งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๓ ENL 3701

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๓ ENL 3701"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๓ ENL 3701
รศ. ดร. อุทัย ภิรมย์รื่น

2 หน่วยที่ ๒ การอ่านคืออะไร
หัวข้อการเรียน ๑. คำจำกัดความของการอ่าน ๑.๑ การถอดรหัสภาษา (Decoding process) ๑.๒ การค้นหาความหมาย (Meaning seeking) ๒. ธรรมชาติและกระบวนการการอ่านในระยะเริ่มเรียน ๒.๑ การใช้สายตาและประสาทสัมผัส (Eye movement and sensory process) ๒.๒ กระบวนการทางสมอง (Cognitive)

3 คำจำกัดความของการอ่าน
๑. กระบวนการถอดรหัสภาษา (Decoding process) ๑.๑ การสัมพันธ์สัญลักษณ์เข้ากับเสียงในคำพูด เป็นการผสมอักษร หรือword callingหรือการแจกลูก เช่น ก + า = กา h + e = he, b+oy=boy , etc. ๑.๒ การออกเสียงคำพูด (Phonics) เช่น boy /bo:y/ toy /to:y/ me /me:y/, we /we:y/ ,etc. ๑.๓ การสะกดคำ (Spelling) b+oo+k = book, h+o+m+e= home, d+o+n+e=done, etc.

4 ปัญหาที่ควรพิจารณา ๑. การอ่านออกเสียงคำพูด เช่นการผสมอักษร การสะกดคำ ช่วยให้สร้างคำขึ้นมาได้ แต่ไม่ทราบความหมายของคำ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร ๒. ภาษาอังกฤษมีการออกเสียงไม่ตรงตามตัวอักษร หรือเขียนได้หลายแบบจะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร เช่น h+e=he:, d+o=dow, d+o=du:, womb=wu:m, women=we:men, etc. ๓. Word calling หรือ Phonic method มีข้อจำกัดในการอ่านหรือไม่ อย่างไร

5 การอ่านเป็นการค้นหาความหมาย
๑. การอ่านมีกระบวนการ ๒ ขั้น คือ การรับรู้และเข้าใจความหมายของสาร (message)ที่ถ่ายทอดทางภาษาเขียน คู่ขนานกับสารที่ถ่ายทอดทางภาษาพูด เช่น ภาษาเขียน Good morning อ่านว่า /gu:d mo:r niŋ/ มีความหมายว่า สวัสดี (ตอนเช้า) เป็นคำทักทาย เป็นการแปลความหมายจากเสียงที่ได้ยิน หรือจากตัวหนังสือที่เขียน ๒. การอ่านเป็นปฎิสัมพันธ์ (interaction)ระหว่างประสบการณ์ทางจิตของผู้อ่านและคำศัพท์ และข้อมูลทางไวยากรณ์ที่ถ่ายทอดทางสัญลักษณ์ภาษาเขียน

6 การอ่านเป็นปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
การอ่านเป็นปฏิสัมพันธ์ในสามส่วนคือ ๑. วัสดุที่อ่าน ๒. ความรู้เดิมของผู้อาน ๓. การใช้สติปัญญาและกิจกรรมทางกายภาพและเหตุผล

7 การอ่านเป็นการใช้ความคิดหรือทักษะในการหาเหตุผล
๑. การอ่านคือการใช้ความคิดหาเหตุผล ๒. การอ่านเป็นกระบวนการที่มีความคิดเป็นศูนย์กลาง โดยความหมายจะแทรกอยู่ในสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนหน้ากระดาษ ๓. การอ่านเป็นการสุ่มตัวอย่าง การคัดเลือก การทำนาย การเปรียบเทียบและการยืนยัน โดยผู้อ่านเลือกตัวชี้แนะที่เป็นตัวเขียน

8 การอ่านเป็นกระบวนการทางสังคม (Social Process)
๑. การเชื่อมโยงผู้อ่านไปยังสิ่งแวดล้อมและมีเงื่อนไข ๒. เป็นประสบการณ์รองที่ผู้อ่านได้รับ เนื้อหาสาระ<-> ประสบการณ์ <->สิ่งแวดล้อม->เงื่อนไข

9 การอ่านเป็นกระบวนการพหุมิติ (multi-dimension)
๑. เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน ๒. มีปฏิสัมพันธ์หลายระดับของพฤติกรรมที่มีความมุ่งหมาย ๓. ผู้อ่านค้นหาความหมายจากข้อเขียนของผู้เขียน ๔. ความหมายมีทั้งตามตัวอักษร แฝงอยู่อารมณ์ของผู้เขียน น้ำเสียง ความจงใจ เจตคติต่อผู้อ่านและผู้เขียนเอง

10 ส่วนประกอบสำคัญของการอ่าน
๑. การรับรู้และจดจำตัวอักษร(letter and word perception/recognition) ๒. การทำความเข้าใจแนวความคิด (comprehension of the concepts) จากคำภาษาเขียน ๓. การแสดงปฏิกิริยา(reaction) และการซึมซับ (assimilation)เอาความรู้ใหม่โดยอาศัยพื้นฐานจากประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน (Lapp & Flood)

11 ประเด็นที่ควรอภิปรายและตอบคำถาม
๑. คำกล่าวที่ว่า”การอ่านเป็นกิจกรรมทางปัญญา ” หมายความว่าอย่างไร และมีผลสะท้อนต่อผู้อ่านในลักษณะใดบ้าง ๒. การค้นหาความหมายจากการอ่านจะบรรลุผลได้ต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนในด้านใดบ้าง ๓. การอ่านกับการคิดเหมือนกันหรือแตกต่างกัน การอ่านที่ไม่ใช้ความคิดจะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง ๔. คำกล่าวที่ว่า “การอ่านเป็นกระบวนการทางสังคม” มีความหมายอย่างไร เราจะใช้การอ่านในSocial networksให้เป็นประโยชน์ได้หรือไม่ และอย่างไร


ดาวน์โหลด ppt หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๓ ENL 3701

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google