ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ By Juthawut Chantharamalee Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
บทที่ 5 แรม (RAM) บทที่ 2 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
บทนำ หน่วยความจำหลักหรือแรม (RAM) คำว่า RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ในการพักข้อมูลก่อนทำ การส่งไปยังซีพียู เมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแล้วจะนำข้อมูลดังกล่าวมาพักไว้ที่ แรมอีกครั้งก่อนที่นำไปแสดงผลตามคำสั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลเฉพาะ เวลาที่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อปิดเครื่องหน่วยความจำดังกล่าวจะถูกลบไปด้วย Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ประเภทของหน่วยความจำแรม หน่วยความจำแรมแบ่งออกตามโครงสร้างของการผลิตได้ดังนี้ 1. SRAM (Static RAM) เป็นหน่วยความจำแรมที่ผลิตจากทรานซิสเตอร์ที่มี ความเร็วสูง ราคาแพง เป็นหน่วยความจำที่ถูกนำไปใช้ในหน่วยความจำแคชสำหรับซีพียูและ เมนบอร์ด 2. DRAM (Dynamic RAM) เป็นหน่วยความจำแรมที่ผลิตที่มีคุณสมบัติที่ มีความประหยัดไฟฟ้า ได้ถูกนำมาเป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ หากมี ไฟฟ้าหล่อเลี้ยงหน่วยความจำจะบันทึกข้อมูลไว้ได้ เมื่อปิดไฟฟ้าข้อมูลที่หน่วยความจำได้เก็บ ไว้จะสูญหายไปทันที Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ชนิดของแรม หน่วยความจำแรมแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้ 1. EDO RAM หน่วยความจำแรมแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้ 1. EDO RAM EDO RAM ย่อมาจาก Extended Data Output RAM เป็นแรม ประเภท DRAM แต่มีความเร็วสูงกว่า แรมรุ่นผลิตเพื่อใช้กับเครื่องรุ่น 286, 386 ทำงานแบบ 32 บิต และเครื่องรุ่น 486 ทำงานแบบ 64 บิตเป็นแรมสำหรับเครื่องรุ่น Pentium มีจำนวนขาสัญญาณ 72 ขา เป็นสล๊อตแบบ SIMM (Single Inline Memory) ปัจจุบันแรมประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยม แสดงได้ดังรูปที่ 5.1 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
รูปที่ 5.1 รูปแสดงแรมชนิด EDO RAM Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ชนิดของแรม 2. SDRAM SDRAM ย่อมาจาก Synchronous DRAM เป็นแรมที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีจำนวนขาสัญญาณ 168 ขา เพื่อใช้เสียบกับสล๊อตแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ขนาด 64 บิต สำหรับเครื่องที่มีความเร็วบัสตั้งแต่ 100-133 MHZ เป็นภาวะการทำงานของซีพียูที่ไม่ต้องรอคอยการทำงานของแรมอีก ต่อไป ซึ่งเรียกว่า Wait State ในปัจจุบัน SDRAM ที่ผลิตได้ใช้สถาปัตยกรรมการ ผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ขนาดมาตรฐานที่ใช้กันมากคือ 128 MB และได้ผลิตขนาด เพียง 0.13 ไมครอน ทำให้สามารถผลิตให้มีขนาดความจุได้สูงถึง 256 MB แรมรุ่นนี้ บางรุ่นเพิ่มประสิทธิภาพด้าน ECC (Error Correction Code) มีการเพิ่มบิต พิเศษเรียกว่า Parity บิตใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้อง แสดงได้ดังรูปที่ 5.2 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
รูปที่ 5.2 รูปแสดงแรมชนิด SDRAM Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ชนิดของแรม 3. DDR SDRAM DDR SDRAM ย่อมาจาก Double Data Rate SDRAM เป็นแรมที่ ถูกพัฒนาจาก SDRAM โดยมีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยมี หลักการทำงานใช้หลักการเปลี่ยนช่วงระดับสัญญาณนาฬิกามาใช้คือให้สามารถทำงานได้ทั้ง ขาขึ้นและขาลง โดยใช้ความเร็วในการทำงานเท่ากัน มีขนาดความจุตั้งแต่ 128 MB ขึ้น ไปมีลักษณะแผงสำหรับเสียบในสล๊อตแบบ DIMM มีจำนวนขาสัญญาณ 184 pin มี ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสูงกว่า SDRAM มีแรงดันไฟฟ้า 2.5 V ด้วย ประสิทธิภาพของแรมจึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แสดงได้ดังรูปที่ 5.3 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
รูปที่ 5.3 รูปแสดงแรมชนิด DDR SDRAM Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ชนิดของแรม 3. DDR SDRAM ในปัจจุบัน DDR RAM แต่ละรุ่นถูกพัฒนาความเร็วดังนี้ 1. DDR ความเร็ว 333 MHz, 400 MHz 2. DDR 2 ความเร็ว 667 MHz, 800 MHz, 1066 MHz 3. DDR 3 ความเร็ว 1066 MHz, 1333 MHz, 1600 MHz ซึ่ง DDR 2 RAM และ DDR 3 RAM สามารถแสดงได้ดังรูปที่ 5.4 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
รูปที่ 5.4 รูปแสดงความแตกต่างระหว่าง DDR 2 และ DDR 3 RAM Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ชนิดของแรม 4. RDRAM RDRAM ย่อมาจาก RAMBUS DRAM เป็นแรมที่ได้รับการพัฒนารูปแบบ การทำงานขึ้นมาใหม่โดยบริษัท RAMBUS ใช้เทคนิคการรับส่งข้อมูลด้วยความถี่สูง ใช้สัญญาณขาขึ้นและขาลงมากำหนดให้แรมทำงาน มีความกว้างสำหรับรับส่งข้อมูล8 หรือ 16 บิต มีอัตราการรับส่งข้อมูล 800 MB ต่อวินาทีในแต่ละช่องของแรม หากใช้แรมใน การติดตั้งเครื่องจะเท่ากับ 64 บิตเท่ากัน SDRAM มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล สูงถึง 3.2 GB ต่อวินาที RDRAM มีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับ SDRAM และ DDR SDRAM แสดงได้ดังรูปที่ 5.5 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
รูปที่ 5.5 รูปแสดงชนิด RDRAM Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
การติดตั้งแรม การติดตั้งแรมแบ่งการติดตั้งออกตามชนิดของแรมดังนี้ 1. ติดตั้ง EDO DRAM ในการติดตั้งแรมรุ่นนี้กระทำได้โดยการเสียบในสล๊อต ตรงๆ พลาสติกตัวล๊อกจะงับขอบของแรมโดยอัตโนมัติ หรือบางรุ่นจะต้องวางแบบตะแคง ก่อน แล้วผลักให้ตรงๆ จะมีแขนพลาสติกเป็นตัวล๊อกเข้ากับช่องเล็กๆ บนแรมทั้ง 2 ข้าง 2. ติดตั้ง SDRAM ในการติดตั้งแรมรุ่นนี้กระทำได้โดยการเสียบในสล๊อตแบบ DIMM จะมีแขนล๊อคพลาสติกที่ปลายทั้งสองข้างงับอยู่ เวลาติดตั้งให้ง้างทั้ง 2 ข้าง ออกก่อนแล้วจึงนำแรมกดลงในสล๊อตของแรมตรงๆ แขนล๊อคจะกระดกกลับมาล๊อคปลาย ทั้ง 2 ข้างของแรม รูปที่ 5.6 แสดงวิธีการติดตั้งแรมลงบนเมนบอร์ด Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
รูปที่ 5.6 แสดงการติดตั้งแรมบนเมนบอร์ด รูปที่ 5.6 แสดงการติดตั้งแรมบนเมนบอร์ด Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
The End Unit 5 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)