(Holographic Versatile Disc ) HVD (Holographic Versatile Disc )
แผ่นดิสก์แบบ HVD (Holographic Versatile Disc) เป็นเทคโนโลยีดิสก์แสงที่ล้ำหน้าอีกขึ้นหนึ่ง ซึ่งยังอยู่ช่วงของการวิจัยและพัฒนา และน่าจะมีความสามารถในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระบบการเก็บในแผ่นดิสก์แสงแบบบลูเรย์ (Blu-ray Disc) และเอชดีดีวีดี (HD DVD) ซึ่งนับว่ามีความจุสูงมากอยู่แล้ว ดิสก์แบบนี้จะใช้เทคนิคอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า collinear holography โดยใช้เลเซอร์สองความถี่ นั่นคือ เลเซอร์สีแดง และเลเซอร์สีน้ำเงินเขียว โดยรวมแสงออกมาเป็นลำแสงเดียว เลเซอร์สีน้ำเงินเขียวนั้นจะทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่ลงระดับเป็นชอบอ้างอิงเลเซอร์จากชั้นผิวโฮโล กราฟใกล้ผิวบนสุดของแผ่น ขณะที่เลเซอร์สีแดงนั้นใช้เพื่ออ่านข้อมูลเซอร์โวจากชั้นผิวอะลูมิเนียมแบบซีดีตามปกติที่อยู่ใกล้ผิวชั้นล่างสุด
ข้อมูลเซอร์โวนั้นใช้เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของหัวอ่านเหนือแผ่นดิสก์ ซ่างคล้ายกับข้อมูลเซ็กเตอร์ แทร็ค และหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ทั่วไปนั่นเอง ในแผ่น CD หรือ DVD นั้น ข้อมูลเซอร์โวนี้จะแทรกอยู่ระหว่างข้อมูลทั้งหมด ชั้นผิวกระจกเงาเหลือบเป็นสีรุ่งระหว่างข้อมูลโฮโลกราฟ และข้อมูลเซอร์โว จะสะท้อนเลเซอร์สีน้ำเงินเขียว ขณะที่ปล่อยให้เลเซอร์สีแดงผ่านทะลุได้ วิธีการดังกล่าวจะป้องกันการแทรกแซงจากการหักเหของเลเซอร์สีน้ำเงินเขียวจากหลุมข้อมูลเซอร์โว และนับว่าเป็นข้อดีเหนือกว่าสื่อบันทึกโฮโลกราฟในอดีต ซึ่งมีการแทรกแซงเป็นอย่างมาก หรือขาดข้อมูลเซอร์โวโดยสิ้นเชิง ทำให้ไม่สามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีการขับ CD และ DVD ที่ใช้ในปัจจุบัน แผ่นดิสก์เหล่านี้มีความจุข้อมูลสูงถึง 3.9 เทอราไบต์ (TB) ซึ่งมีค่าสูงถึงประมาณ 160 เท่าของแผ่นดิสก์ Blu-ray Disc แบบชั้นผิวเดียว นอกจากนี้ HVD ยังมีอัตราการส่งข้อมูล 1 จิกะบิต (Gbit)/บิตด้วย
ข้อจำกัดของ HVD การขาดความเป็นมาตรฐานของเครื่องเขียนและสื่อบันทึก รวมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความเที่ยงตรงของแถบแสงสูง จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนมากทำให้ผลิตออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์มวลชนยาก อีกทั้งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องลงทุนสูง ราคาของอุปกรณ์ในระยะแรกจึงยังมีราคาสูง ส่วนรูปร่างหน้าตาของอุปกรณ์การอ่านและเขียน HVD ยังคงมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับการพกพาและนำเสนอสู่ตลาดผู้บริโภค แต่ก็มีบริษัทที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์นี้ ให้มีขนาดเท่ากับเครื่องอ่านเขียนซีดี ที่แพร่หลายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสำหรับ HVD นี้ยังคงอยู่ในช่วงการพัฒนา และคาดว่าอีกไม่นานนักจะมีสินค้าออกสู่ผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย
แหล่งข้อมูล http://www.vcharkarn.com/vblog/35003 http://th.wikipedia.org
จัดทำโดย นางสาวญาณิกา ทองลิ่ม 07500602