แผนที่เพื่อการศึกษา ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โชคชัย บุตรครุธ
1.ความหมายของแผนที่ แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยย่อส่วนลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนผิวโลกให้เป็นแผ่นภาพ ที่เรียกว่า “แผนที่”
2.ข้อมูลในแผนที่ ข้อมูลในแผนที่ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนพื้นที่โลกและถูกถ่ายทอดลงบนแผนที่ตามมาตรส่วนที่ต้องการ โดยใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเช่น ที่ตั้งเมืองแม่น้ำ เทือกเขา ฯลฯ
3.การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในทั้งนี้หมายถึง ข้อมูลด้านทรัพยาการธรรมชาติปละสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท และมีเทคนิคในการศึกษาข้อมูลแต่ละประเภท ดังนี้
3.การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3.1 การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการออกสำรวจภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการศึกษาในท้องถิ่นนั้นๆโดยตรง มีขั้นตอน 3 ประการ คือ
3.การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3.1.1 ขั้นเตรียมก่อนออกภาคสนาม - กำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย - ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากหนังสือหรือสื่อต่างๆ - เตรียมอุปกรณ์ที่จะต้องใช้สำรวจภาพสนาม -วางแผนการทำงาน และติดต่อประสานงาน
3.การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3.1.2 ขั้นออกภาคสนาม - ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ โดยใช้เวลาและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนด - บันทึกข้อมูลจากการสำรวจให้ชัดเจนและเป็นระบบ
3.การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3.1.3 ขั้นดำเนินงานภายหลังออกภาคสนาม -นำข้อมูลจากการออกภาคสนามมาพิจารณาถึงความสมบูรณ์และถูกต้อง - พิจารณาเพื่อประเมินผลการทำงาน
3.การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3.2 การศึกษาขั้นทุติยภูมิ เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆโดยใช้สื่อประเภททีมีผู้ศึกษาไว้ก่อนแล้ว
3.การศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3.3 การศึกษาขึ้นตติยภูมิ เป็นการศึกษาข้อมูลด้นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลที่มีผู้ศึกษาสรุปวิเคราะห์ไว้แล้ว หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ
4.ประเภทของแผนที่ การแบ่งประเภทของแผนที่ตามข้อมูลที่แสดงและลักษณะการใช้งานมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แผนที่ อ้างอิง แผนที่เฉพาะเรื่อง และแผนที่เล่ม มีสาระสำคัญ ดังนี้
4.ประเภทของแผนที่ 4.1 แผนที่อ้างอิง (หรือแผนที่ทั่วไป) เป็นแผนที่ที่นำมาใช้อย่างกว้างขวาง คือ แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) ของประเทศไทย จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม
4.ประเภทของแผนที่ 4.2 แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงข้อมูลเพียง 1-2 เรื่องตามที่ต้องการเท่านั้น เช่น แสดงข้อมูลที่ตั้งเขื่อนและที่ตั้งเขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ดังนั้นจึงนิยมเรียกชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “แผนที่วัตถุประสงค์พิเศษ” แบ่งเป็นชนิดย่อยๆได้ดังนี้
4.ประเภทของแผนที่ 4.2.1)แผนที่เก่า เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นก่อนแผนที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีข้อมูลบางอย่างที่ล้าสมัยแต่ยังมีประโยชน์เพราะสามารถนำไปใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างอดีตกับปัจจุบันได้ เช่น แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่สำคัญและเส้นทางคมนาคมในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
4.ประเภทของแผนที่ 4.2.2)แผนที่ภูมิทัศน์ (Landscape Map) เป็นแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศโดยเจาะจงเฉพาะเรื่องที่ต้องการ อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้ เช่น - แผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่ - แผนที่แสดงการใช้ที่ดิน - แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพ
4.ประเภทของแผนที่ 4.2.3) แผนที่บรรยากาศ เป็นแผนที่ที่แสดงชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือพื้นผิวโลก- แผนที่อากาศ -แผนภูมิอากาศ - แผนที่อากาศประจำวัน -แผนที่อากาศสมัยใหม่
4.ประเภทของแผนที่ 4.2.4) แผนที่ประชากร แสดงข้อมูลเกี่ยวกับประชากร 4.ประเภทของแผนที่ 4.2.4) แผนที่ประชากร แสดงข้อมูลเกี่ยวกับประชากร -แผนที่จะแสดงกระจายของประชากร -แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร -แผนที่ชนกลุ่มน้อย -แผนที่สำมะโนประชากร -แผนที่ทะเบียนราษฎร์
4.ประเภทของแผนที่ 4.2.5) แผนที่รัฐศาสตร์ -แผนที่เทศบาล 4.ประเภทของแผนที่ 4.2.5) แผนที่รัฐศาสตร์ -แผนที่เทศบาล -แผนที่เมืองและชนบท -แผนที่ภูมิรัฐศาสตร์
4.ประเภทของแผนที่ 4.2.6)แผนที่เศรษฐกิจ แสดงข้อมูลทางเศรษฐกิจของพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่ทำนาข้าว เลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก และปริมาณผลผลิตทางการเกษตรชนิดต่างๆ เป็นต้น
4.ประเภทของแผนที่ 4.3 แผนที่เล่ม (Atlas) เป็นการจัดทำแผนที่เฉพาะเรื่องหลาย เรื่องมารวมเข้าเป็นรูปเล่ม เช่น แผนที่ชุดประเทศไทยของกรมแผนที่ทหาร แสดงข้อมูลของประเทศไทยในด้านต่างๆ