ท้องผูก Constipation จัดทำโดย ด.ช.กันตภณ พลับจีน ม.1/4 เลขที่ 3 ด.ช.จิรายุส เรืองพระยา ม.1/4 เลขที่ 6 ด.ญ.ปภาดา ทองสดเจริญดี ม.1/4 เลขที่ 22
ท้องผูก Constipation ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป มักเกิดจากการกินอาหาร และขาดการออกกำลังกาย ถ้ามีอาการท้องผูกเป็นประจำ อาจบ่งชี้ว่าจะมีปัญหารุนแรงที่เกี่ยวกับสุขภาพในระยะยาวได้ ถ้าลำไส้ใหญ่ทำงานเป็นปกติดี จะช่วยให้ขับถ่ายดีและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดกันว่าคนเราจะต้องถ่ายทุกวัน ถ้าวันไหนไม่ได้ถ่ายจะถือว่าท้องผูก แต่ความจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องถ่ายทุกวัน บางคนอาจถ่ายวันละมากกว่า 1 ครั้ง หรือ บางคนอาจถ่าย 3 วันครั้ง ก็ยังคงถือว่าลำไส้ทำงานปกติ
ลักษณะอาการท้องผูก ท้องผูกมีลักษณะอาการ 2 แบบ คือ ... ท้องผูกแบบอ่อนแรง จะทำให้ลำไส้ไม่มีแรงบีบตัว เกิดจากการกินอาหารที่มีกากใยน้อย และดื่มน้ำน้อย หรืออาจเกิดจากการออกกำลังไม่เพียงพอ ... ท้องผูกแบบหดเกรง ลำไส้ใหญ่จะบีบตัวไม่สม่ำเสมอ ทำให้ขับถ่ายผิดปกติ อาจเกิดปัญหาทางด้านจิตใจ หรือระบบประสาท สูบบุหรี่จัด หรือกินอาหารที่ทำให้ลำไส้ระคายเคือง หรืออุดตัน
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการท้องผูก ...1. กินอาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ... 2. ดื่มน้ำมากๆ ไม่ควรดื่มกาแฟและแอลกอฮอล์มาก เพราะจะทำให้อุจจาระแห้ง ... 3. การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยให้ระบบขับถ่าย ทำงานดีขึ้น ... 4. ฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน เพราะลำไส้ใหญ่จะมีการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความรู้สึกว่าอยากถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง มักเกิดขึ้นหลังตื่นนอนและหลังอาหาร หากกั้นอุจจาระไว้ในช่วงนั้นโอกาสที่จะรู้สึกอยากถ่าย ในวันนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้นอีก จึงควรถ่ายให้เป็นเวลาโดยเฉพาะหลังตื่นนอน
... 5. ไม่ควรทำอย่างอื่นในขณะขับถ่าย เช่น อ่านหนังสือ กรณีที่เป็นส้วมชักโครก ควรนั่งโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงเบ่งมากขึ้น ... 6. หากจำเป็นต้องใช้ยาระบายควรปรึกษาแพทย์ และเริ่มใช้ยาระบายให้เกิดการขับถ่ายอย่างเป็นธรรมชาติและปลอดภัยก่อนโดยเฉพาะยาที่ช่วยในการดูดน้ำเข้ามาในอุจจาระหรือลำไส้ หรือสารที่เพิ่มปริมาณกากอาหาร ถึงแม้ว่านิสัยการขับถ่ายของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป แต่การขับถ่ายเป็นประจำทุกวันเป็นความเคยชินจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด