เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา 822350 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น Introduction to Economics Lecturer : Orasa Tuntiyawongsa Faculty of Applied Arts. KMITNB Torasa22@hotmail.com
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ความต้องการมีไม่จำกัด ทรัพยากรมีจำกัด จัดสรรทรัพยากรตอบสนองความต้องการอย่างไร ให้ได้รับความพอใจสูงสุด? ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ(Basic Economics Problems) ผลิตอะไร(What) ผลิตอย่างไร(How) ผลิตเพื่อใคร (For whom)
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ Alfred Marshall เป็นวิชาที่ว่าด้วยการดำรงชีวิตโดยปกติของมนุษย์ และสังคมในการใช้ทรัพยากรเพื่อบรรลุถึงการกินดีอยู่ดี Paul Samuelson เป็นวิชาที่ศึกษาวิธีการที่มนุษย์และสังคมตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่หาได้ยากและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ตลอดจนจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการเหล่านั้นไปยังบุคคลต่างๆ ในสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ “ การศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด มาผลิตสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และกระจายสินค้าและบริการให้สังคม ได้รับความพอใจสูงสุด” สินค้าและบริการ เศรษฐทรัพย์(Economics goods) สินค้าไร้ราคา(Free goods) ไม่มีราคา มีไม่จำกัด น้ำในแม่น้ำ อากาศ แสงแดด ผลิตจากทรัพยากรที่มีจำกัด มีราคา เช่น ปัจจัย 4 , สินค้าทั่วไป
ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ Adam Smith เขียนหนังสือ “ The Wealth of Nations” เป็นตำราทางเศรษฐศาสตร์ เล่มแรกของโลก เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ ให้แบ่งงานกันทำตามความถนัด จะเกิดความชำนาญ รัฐไม่ต้องยุ่ง สนับสนุนแนวคิด “ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม” Alfred Marshall ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกิดปัญหาต่างๆ เช่น การว่างงาน ค่าแรงตกต่ำ สินค้าล้นตลาด เสนอทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค กลายเป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค(Micro Economics) ในปัจจุบัน
แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์ John Maynard Keynes หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ได้เสนอนโยบายการเงินและการคลัง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ นำความสัมพันธ์ของตัวแปรสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ การออม การลงทุน และการว่างงาน มากล่าวในหนังสือ “The General Theory of Employment, Interest and Money” กลายเป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค(Macro Economics) แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeonomics) เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeonomics) ศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล/แต่ละหน่วยเศรษฐกิจ ในการแสวงหาความพอใจสูงสุด พฤติกรรมผู้บริโภค ในการเลือกซื้อสินค้า พฤติกรรมผู้ผลิตในการกำหนดราคาและปริมาณการผลิต เศรษฐศาสตร์มหภาค(Macroeconomics) ศึกษาพฤติกรรมของระบบเศรษฐกิจในภาพรวม เพื่อให้สังคมได้รับความพอใจสูงสุด รายได้ประชาชาติ การออม การลงทุน เงินเฟ้อ เงินฝืด การเงิน การคลัง
เครื่องมือในการศึกษา 1. ฟังก์ชัน Y = f (X) เช่น Qx = f (Px ,Py ,y ,T) 2. สมการ Y = a + bX เช่น C = 10 + 0.5Yd สมการการบริโภค โดย C = รายจ่ายในการบริโภค Yd = รายได้สุทธิส่วนบุคคล
· 3. ความชัน (Slope) ดังนั้น Slope = Y / X = b C C = 10+0.5Yd 10 Yd Y X · 3. ความชัน (Slope) Slope = Y2 - Y1 / X2 - X1 ดังนั้น Slope = Y / X = b
Y A X
สังเกตปรากฏการณ์ทั่วไปเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน ระเบียบวิธีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ หลัก (Principle) ,กฎ (Law) , ทฤษฎี (Theory) 1. การศึกษาโดยวิธีอนุมาน (Deductive Method) วิธีหาผลจากเหตุ สังเกตปรากฏการณ์ทั่วไปเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน กำหนดสมมุติฐาน โดยสร้างแบบจำลอง จริง กฎ ,ทฤษฎี
ใช้คาดคะเนอนาคต 2. การศึกษาโดยวิธีอุปมาน (Inductive Method) วิธีหาเหตุจากผล รวบรวมผลที่เกิดขึ้นเหมือนๆกัน วิเคราะห์ว่าน่าจะเกิดจากเหตุอะไรบ้าง จริง กฎ ,ทฤษฎี 3. การศึกษาโดยวิธีสังเกตจากประวัติศาสตร์ (Historical Method) ใช้คาดคะเนอนาคต
การนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาใช้ ข้อสมมุติในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ 1. บุคคลทุกคนจะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมีเหตุผล (economics rationality) 2. การสมมุติให้สิ่งอื่นๆ คงที่ การนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาใช้ 1. เศรษฐศาสตร์พรรณา (Positive Economics) เช่น อธิบายสาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ 2. เศรษฐศาสตร์นโยบาย (Normative Ecnomics) เช่น นโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
การประยุกต์กับสาขาวิชาอื่น เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม เศรษฐศาสตร์แรงงาน เศรษฐศาสตร์พลังงาน เศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร