ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาศิลปะในประเทศไทย (ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย)
ความหมายของวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ผสมจากคำสองคำ ประวัติศาสตร์+ศิลปะ นัย ๑ หมายถึง การศึกษาประวัติความเป็นมาในแง่มุมต่างๆของศิลปกรรมในอดีต และศิลปะในปัจจุบัน นัย ๒ หมายถึงการศึกษาเรื่องราวในอดีตผ่านงานศิลปกรรม
ขอบเขตของวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ขอบเขตเรื่องเวลา = ตั้งแต่มนุษย์จนถึงปัจจุบัน ขอบเขตเรื่องพื้นที่ = ทั่วทุกมุมโลก ทุกอารยธรรมทั่วโลก ขอบเขตเรื่องหลักฐาน = สิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น หรือดัดแปลงทำขึ้น ทั้งตั้งใจให้เป็นงานศิลปะ(ตามความหมายปัจจุบัน)หรือไม่ก็ตาม
จุดมุ่งหมายในการศึกษา เข้าใจถึงรูปแบบศิลปะในช่วงเวลาต่างๆ และผลกระทบต่างๆที่ส่งผลต่อรูปแบบศิลปะ เข้าใจถึงคติความเชื่อที่แฝงอยู่ในงานศิลปะ เข้าใจถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ผลิตงานศิลปะนั้นๆ
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี แง่ของระยะเวลา แง่ของการใช้หลักฐาน การท่องเที่ยว สามารถนำมาใช้ประยุกต์เพื่อการท่องเที่ยวได้
การแบ่งยุคสมัยศิลปะในประเทศไทย ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) ศิลปะลพบุรีหรือขอมในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) ศิลปะหริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙) ศิลปะล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๓) ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)
ศิลปะอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔-ปัจจุบัน)