ความหมายของการโน้มน้าวใจ ความหมายของการโน้มน้าวใจ - มิลเลอร์และเบอร์กูน อธิบายว่า การโน้มน้าวใจเป็นความตั้งใจที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้ได้รับการโน้มน้าวใจ - ไซมอนส์ สรุปว่า การโน้มน้าวใจคือการเชื้อเชิญให้ผู้รับสารหรือบุคคลอื่นคล้อยตามสารที่ตนเองส่งไป
กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารของมนุษย์จะทำให้เราเข้าใจถึงทิศทางของการโน้มน้าวใจ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งก่อนการโน้มน้าวใจ ระหว่างการโน้มน้าวใจและหลังการโน้มน้าวใจ โดยการศึกษาถึงกระบวนการสื่อสารจากแบบจำลองการสื่อสารประเภทต่าง ๆ
ภาษาที่ไม่ออกเสียง สารที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์นั้น มีทั้งรูปแบบของภาษาที่ออกเสียง (Verbal) ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเสียงและ ภาษาที่ไม่ออกเสียง (Nonverbal) ได้แก่ การแสดงออกทางสีหน้า กิริยาท่าทาง-สายตา การวางท่า และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
ลักษณะของการโน้มน้าวใจ ความตั้งใจที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้ได้รับการโน้มน้าวใจ ความตั้งใจในการสื่อสารที่จะมีอิทธิพลเหนือทางเลือก การสื่อสารของมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาให้มีอิทธิพลเหนือผู้อื่น การสื่อสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกัน
ผลของการโน้มน้าวใจ ในการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจสามารถสังเกตได้ 3 ประการ ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงความรู้และจิตสำนึก 2. การเปลี่ยนแปลงในอารมณ์และความรู้สึก 3. การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม
การเปลี่ยนแปลงในอารมณ์และความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงในอารมณ์และความรู้สึก อาจแสดงออกได้โดยการหัวเราะ ร้องไห้ ขนหัวลุก ตัวสะท้อน เป็นต้น นักจิตวิทยาจะมีเครื่องมือวัดความเปลี่ยนแปลงด้วยการวัดจังหวะการเต้นของหัวใจ วัดปฏิกิริยาตอบโต้ทางผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้า และการที่เหงื่อออก ซึ่งไม่สามารถทำได้ภายนอกห้องทดลอง
ความแตกต่างของมนุษย์ ความแตกต่างด้านนิสัยใจคอ คนเรามักมีนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน เช่น ความขยันขันแข็ง ขี้เกียจ คดโกง ซื่อสัตย์ เอื้ออาทรผู้อื่น ก้าวร้าว อ่อนโยน เป็นต้น ความแตกต่างด้านรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง หรือสิ่งที่ปรากฎต่อสายตาของคู่สื่อสาร สภาพภายนอกที่เราสามารถมองเห็นได้
ความแตกต่างของมนุษย์ ความแตกต่างในด้านความถนัด เป็นความแตกต่างของคนในแง่ของทักษะ การกระทำ เช่น บางคนชอบนั่งทำงานประจำในสำนักงาน ในขณะที่บางคนชอบงานติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก บางคนชอบงานเย็บปักถักร้อย บางคนชอบงานบ้านงานครัว หรือบางคนชอบงานประดิษฐ์ เป็นต้น
ความแตกต่างของมนุษย์อาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ เกิดจากกรรมพันธุ์ คือ การสืบเชื้อสายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา เสียง นิสัยใจคอ หรือลักษณะเด่น ๆ บางประการ รวมทั้งพรสวรรค์ เกิดจากการอบรมสั่งสอน เช่น จากครู – อาจารย์ เกิดจากความแข็งแกร่ง รวมถึงสภาพทางร่างกายและจิตใจด้วย
ลักษณะนิสัยตามธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์มีลักษณะนิสัยตามธรรมชาติที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. สัญชาตญาณแห่งการทำลาย 2. ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 3. ความโหดร้าย 4. ความตื่นเต้น ผจญภัย 5. กลัวความเจ็บปวด 6. ชอบทำอะไรตามสบาย 7. มีความอิจฉาริษยา เป็นต้น