MAGNATICALLY COUPLED CIRCUITS บทที่ 13 MAGNATICALLY COUPLED CIRCUITS
MUTUAL INDUCTANCE เมื่อนำขดลวดสองขดมาวางใกล้กัน (ถึงแม้ว่าจะไม่มีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าก็ตาม) แต่สนามแม่เหล็ก (ที่มาจากกระแสไฟฟ้า) จากขดลวดขดหนึ่ง จะสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันขึ้นในขดลวดอีกขดได้ ในขณะเดียวกันสนามแม่เหล็ก (ที่มาจากกระแสไฟฟ้าเช่นกัน) ที่ขดที่สองก็สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันขึ้นในขดที่หนึ่งได้เช่นกัน เราเรียกวงจรที่มีการเชื่อมต่อกันทางแม่เหล็กนี้ว่า “Magnetically Coupled” สนามแม่เหล็กที่ว่านี้จำเป็นต้องเป็นสนามแม่เหล็กที่แปรตามเวลา (ไม่คงที่) ดังนั้นกระแสที่จะมาสร้างสนามแม่เหล็กจำเป็นต้องเป็นกระแสที่ไม่คงที่เท่านั้น (เป็น DC ไม่ได้)
กระแสไฟฟ้าที่ขดหนึ่ง -> สนามแม่เหล็กเกิดที่ขดหนึ่ง -> สนามแม่เหล็กข้ามมาที่อีกขดหนึ่ง -> แรงดันไฟฟ้าที่อีกขดหนึ่ง ดังนั้นเราจึงถือว่า กระแสไฟฟ้าจากขดหนึ่ง -> แรงดันไฟฟ้าที่อีกขดหนึ่ง เมื่อ M คือ mutual inductance
ปัญหามีอยู่ว่ากระแสก็มีทิศทาง แรงดันก็มีขั้ว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าว่าแรงดันที่เกิดขั้นมีขั้วทางไหน จึงขอกำหนดให้ขดลวดทั้งสองฝั่งมีจุด (dot) ฝั่งละหนึ่งจุดที่ขั้ว ซึ่งการใส่จุดนี้มีกติกาว่า “เมื่อกระแสวิ่งเข้าตรงขั้วที่มีจุด แรงดันที่เกิดขึ้นอีกด้านนั้น ต้องเป็นบวกที่ขั้วที่ใส่จุดเอาไว้” ด้วยการกำหนดอย่างนี้ ทำให้เราไม่ต้องสนใจว่าขดลวดทั้งสองนั้นมีการพันในทิศทางอย่างไร (จะวนซ้าย วนขวา ตามกัน หรือสวนทางกัน)