การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม โชคชัย บุตรครุธ
12. การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม 12. การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม 12.1 สาเหตุการเกิด วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมจากการละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วมเป็นผลกระทบของ “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” ซึ่งทำให้โลกร้อนหรือมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นสาเหตุทำให้ธารน้ำแข็ง บริเวณขั้วโลกละลายตัวอย่างรวดเร็วกว่าปกติ
12. การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม 12.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อธารน้ำแข็งในแถบขั้วโลกใต้และขั้วโลกเหนือละลายตัวจากการภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโลก ดังนี้ (1) ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดน้ำท่วมชายฝั่งทะเล ชายหาด เกาะ (2) เกิดน้ำท่วมใหญ่อย่างฉับพลัน ภาวะโลกร้อนจะทำให้หิมะบนเทือกเขาหิมาลัยและภูเขาน้ำแข็งในแถบเอเซียใต้ละลาย
12. การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม (3) พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม มนุษย์สูญเสียแหล่งอาหาร และเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ (4) สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ในท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป ทำให้นกเพนกวิน หมีขั้วโลก และแมวน้ำ ต้องอพยพไปหาที่อยู่และแหล่งอาหารใหม่
12. การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม (5) การตั้งถิ่นฐานและวิธีการดำเนินชีวิตของชนเผ่าในแถบขั้วโลกต้องเปลี่ยนแปลงไป (6) เกิดภัยธรรมชาติจากหิมะถล่ม ธารน้ำแข็งในเขตเทือกเขาคอเคซัส (Caucasus) ละลาย ทำให้ชั้นก้อนน้ำแข็งบนเทือกเขาเกิดรอยร้าวยาวนับร้อยกิโลเมตร
12. การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม (7) แผนที่โลกและลักษณะทางภูมิศาสตร์ของทวีปต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อเกิดน้ำท่วม เช่น พื้นที่ชายฝั่งทะเล เกาะ และทะเลสาบ
13. การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี 13. การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี 13.1 ขยะเทคโนโลยี หมายถึง ซากสินค้าอิเลกทรอนิกส์ที่เสียหรือหมดอายุใช้งานแล้วจากประเทศอุตสาหกรรม ได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยขนส่งทางเรือและลักลอบนำมาทิ้งในประเทศในทวีปเอเซีย เนื่องจากเสียต่าใช้จ่ายถูกกว่าการกำจัดขยะพิษดังกล่าวในประเทศของตนเอง
13. การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี 13. การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี 13.2 ผลกระทบจากปัญหาขยะเทคโนโลยี มีการถอดอะไหล่ ชิ้นส่วนหรือโลหะเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ แต่ซากที่เหลือจะปล่อยทิ้งไว้เป็นกองขยะ ซึ่งมีสารพิษตกค้างและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพร่างกายของมนุษย์โดยตรง เช่น สารปรอท สารแคดเมี่ยม และสารตะกั่ว เป็นต้น