ข้อควรรู้เพิ่มเติม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา
ความหมาย “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ปร (ประเสริฐ) + ชญา (ความรู้) ปรัชญา จึงหมายถึง ความรู้อันประเสริฐ
ความหมาย “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (ต่อ) “เศรษฐกิจ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆ ของชุมชน ความหมายตามแนวพุทธศาสนา เศรษฐ(สันสกฤต) / เสฏฐ(บาลี) หมายถึง ประเสริฐ, เลิศ, ดี กิจ หมายถึง กิจกรรมหรืออาชีพการงาน เศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมที่ทำให้เกิดความประเสริฐ
ความหมาย “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (ต่อ) “เศรษฐกิจพอเพียง” หมายถึง เศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอดี พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทาในการดำเนินชีวิต หมายถึง แนวคิดโดยมีหลักการและอุดมการณ์ที่ช่วยพัฒนาชีวิตมนุษย์และสังคมให้มุ่งไปสู่ความยั่งยืนด้วยการรู้จักตนเอง พึ่งตนเอง พอเพียง ไม่โลภมาก มีเหตุผล และไม่ประมาท
ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง เศรษฐกิจทุนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียง อัตถประโยชน์ ต่อคนส่วนน้อย ต่อคนทั้งหมด ๒. การกระจายอำนาจ รวมศูนย์ เคารพความหลากหลายของชุมชนท้องถิ่น ๓. การกระจายรายได้ กระจุก กระจาย ๔. ครอบครัวและชุมชน แตก (social disintegration) เข้มแข็ง ๕. สิ่งแวดล้อม ไม่ยั่งยืน ยั่งยืน ๖. ภูมิปัญญาดั้งเดิม สูญหาย อนุรักษ์และพัฒนา
หลักการ “ทฤษฎีใหม่” ๓ ขั้น ขั้นที่ ๑ มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ขั้นที่ ๒ รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ขั้นที่ ๓ สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพ และขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยประสานความร่วมมือกับรัฐและเอกชน
นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ คือ ความยิ่งใหญ่ทางความคิดของพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ๙ ประการ ๑. หลากหลาย (Multiple, Diverse) เป็นแนวคิดแบบพหุนิยม ทั้งในแง่การคิด และการกระทำ ๒. ร่วมนำ (Co-existing) เป็นแนวคิดที่ยอมรับการอยู่ร่วมกันของสิ่งที่แตกต่างกัน เช่น เกษตรแบบพึ่งตนเองอยู่ร่วมกันกับการผลิตทางเกษตรอุตสาหกรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะเกษตรพอเพียงไปเป็นการผลิตรูปแบบอื่น
นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ (ต่อ) ๓. คิด-ทำ (Thinking-Doing) เป็นแนวคิดที่ปฏิบัติได้ ทำให้เห็นจริงได้ ๔. เรียบง่าย (Simple) เป็นแนวคิดที่เข้าใจง่าย ๕. ผสานทุกส่วน (Integrating) เป็นแนวคิดที่นำประสบการณ์ของประเทศไทยและลักษณะสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาล วิถีชีวิต ฐานะทางเศรษฐกิจ ตลอดจนลักษณะเด่นของความเป็นอยู่และการผลิตของไทย มารวมกันเข้าเป็นทฤษฎีใหม่
นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ (ต่อ) ๖. ควรแก่สถานการณ์ (Timely) เป็นแนวคิดที่เหมาะสมที่จะใช้เตือนผู้บริหารในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศ ๗. องค์รวมรอบด้าน (Holistic) เป็นแนวคิดที่มีหลายมิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และปรัชญาในการดำรงชีวิต มีผลในการส่งเสริมจริยธรรมแห่งความพอเพียง
นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ (ต่อ) ๘. บันดาลใจ (Inspiring) เป็นแนวคิดที่มีพลังในการกระตุ้นให้ผู้ยากไร้เข้าถึงความเป็นจริง สามารถมีความสุขได้ตามอัตภาพ ๙. ไม่ใฝ่อุดมการณ์ / เป็นสากล (Universal) เป็นแนวคิดที่ปลอดจากการเมือง ผลประโยชน์และอุดมการณ์ จึงเป็นทฤษฎีที่มีความเป็นสากล เป็นผลดีต่อประเทศที่มีปัญหาคล้ายประเทศไทยในการนำไปประยุกต์ใช้
เศรษฐกิจพอเพียงสู่แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ ๑๓ ประการ ประกอบด้วย ๑. การทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือ ทฤษฎีใหม่ ๒. การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ๓. การจัดกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์และการจัดทุนหมุนเวียนในชุมชน ๔. การพัฒนากลุ่มอาชีพ เช่น พืชสมุนไพร แพทย์แผนโบราณ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และการพัฒนาแหล่งชุมชนโบราณ ๕. การทำผังเครือข่ายองค์การชุมชน
เศรษฐกิจพอเพียงสู่แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม (ต่อ) ๖. การจัดลานค้าชุมชน หรือตลาดนัดชุมชน ๗. การสร้างเครือข่ายร้านค้าชุมชน ๘. การจัดเวทีประชาคมอำเภอ ๙. การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการเกษตร ๑๐. สนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานของภาครัฐ ๑๑. สนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาตามแนวทางแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ๑๒. สนับสนุนการขยายบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ๑๓. สนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจแบบพอเพียงอื่นๆ ที่กลุ่มหรือชุมชนต้องการ