ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ ของประชาชนจังหวัดพิษณุโลก
หลักการและเหตุผล เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีทั้งประโยชน์และโทษขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดื่มถ้าดื่มในปริมาณ ที่เหมาะสมจะมีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่มีผลต่อสติสัมปชัญญะแต่ถ้าดื่มในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายและปัญหาสังคมอื่นๆตามมา จึงทำการศึกษาเพื่อทราบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมว่าเป็นแบบมีประโยชน์หรือโทษ เพื่อปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบมีประโยชน์
ทบทวนวรรณกรรม จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยที่มีอายุ 11 ปีขึ้นไปดื่ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ถึง 29 % จากสรรพสามิตจังหวัดพิษณุโลกพบว่าจำนวนเบียร์ที่จำหน่ายเมื่อปี 2542 เป็นปริมาณ 10,154,507 ลิตร จากAlcohol and health พบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณที่เหมาะสมจะลดอัตราการตายจากโรคหัวใจ และป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง จาก Alcohol and human body พบว่าการดื่มในปริมาณที่เหมาะสมไม่มีผลต่อสติสัมปชัญญะ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในจังหวัด พิษณุโลกในแง่ประโยชน์และโทษของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
นิยามศัพท์ Moderate drinking คือ ดื่มวันละ 1-3 drink อย่างน้อยสัปดาห์ละ3 วัน Heavy drinking คือ ดื่มมากกว่า 3 drink มากกว่าอาทิตย์ละครั้ง หรือเดือนละ 1-4 ครั้งแต่ดื่มมากกว่า 15 drink 1 drink = เบียร์ 1 กระป๋อง (340 มล.) ไวน์ 1 แก้ว (140 มล.) วิสกี้ 1 ก๊ง (40 มล.) หรือปริมาณแอลกอฮอล์สมบูรณ์ 15 กรัม
นิยามศัพท์ Alcohol disorder คือ CAGE score มากกว่า 2 คะแนน 1.คุณเคยคิดที่จะเลิกดื่มสุราหรือไม่ 2.เคยมีคนว่ากล่าวคุณเกี่ยวการดื่มสุราหรือไม่ 3.คุณเคยรู้สึกผิดต่อการดื่มสุราหรือไม่ 4. คุณเคยดื่มสุราในตอนเช้าเพื่อถอนหรือไม่ แต่ละข้อตอบว่าใช่ หรือ ไม่ ถ้าตอบใช่ได้ 1 คะแนน
วิธีการศึกษา Study design : cross-sectional descriptive study ระหว่างวันที่ 20 - 27 สิงหาคม 2543 Subject : ผู้ทื่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน จ. พิษณุโลก โดย แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ 8 กลุ่ม คือ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ที่มารับบริการในสถานบันเทิงที่มีเครื่อง ดื่มที่มี แอลกอฮอล์ เกษตรกร กรรมกร . สามล้อ นิสิต ม.นเรศวร
วิธีการวิจัย ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างบังเอิญ(Accidental sampling) กลุ่มละ 50 คน รวม กลุ่มตัวอย่าง 400 คน Method : ทำการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มสามล้อ เกษตรกร กรรมกร และใช้แบบสอบถามในกลุ่มตำรวจ ทหาร ข้าราชการ นิสิต ม.นเรศวร กลุ่มผู้ใช้บริการสถานบันเทิง
ผลการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับโทษและประโยชน์ของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คิดเป็น 99% ( CI=97-99) และ 49%(CI= 35-50) ตามลำดับ โรคตับแข็ง 97% (CI = 94-98) ลดระดับไขมันในเส้นเลือด 55% ( CI=48-62) ค่าเฉลี่ยในการดื่มวันละ 7.4 drink ความถี่สัปดาห์ละ 1-2 วัน ส่วนใหญ่มีเหตุผลในการดื่มเพื่อเข้าสังคมมากที่สุด กลุ่มที่ดื่มอย่างหนักพบในกลุ่มสามล้อและตำรวจมากที่สุด (64%) กลุ่มที่ดื่มในปริมาณที่เหมาะสมมากที่สุดคือกลุ่มสามล้อ (18%)
ผลการศึกษา กลุ่มที่ดื่มในปริมาณน้อยซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และโทษมากที่สุดคือ ข้าราชการ(78%) จากการใช้ CAGE SCORE กลุ่มที่เป็น Alcohol disorder มากที่สุดคือ กลุ่มกรรมกร(66%) ผลกระทบกับสุขภาพ : พบอุบัติเหตุมากที่สุดในกลุ่มทหารและตำรวจ(48%) กลุ่มที่เกิดโรคกับร่างกายมากที่สุดคือกลุ่มสามล้อ(26%) กลุ่มที่มีผลกระทบต่อรายได้มากที่สุดคือกลุ่มสามล้อ
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แยกตามกลุ่ม
แผนภูมิแสดงเปอร์เซ็นต์ Alcoholic disorder กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แยกตามกลุ่ม
วิจารณ์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีทั้งประโยชน์และโทษขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดื่ม พบว่ามีการดื่มในปริมาณที่เหมาะสมมีอัตราส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่ดื่มทั้งหมดจึงควรมีการให้ความรู้ในกลุ่มที่มีการดื่มอย่างหนักให้หันมาดื่มแบบเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การคำนวนจำนวน drink เป็นการคำนวนอย่างคร่าวๆ โดยให้เหล้าแดง 1 กลมเท่ากับ 20 drink ,1 แบนเท่ากับ 10 drink ,1 กั๊กเท่ากับ 5 drink สูตร จำนวน drink=(ปริมาตรสุรา(มล.) X ดีกรี) / 1500 การวินิจฉัย Alcoholic disorder โดยใช้ CAGE score อาจได้ข้อมูลไม่ได้ตามความเป็นจริงจึงทำให้ CAGE scoreไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับพฤติกรรมการดื่ม
THE END THE END