ปากกาแสง (Light Pen) 54230054 นางสาวพัชรินทร์ จันทร์เขียว 54230049 นางสาวพรชนก บัณฑิตไทย สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ ปี 4 กลุ่ม 1
ปากกาแสงเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ประเภท นำเข้า (INPUT) ชนิดหนึ่งมีลักษณะการ ป้อนข้อมูลแบบ pen-based system อุปกรณ์ Input กลุ่มนี้ป้อนข้อมูลด้วย อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง มีลักษณะเป็นการ ป้อนแบบ Graphic เช่น เมาส์ สแกนเนอร์
และเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่มีเซลล์แบบ photoelectric ซึ่งมีความไวต่อแสง รวมทั้งยังสามารถวาดลักษณะหรือรูปแบบข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพแบบ Cathode ray tube (CRT) การทำงานคล้ายกับเมาส์ที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปากกาและมีแสงอยู่ตอนปลาย มีสายที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เมื่อผู้ใช้ชี้ปากกาแสงลงไปบนจอภาพ เพื่อเลือกหัวข้อ หรือเลือกคำสั่งบนจอภาพ ซึ่งเหมือนกับการคลิกเมาส์
ประวัติของปากกาแสง เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 การใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่รู้จักกันดีคือปากกาแสง การใช้ปากกาแสงจะต้องชี้ตำแหน่งลงไปบนจอภาพ และต้องยกออกจากจอภาพไปมา ทำให้ยุ่งยากต่อการใช้และที่สำคัญคือเทคโนโลยีของปากกาแสงต้องรอให้จอภาพสแกนจุดสว่างวิ่งไปทั้งจอเพื่อซิงก์กับตัวรับที่ปากกา จึงต้องอาศัยเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนและทำให้มีราคาแพง
วิธีการใช้ แตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ ต้องการ หรือเขียนด้วยมือหรือจิ้มเลือกเมนูรายการที่ ต้องการบนหน้าจอ
ชนิดของปากกาแสง - ปากกาแสงแบบมีสายไฟ (Corded Light Pen) โดยสายไฟจะติดอยู่ด้านหลังของปากกาเพื่อใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ - Tablet ใช้วาดวัตถุบนหน้าจอ ก. ปากกาแสงแบบมีสายไฟ ข. ปากกาแสงแบบใช้กับ Tablet
หลักการทำงาน ปากกาแสงจะมี มีเลนส์รับแสง และส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์ ทันทีที่แสงถูกสร้างขึ้นคอมพิวเตอร์จะรับรู้ลักษณะของแสงที่ไปกระทบ ในขณะที่นำปากกาแสงเข้าไปสัมผัสกับจอภาพ ทำให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าปากกาแสงสัมผัส ณ จุดใดของจอภาพ และตอบสนองการรับรู้นั้น เช่น เดียวกับการตอบสนองต่อเมาส์
ข้อดี สามารถจิ้มไปบนจอภาพโดยตรงเพื่อบอก ตำแหน่งที่ต้องการ มีความสะดวกสบายในการวาดภาพ สะดวกในการพกพา ความทนทานและความแม่นยำ ผลิตจาก วัตถุดิบที่มีความแข็งแรง ความยืดหยุ่น โดยอาจจะเป็นการวาดโดยตรง หรือเขียนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
ข้อเสีย มีราคาที่แพง ต้องยกออกจากจอภาพไปมา ทำให้ยุ่งยากต่อการใช้งาน มีสายไฟ ทำให้ยุ่งยากในการใช้งาน