นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นโยบายการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน จากการระบาดโรคคอตีบตามยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรค นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค
จะต้องไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ภารกิจ การป้องกันควบคุมการระบาดของโรคคอตีบ จะต้องไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ในพื้นที่เกิดโรค (จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู ) และพื้นที่ใกล้เคียง ภายในระยะเวลา 2 เดือน
กลยุทธ์การดำเนินงาน ควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้เข้มแข็ง ประสานงาน และเผยแพร่ความรู้ มาตรการควบคุม
ยุทธศาสตร์ (1) ควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว เพื่อลดการแพร่เชื้อ ในชุมชน ค้นหาผู้ป่วย เพื่อลดอัตราตาย ดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกัน การเกิดโรค และลดการแพร่เชื้อ จัดการผู้สัมผัสใกล้ชิดและพาหะ
ยุทธศาสตร์ (2) สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้เข้มแข็ง เพื่อการป้องกันการระบาดในพื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่อื่นๆ ตรวจสอบความครอบคลุมวัคซีนที่มีส่วนประกอบของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ในกลุ่มอายุต่างๆ เร่งรัดให้ครอบคลุมวัคซีน ในกลุ่มเป้าหมาย ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบกับประชากรที่คาดว่าจะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ
ยุทธศาสตร์ (3) เน้นการประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและประชาชน เผยแพร่สื่อสารสร้างความเข้าใจ เรื่องการป้องกันโรคคอตีบ ให้กับเจ้าหน้าที่และประชาชนอย่างทั่วถึง
โครงสร้างบัญชาการการควบคุมการระบาดโรคคอตีบ ศูนย์บัญชาการ Core Teams ทีมยุทธศาสตร์ ทีมประสานงาน ทีมปฏิบัติการ ทีมส่งกำลังบำรุง และบริหารงบประมาณ ทีมสื่อสารความเสี่ยง
ศูนย์บัญชาการ การดำเนินงานในระดับจังหวัดนั้น นำโดยผู้บริหารกรมควบคุมโรค สั่งการภายใต้คำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีทีมยุทธศาสตร์สนับสนุนด้านวิชาการ การดำเนินงานในระดับจังหวัดนั้น ให้นำโดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สั่งการภายใต้คำแนะนำของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยมี สคร. ให้การสนับสนุน
ทีมยุทธศาสตร์ Strategic and Technical Advisory Group (STAG) นำโดยผู้บริหารกรมควบคุมโรค และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทำงานร่วมกับนักวิชาการของสำนักที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการและกลยุทธ์ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โดยมีทีมยุทธศาสตร์สนับสนุนด้านวิชาการ สนับสนุน ให้คำแนะนำด้านวิชาการและบริหารจัดการ ต่อ Incidence commander ร่วมถึงช่วยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพ
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ทีมปฏิบัติการ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เฝ้าระวังและตรวจจับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสได้อย่างครบถ้วน ทันเวลา ให้การรักษาเบื้องต้นและส่งต่อไปยังสถานพยาบาลได้อย่างเหมาะสม ดำเนินมาตรการป้องกันโรคแก่ผู้สัมผัสได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เร่งรัดการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้อย่างทันท่วงที ติดตามอาการผู้ป่วยและผู้สัมผัสได้อย่างมีครบถ้วน
หน่วยส่งกำลังบำรุงและบริหารงบประมาณ สนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ช่วยอำนวยความสะดวก เรื่องการสื่อสารและยานพาหนะ มีการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้ทันท่วงที