การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดทางวิสัญญี (Preoperative medication) ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนการได้รับการวางยาสลบหรือการระงับความรู้สึกเฉพาะที่ 1. เซ็นใบยินยอมให้ทำการผ่าตัด การให้ยาทางวิสัญญีและการให้เลือดระหว่างผ่าตัด 2. ควรนอนหลับให้เต็มที่ก่อนผ่าตัด 6-8 ชั่วโมง
ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนการได้รับการวางยาสลบหรือการระงับความรู้สึกเฉพาะที่ 3. งดน้ำ 2 ชั่วโมง อาหารหรือน้ำผลไม้ที่มีกากก่อนผ่าตัด 6 ชั่วโมง (สำหรับเด็กให้งดนมแม่ 4ชั่วโมง นมชนิดอื่นๆต้องงด 6 ชั่วโมง) เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการสำรอก/สำลักเศษอาหารเข้าปอดระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยที่มีปัญหา
ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนการได้รับการวางยาสลบหรือการระงับความรู้สึกเฉพาะที่ 4. การหยุดสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัด ถ้าเป็นไปได้ควรหยุดสูบบุหรี่เป็นเวลา 8 สัปดาห์ก่อนวันผ่าตัด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจทราบก่อนเข้ารับการผ่าตัดเพียง 4 สัปดาห์ จึงเป็นโอกาสดีของผู้ป่วยที่จะหยุดและเลิกสูบบุหรี่ไปเลย ถ้าหยุดไม่ได้อย่างน้อยก็ควรหยุดสูบบุหรี่นาน 24 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดเพื่อให้ปริมาณนิโคตินในกระแสเลือดลดลง ดังนั้นการเลิกบุหรี่โดยใช้หมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของนิโคตินอยู่จะไม่เกิดประโยชน์ในแง่นี้
ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนการได้รับการวางยาสลบหรือการระงับความรู้สึกเฉพาะที่ 5. รับประทานยาที่ทานอยู่ประจำ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการงดหรือไม่งดยาชนิดใด 6. ทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม แปรงฟัน ตัดเล็บ เช็ดยาทาเล็บออก 7. ไม่ควรนำของมีค่าติดตัว มายังโรงพยาบาล แต่ถ้าหากท่านลืมถอดของมีค่าไว้ที่บ้านและนำติดตัวมา ทางเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยหรือห้องเตรียมผ่าตัด จะขอให้ท่านถอดออกและเขียนระบุของมีค่านั้น ลงในสมุดฝากของ โดยที่เจ้าหน้าที่จะเก็บรักษาไว้ชั่วคราว จนกว่าท่านจะฟื้นดีแล้วจึงมอบคืนให้ท่าน
ท่านจะพบอะไรบ้าง เมื่อท่านมาถึงห้องผ่าตัด ท่านจะพบวิสัญญีแพทย์หรือวิสัญญีพยาบาลที่คอยท่านอยู่ ท่านจะถูกถามชื่อ นามสกุล เมื่อตรวจชื่อ นามสกุล ผลการตรวจทางห้องทดลอง และตารางผ่าตัด เรียบร้อยแล้ว จะให้ท่านเปลี่ยนไปนอนบนเตียงล้อเลื่อนเพื่อเข้าห้องผ่าตัด ขณะเดียวกันจะถามประวัติเจ็บป่วยและโรคประจำตัว ตลอดจนการเตรียมงดอาหารและน้ำดื่มอีกครั้งหนึ่ง
ท่านจะพบอะไรบ้าง เมื่อท่านมาถึงห้องผ่าตัด ท่านจะได้รับการวัดความดันเลือด จับชีพจร และฟังเสียงหายใจ ท่านจะได้รับบริการให้น้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ โดยทั่วไปมักจะให้ทางด้านหลังมือหรือเหนือข้อมือ
ท่านจะพบอะไรบ้าง เมื่อท่านมาถึงห้องผ่าตัด เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ท่านจะถูกพาเข้าไปในห้องสำหรับผ่าตัด ท่านจะได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่นการให้ยาชาเฉพาะที่การให้ยาสลบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลว่าควรจะให้ยาระงับความรู้สึกแบบไหนที่จะทำให้ท่านสบายและปลอดภัยมากที่สุด ตลอดการผ่าตัดจะมีวิสัญญีแพทย์ และวิสัญญีพยาบาล เฝ้าสังเกต และช่วยดูแลท่านจนกว่าการผ่าตัดจะเสร็จสิ้น
เมื่อเสร็จผ่าตัดแล้ว ท่านจะต้องทำอย่างไรบ้าง?? หลังเสร็จผ่าตัดท่านจะถูกนำไปยังห้องพักฟื้นและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากวิสัญญีพยาบาล วิสัญญีแพทย์ โดยจะได้รับออกซิเจนทางหน้ากากและได้รับการวัดระดับออกซิเจน ความดันโลหิต ชีพจรและอัตราการหายใจนานประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการผิดปกติจากการผ่าตัดหรือการระงับความรู้สึก ท่านจะถูกย้ายกลับไปดูแลต่อยังหอผู้ป่วยเพื่อพักฟื้นและให้การดูแลหลังผ่าตัดต่อไป ในกรณีที่ท่านรับการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ท่านจะได้ออกมาพบญาติที่ห้องเตรียมผ่าตัดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้ากลับบ้าน พร้อมทั้งมอบบัตรนัดของแพทย์เพื่อติดตามการรักษาต่อไป
ด้วยความปรารถนาดีจาก ด้วยความปรารถนาดีจาก... ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร