ตำแหน่งที่ตั้งของบ้านเมืองฟูนัน
นักโบราณคดีเชื่อกันว่าศูนย์กลางของบ้านเมืองฟูนัน อยู่ทางตอนใต้ของกัมพูชา เดิมเป็นเพียงรัฐเล็กๆ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองบาพนม ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นจึงย้ายมาอยู่ เมืองนครบุรี (อังกอร์บอเรย) ฟูนันมีอำนาจการเมืองเหนือรัฐเล็กๆ อื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งในช่วงที่เจริญสูงสุดอำนาจ ทางการเมืองอาจขยายออกไปบริเวณลุ่มน้ำโขงตอนใต้รวมทั้ง ดินแดนแถบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้วย แต่ต่อมาก็เสื่อมอำนาจลง จากการรุกรานของรัฐเจนละที่เคยอยู่ใต้อำนาจของฟูนันมาก่อน
ในจดหมายจีนมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับฟูนันหลายเรื่อง และจากเรื่องเล่า ในจดหมายจีนและหลักฐานโบราณที่พบในประเทศกัมพูชา เช่น
ทำให้อาจสรุปได้เรื่องราวของฟูนันได้ดังนี้ว่า การปกครองบ้านเมืองสมัยฟูนัน ในสมัยนี้คงจะมีกษัตริย์ ปกครองบ้านเมืองสืบต่อกันมาหลายพระองค์ แต่เราทราบ พระนามแท้จริงของกษัตริย์ฟูนันจากจารึกโบราณที่ค้นพบในกัมพูชา เพียง 2 พระองค์ซึ่งปกครองบ้านเมืองในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ก่อนที่ฟูนันจะเสื่อมลงคือ พระเจ้าโกณฑิญยะ-ชัยวรมัน พระเจ้ารุทธรวรมัน
ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ จากการขุดค้นทางโบราณคดี ที่เมืองออกแก้วซึ่งตั้งอยู่ในเขตเวียดนามในปัจจุบัน มีการค้นพบ โบราณวัตถุต่างถิ่นมากมายหลายประเภท
หลักฐานที่พบดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า กิจกรรมที่ทำให้บ้านเมือง สมัยฟูนันรุ่งเรืองมากคือ การค้าขาย ฟูนันติดต่อค้าขาย กับโลกภายนอกอย่างกว้างขวางโดยมีเมืองออกแก้วเป็นเมืองท่า และเมืองการค้าที่ใหญ่มาก เมืองท่าแห่งนี้คงจะเป็นศูนย์กลาง และท่าจอดเรือที่สำคัญของภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับเส้นทางการค้า ระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกในราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 ในจดหมายจีนเล่าว่าชาวฟูนันมีความสามารถในการเดินเรือ เดินทางได้ไกลๆโดยไม่หวั่นเกรงอันตรายใดๆ และมีความสามารถ ในการต่อเรือขนาดใหญ่ด้วย
ความเชื่อทางศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เรื่องเล่าในจดหมายเหตุจีนและประติมากรรมรูปเคารพสมัยฟูนัน ที่พบในกัมพูชา อาจกล่าวได้ว่า ชาวฟูนันได้รับอิทธิพลทางด้าน ศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาจากอินเดีย
ยุคเจนละ กำเนิดและตำแหน่งที่ตั้งบ้านเมืองเจนละ ชื่อของเจนละและกำเนิดของบ้านเมืองเช่นเดียวกับฟูนัน คือได้มาจากเรื่องเล่าในจดหมายเหตุจีน แต่เรื่องเล่า เกี่ยวกับเจนละ น่าเชื่อถือกว่าเรื่องของฟูนันมาก เพราะมีการ ค้นพบหลักฐานโบราณคดีและศิลาจารึกโบราณที่นำมาสนับสนุน และยืนยันได้เป็นจำนวนค่อนข้างมาก หลักฐานดังกล่าว นอกจากจะค้นพบในราชอาณาจักรกัมพูชาแล้ว ยังค้นพบ ในประเทศไทย และในประเทศลาวอีกด้วย
การปกครองบ้านเมือง หลักฐานจากศิลาจารึกโบราณทำให้ทราบว่า หลังจากที่ มีชัยชนะเหนือดินแดนฟูนัน เจนละมีกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง สืบมาหลายพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าภววรมันที่ 1 ( 1093-?) พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราวพ.ศ.1143- พ.ศ.1158) พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 (ราวพ.ศ. 1158- พ.ศ.1171) พระเจ้าภววรมันที่ 2 (ราวพ.ศ.1171-?) พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ราวพ.ศ.1198-1243) พระนางชัยเทวี (ราวพ.ศ.1243 -? )
และในรัชกาลของพระนางชัยเทวีเจนละก็เสื่อมลง บ้านเมืองแตกแยกออกเป็น ๒ ฝ่ายคือ เจนละบก ตั้งอยู่ในบริเวณ ดินแดนทางตอนใต้ของลาวและดินแดนส่วนหนึ่งในภาคอีสาน ของไทย เจนละน้ำ ตั้งอยู่ในบริเวณดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนใต้ ทั้ง 2 แคว้นเป็นปฏิปักษ์ต่อกันด้วย ความแตกแยกดังกล่าวทำให้ อำนาจของเจนละเสื่อมลง และในที่สุดเจนละตกอยู่ภายใต้ อิทธิพลการเมืองของอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนเกาะชวา
ร่องรอยหลักฐานโบราณคดียุคเจนละ ที่พบในกัมพูชา