกระบอกแก้ว C จะเท่ากับปริมาณน้ำในกระบอกแก้ว A
Children's Perception of Conservation of Mass
เด็กจะพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับความคงที่ของจำนวน (number) มวล (mass) ความยาว(length) และพื้นที่(area)
ขั้นที่ 3 ขั้นความคิดรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7 – 12 ปี ใช้ความคิดเชิงเหตุผล เรื่องความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความคิดในมุมกลับหรือการคิดกลับไปกลับมาได้ (reversibility) รู้จักการคิดจัดประเภทและการจัดลำดับ
จัดกลุ่มวัตถุเข้าเป็นหมวดหมู่กันได้ เริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เข้าใจเรื่องปริมาณ ขนาดน้ำหนัก เรียนรู้เรื่องจำนวนและตัวเลขได้ง่ายขึ้น
ขั้นที่ 4 ขั้นความคิดนามธรรม (Formal Operation Stage) อายุ 12 ปี – ผู้ใหญ่ เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคมดีขึ้น มีความสามารถในการใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหา การพัฒนาการทางด้านความคิดเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถตีความหมายและทดสอบข้อพิสูจน์ต่าง ๆ ได้
มีความคิดรวบยอด (abstract) เข้าใจนามธรรม (formal) เข้าใจในหลักตรรกศาสตร์ (logical) เข้าใจการอนุมานและนำไปสู่การสรุปอย่างมีเหตุผลได้ (Hypothetical-deductive reasoning)